Search
Close this search box.

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี

บี.กริม (B.Grimm) ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 146 ปีภายใต้แนวคิด “ดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี” (Doing Business with Compassion) ทำธุรกิจหลากหลายตั้งแต่ธุรกิจด้านพลังงาน, ธุรกิจอุตสาหกรรม ให้บริการโซลูชันในการจัดการพลังงานและเชื่อมต่อระบบภายในอาคารและภาคอุตสาหกรรม, ธุรกิจสุขภาพ, ธุรกิจเทคโนโลยีดิจิตอล, ธุรกิจไลฟ์สไตล์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และความสามารถของพนักงาน ส่งเสริมทักษะด้านต่างๆ ควบคู่ไปกับ การส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและความเจริญด้านวัฒนธรรมให้กับสังคมโดยรวม

และเพราะยึดมั่นเรื่อง “ดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี” ไม่เพียงแต่ต่อลูกค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมถึงการดูแลพนักงานด้วย จึงไม่น่าแปลกใจหาก บี.กริม จะได้รับรางวัล Best Companies To Work For in Asia 2022  และ 2023 ไปครอง ถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าองค์กรมีรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจริง สามารถสร้างความสุขให้กับพนักงาน และช่วยสนับสนุนการเติบโตขององค์กรได้พร้อม ๆ กัน

HREX ได้สัมภาษณ์คุณ เกรียงไกร อยู่ยืน Executive Vice President – People Director ของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้ที่มี Passion ในการทำงานด้าน HR อย่างเต็มเปี่ยม มาอ่านบทสัมภาษณ์นี้กันได้เลย รับรองว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของทุกคนแน่นอน

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอาร

คิดว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ บี.กริม (B.Grimm) ได้รับรางวัลจาก HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2023 และรางวัลนี้ มีความหมายต่อองค์กรอย่างไร

เกรียงไกร: ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ HR Asia ที่ให้เกียรติมอบรางวัล HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2023 นี้ให้กับ บี.กริม นะครับ เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่เราได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งเป็นกำลังใจให้กับพวกเราชาว HR บี.กริม ในการพัฒนางานของพวกเราต่อไป 

สำหรับ ที่ บี.กริมนี้ เราเรียกหน่วยงาน HR ว่า “People Partnership” เพื่อให้สอดคล้องกับหนึ่งในค่านิยมของ บี.กริม คือเรื่อง “Partnership” ครับ

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอาร
Dr. Harald Link – Chairman of B.Grimm

บี.กริม อยู่คู่กับประเทศไทยปีนี้ครบ 146 ปี เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการบริหารบุคลากรมาก บี.กริมประกอบด้วยบุคลากรที่หลากหลาย ในธุรกิจต่างๆ ทั้งพนักงานชาวไทยและชาวต่างชาติ หลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา มีความแตกต่างของ Generation หลากหลายประสบการณ์ ความคิดและความเห็น แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เรามีเหมือนกันคือ “Compassion หรือ ความโอบอ้อมอารี” ซึ่งเป็นความปรารถนาดีต่อผู้อื่น

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี
Khun Caroline Link – President B.Grimm Joint Venture

เพราะในวัฒนธรรมองค์กรของ บี.กริม เราเชื่อว่าความโอบอ้อมอารีจะมีส่วนช่วยสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับองค์กรและทุกภาคส่วนในสังคม ประกอบกับวิถีปฎิบัติในการทำงานที่ยึดค่านิยมหลัก 4 ประการ ได้แก่ การมีทัศนคติที่ดี (Positivity) ความร่วมมือ (Partnership) ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Pioneering Spirit) รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานมีสติในการดำเนินชีวิต (Mindfulness)

อีกทั้งการนำหลักการความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH) มาปรับให้เข้ากับองค์กร พัฒนาทัศนคติ มุมมองและความคิดของพนักงาน ให้ตระหนักรู้คุณค่าและความสุขของตนเอง นำไปสู่ความสุขที่ยั่งยืนของสังคม เราเชื่อว่า “Mindful Compassion หรือ สติเพื่อความโอบอ้อมอารี” จะช่วยส่งเสริมทักษะการดูแลตนเองให้รู้สึกสงบ มั่นคง สมดุลได้ในทุกสถานการณ์

ผมคิดว่า เมื่อเราอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรที่มีความปรารถนาดีต่อกัน จะทำให้พนักงานมีความเข้าใจกัน และมีความสุขที่เหมาะสมครับ People Partnership ก็มีหน้าที่ออกแบบ พัฒนาระบบ การบริหารบุคคลากรให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กร ซึ่งทีมเราก็ยังมีงานที่น่าสนุกและท้าทายรออยู่อีกมาก เพราะการทำให้คนที่มีความแตกต่างหลายหลาย มาเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน ก็ต้องเวลา ความเข้าใจ และความร่วมมือจากทุกฝ่ายครับ

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี

ที่ผ่านมา HR ฟังเสียงของพนักงาน แล้วนำมาปรับปรุงองค์กรให้น่าอยู่ น่าทำงานด้วยอย่างไรบ้าง

เกรียงไกร: การสื่อสารภายในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็น Top-Down ที่ต้องการให้ทุกคนเข้าใจที่มา วัตถุประสงค์ และแนวทางขององค์กรหรือผู้บริหาร, การสื่อสารภายในหน่วยงาน, การสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาและพนักงาน, การสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวมถึงการสื่อสารจากพนักงานไปสู่องค์กร ผู้บริหาร หรือ People Partnership ดังนั้น การสร้างช่องทางการสื่อสาร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอาร

บี.กริม มีหลากหลายช่องทางในการสื่อสารและรับฟังเสียงของพนักงาน ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ สิ่งที่เราทำเหมือนองค์กรอื่น ๆ คือ จัดให้มีการประเมินความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรทุกปี เพื่อรับฟังความคิดเห็น และเข้าใจมุมมองและทัศนคติของพนักงานต่อองค์กร ตลอดจนนำผลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ วางแผน และปรับปรุงการบริหารจัดการและการบริหารพนักงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ

สิ่งที่เพิ่มเติมคือ เรามีการนำเรื่องของ Gross National Happiness (GNH) มาปรับใช้เพื่อวัดความสุขของพนักงานด้วย

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี
Khunying Dhipavadee Meksawan – Honorary Advisor

เราเชื่อว่า นอกจาก People Partnership แล้ว ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาโดยตรง เป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา สอนงาน ดูแล ให้คำปรึกษาพนักงานในสังกัด เป็นด่านแรกๆ ที่เวลาพนักงานมีปัญหา ก็ควรจะต้องหันไปเจอ และเป็นที่พึ่งพาได้

เราจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาผู้นำที่โอบอ้อมอารี (Compassionate Leadership) โดยพัฒนาผู้บริหารระดับหัวหน้างาน ไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง ให้มีทักษะและความสามารถในการบริหารคน บริหารทีม ตลอดจนบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เราเชื่อว่าผู้นำ ต้องเก่งทั้งงาน และเก่งทั้งคน ต้องรับฟัง และหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง เรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการฟังเสียงของพนักงานมาก โดยขอให้ People Partnership จัดให้พนักงานระดับต่างๆ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้น และพนักงาน ได้พบปะ พูดคุย เรื่องต่าง ๆ กับ ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ โดยตรง ซึ่งแต่ละครั้ง เราก็จะได้ความเห็นดี ๆ จากพนักงาน นำไปต่อยอดเพื่อปรับปรุงองค์กรต่อไป อีกทั้งยังทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กร และเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี
Dr. Harald Link – Chairman of B.Grimm

ในขณะที่ People Partnership เอง ก็พยายามสร้างทีม Business Partner ที่เข้มแข็ง เพื่อเข้าถึง ดูแล และรับฟังพนักงานทุกหน่วยงาน ซึ่งผมเชื่อว่าจะทำให้เราได้รับนำความเห็นดี ๆ มาพัฒนาองค์กรต่อไปครับ

HR ยุคใหม่ สามารถสนับสนุนการเติบโตขององค์กร ให้เป็นองค์กรที่ทุกคนอยากร่วมงานด้วยได้อย่างไร

เกรียงไกร: HR ยุคใหม่ ไม่ได้หมายถึงต้องเข้าใจคนรุ่นใหม่อย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจความแตกต่างของคน ไม่ว่าจะเป็น Generation, เพศ, การให้คุณค่า หรือปัจเจกบุคคล เพราะจะช่วยทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เหตุผลในการอยากร่วมงานกับบริษัทย่อมมีความหลายหลาย มีหลายเหตุผล แต่ผมเชื่อว่า เหตุผลที่เป็นจุดร่วมที่สำคัญ คือความสุขอย่างเหมาะสมในการทำงานและความเป็นอยู่ที่เหมาะสมของพนักงาน

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี
People Partnership Team

เราออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยต้องการให้พนักงานทุกคนมีความสุขในการทำงาน ทั้งด้านสุขภาพกายและใจ พร้อมปฏิบัติงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เราสนับสนุนให้พนักงานมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ด้วยการจัดสถานที่ออกกำลังกาย โปรแกรมตรวจสุขภาพ จัดกิจกรรมชมรมให้พนักงานเลือกเข้าร่วมได้ตามความสนใจ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน เพื่อการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉงและสุขภาพดี

อีกทั้งเรายังส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาวะทางจิตใจที่ดี ด้วยการนำหลักการ GNH มาปรับให้เข้ากับองค์กรตามที่ได้พูดถึงก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ เรายังจัดให้มีการทำงานแบบยืดหยุ่น เพื่อให้พนักงานมีทางเลือกและสามารถจัดสรรเวลา เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว รวมถึงมีรูปแบบการจ้างงานในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของทั้งธุรกิจและพนักงาน เช่น พนักงานประจำ การจ้างแบบฐานะที่ปรึกษา การจ้างแบบพิเศษหรือการจ้างชั่วคราว ซึ่งรวมถึงพนักงานที่เกษียณแล้ว ตามระยะเวลาที่กำหนดเป็น รายเดือนหรือปี เป็นต้น

เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมทั้งกายและใจอย่างสมดุล เพื่อพร้อมเติบโตไปกับการขยายตัวของธุรกิจ ทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐาน ความรู้และทักษะเชิงเทคนิค เสริมสร้างความเป็นผู้นำ ผ่านรูปแบบทั้งออนไลน์และออฟไลน์

รวมถึงพิจารณาคัดสรรรเนื้อหาที่หลากหลายสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของพนักงาน (Learning Style) ความสนใจ ความสอดคล้องกับแผนงานและแผนยุทธศาสตร์ รวมไปถึงการพัฒนาตามแผนพัฒนารายบุคคล เพื่อให้ทุกช่วงเวลาในการทำงานที่ บี.กริม คือ การเวลาแห่งเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ผมคิดว่าตัวอย่างข้างต้น มาจากพื้นฐานของความเข้าใจธุรกิจ และเข้าใจคน ซึ่งเป็นบทบาทและเป็นสิ่งที่ HR สามารถสนับสนุนธุรกิจได้ ไม่ว่าจะอยู่ใน Business Life Cycle ใดก็ตาม

มีคำกล่าวว่า HR ยุคใหม่ต้องเป็นนักวางกลยุทธ์ และเป็น Business Driver เราจะเปลี่ยนตัวเองให้มีความพร้อมได้อย่างไร

เกรียงไกร: HR มีความสำคัญและเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน Business Driver ให้กับธุรกิจ เพราะจัดได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ Human Capital ซึ่งเป็น Resource ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจ ยิ่งในปัจจุบันที่การทำธุรกิจก็ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก ที่ควบคุมได้ และไม่ได้ อยู่ตลอดเวลา ด้านคนก็มีความซับซ้อนไม่แพ้ธุรกิจ มีความแตกต่าง หลากหลาย 

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี

ดังนั้น HR จึงมีส่วนสำคัญที่จะต้องเตรียมทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่า HR ต้องพัฒนาตัวเองให้สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างมืออาชีพ

  1. เข้าใจเป้าหมายทางธุรกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ขององค์กร และที่สำคัญคือการติดตามสถานการณ์ทางธุรกิจตลอดเวลา เพื่อช่วยให้เรามั่นใจว่า งานบริหารคนของเราสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ และพร้อมปรับเปลี่ยนแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ โดยยังยึดเป้าหมายหลักทางธุรกิจไว้ได้

เช่น HR ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า สิ่งที่กำหนดมา ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร ช่วยปรับปรุงสถานการณ์ทางธุรกิจได้อย่างไร และต้องอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม และเป็นธรรมต่อพนักงานด้วย

ารสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริหารและพนักงาน จะช่วยให้ HR เข้าใจความท้าทาย, Priority ในการดำเนินธุรกิจ และเข้าใจหน้างานจริง เมื่อเข้าใจแล้ว ก็จะช่วยให้แนวทางการบริหารคนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ออกมาจาก HR อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจธุรกิจ และคนหน้างาน

  1. รู้จักพนักงาน รู้ว่าใครมีความสามารถ หรือมีความเชี่ยวชาญอะไร มีความถนัดอะไร มีแรงจูงใจหรือ Passion อะไร เพื่อใช้ในการบริหารคนร่วมกับหัวหน้างาน เช่น การมอบหมายงาน การหมุนเวียนงาน การทำ Project เป็นต้น เพราะการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต มีแนวโน้มที่จะเป็น Project Base มากขึ้น ดังนั้น การรู้จักพนักงาน จะช่วยให้ HR สามารถแนะนำผู้บริหารในการบริหารคนได้
  2. ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน เรามีข้อมูลต่าง ๆ อยู่มาก ซึ่งถ้าหากใช้ประโยชน์จากข้อมูล สามารถ Integrate และนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางทรัพยากรบุคคล ก็จะช่วยทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเรื่องการบริหารคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. เป็นผู้สนับสนุนและผลักดันการปรับปรุงประสิทธิภาพงานและองค์กรตลอดเวลา ส่งเสริมวัฒนธรรมด้านนวัตกรรม ด้วยการส่งเสริมการทดลอง และการเรียนรู้ เพื่อให้องค์กรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องต่างๆ ทั้งการปรับปรุงงาน การสร้าง Product และ Services ใหม่ ๆ หรือต่อยอดธุรกิจเป็นต้น
  4. พัฒนาความสามารถของตนเองในการเป็นผู้นำ ทั้งการสร้างทักษะในการคิดแบบกลยุทธ์, การจัดการเปลี่ยนแปลง, การ Coaching เป็นต้น

ผมคิดว่าไม่น่ายากเกินไปสำหรับพวกเราชาว HR ที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นหน่วยงานกลยุทธ์ที่สนับสนุนความสำเร็จทางธุรกิจและมีส่วนร่วมในการเติบโตขององค์กรโดยรวมได้ครับ

เมื่ออนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน คิดว่าภายใน 5 ปีต่อจากนี้ HR มีภารกิจอะไรบ้าง ที่ต้องทำเพื่อยกระดับองค์กรและรับมือกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงได้ทัน

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี

เกรียงไกร: สถานการณ์โลกที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้นตลอดเวลา ธุรกิจต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า HR เองก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องดังกล่าว ผมคิดว่าภารกิจหลักของพวกเราจะมี 4 เรื่องคือ

  1. การเตรียมความพร้อมของบุคคลากร (Readiness of Workforce) โดยพัฒนากลยุทธ์ในการดึงดูดผู้ที่มีความสามารถและเหมาะสมกับงาน รักษาพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานที่มี Capabilities เหมาะกับงานต่างๆ ของธุรกิจ ให้ความสำคัญในการพัฒนาผู้นำ พนักงานที่มีศักยภาพสูง 

รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พนักงานได้รับทักษะใหม่ ๆ และความรู้ที่จำเป็นสำหรับโลกที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ออกแบบระบบบริหารงานบุคคล ทั้งเรื่องสภาพการจ้าง ผลตอบแทน ระบบการบริหารผลงาน ที่เหมาะสมและเป็นธรรม สร้างวัฒนธรรมองค์กร และบรรยากาศในการทำงานที่ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน วางแผนการสืบทอดในตำแหน่งที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจมีความต่อเนื่อง

  1. การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) เนื่องจากในโลกยุคใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวขององค์กรและพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ HR ควรสนับสนุนความสามารถขององค์กรและพนักงานในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการสร้างแผนการสื่อสาร สร้างระบบงานที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือการสร้าง Growth Mindset ให้กับพนักงาน
  2. การสนับสนุนการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย (Diversity and Inclusion) สร้างวัฒนธรรมการเปิดใจ ยอมรับความแตกต่าง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยดูจากความรู้ความสามารถเป็นหลัก เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดขององค์กรจากมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลาย
  3. การสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานของพนักงาน (Well-being and Work-Life Balance) เนื่องจากการทำงานในโลกที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความไม่แน่นอน ทำให้พนักงานเกิดความเครียด หรืออาจไปถึงขั้น Burnout 

ดังนั้น HR จึงควรสร้างและสนับสนุนการทำงานที่มีความยืดหยุ่น นำเสนอการพัฒนาสุขภาพกายและใจ รวมถึงการให้ความรู้เรื่อง Time Management, Stress Management และการจัด Priority ของงาน เพื่อให้พนักงานสามารถสร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวของตนเองได้อย่างเหมาะสม และเมื่อพนักงานมีความสุข องค์กรก็ได้งานที่มีประสิทธิภาพตามไปด้วย

คุยกับ People Director แห่ง บี.กริม (B.Grimm) ความสำเร็จขององค์กร เริ่มต้นจากคนของเราและการทำธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี

อยากบอกอะไรกับ HR หรือคนทำงานที่กำลังหมดไฟ และต้องการกำลังใจเพื่อเดินหน้าต่อไปบ้าง

เกรียงไกร: ผมคิดว่าอาการ Burnout เป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อพนักงานเป็นอย่างมาก

ผมคิดว่าเราต้องสังเกตตัวเอง และรีบแก้ไข หากเริ่มมีอาการหรือสัญญาณของการ Burnout  อยากให้คุยกับคนใกล้ชิด ปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกนี้ เพื่อให้ก้าวข้ามผ่านความยากลำบากให้ได้

ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพและสุขภาวะทางจิต พักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่สร้างพลัง หากมีความกังวลในการทำงาน ก็ขอให้แสดงความกังวลและพูดถึงอุปสรรคต่างๆ ขอความร่วมมือจากผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน

สุดท้าย อยากให้คิดเสมอว่าการ Burnout ไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ขอให้เชื่อมั่นว่าจะก้าวผ่านมันไปได้ โดยกำหนดเป้าหมายที่จะสร้างความสุขในความสำเร็จน้อย ๆ ที่เกิดขึ้น

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน ขอให้มีความสุขกับการทำงาน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กร สังคม และประเทศชาติ ต่อไปครับ

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง