Search
Close this search box.

รู้จัก Executive Recruiter หรือ Headhunter นักล่าค่าหัวที่จะช่วยเติมเต็มองค์กรด้วยคนเก่งระดับท็อป

HIGHLIGHT

  • ในขั้นตอนการสมัครงาน หรือการหางาน Recruiter มีหน้าที่ไม่แตกต่างจาก Headhunter นั่นคือต้องสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถที่กำลังมองหางานใหม่ เข้ามาร่วมงานและพาองค์กรเดินหน้าไปสู่เป้าหมาย
  • แต่สิ่งที่ทำให้ Headhunter แตกต่างไปจาก Recruiter คือ Headhunter มักได้รับมอบหมายให้เข้าหาคนทำงานในตำแหน่งใหญ่โตในองค์กร ขณะที่ Recruiter จะเน้นการสรรหาพนักงานในตำแหน่งทั่วไป ทำให้บางครั้งอาจเรียก Headhunter ว่าเป็น Executive Recruiter หรือผู้มีหน้าที่หาคนทำงานระดับผู้บริหาร
  • Headhunter ที่ดี ควรเป็นคนที่รู้วิธีสื่อสารที่เหมาะสม มีความเปิดกว้าง พร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา เข้ากับคนง่าย และรักษาความลับเก่ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานของตัวเองราบรื่น และได้คนที่มีคุณสมบัติพร้อมมาช่วยขับเคลื่อนองค์กรต่อไป
  • หากไม่รู้ว่าจะไปค้นหา Headhunter และ Recruiter จากไหน สามารถค้นหาได้ผ่านแพลตฟอร์ม HR Explore ที่มีหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์และบริการด้าน Recruitment Agency ที่จะช่วยให้แต่ละองค์กรพบเจอคนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อพูดถึงอาชีพนักสรรหาบุคลากรในขั้นตอนการสมัครงาน หลายคนมักจะนึกถึง Recruiter คือผู้ทำหน้าที่สรรหาบุคลากรก่อนเป็นอันดับแรก หลายคนอาจมีประสบการณ์ตรง เคยได้รับการติดต่อและทาบทามจาก Recruitment Agency หรือ Recruitment Agencies ให้ไปทำงานด้วยไม่น้อย แต่ในโลกของการสรรหาพนักงานใหม่ยังมี Headhunter นักล่าค่าหัว หรือ Executive Recruiter ทำหน้าที่ล่าหรือสรรหาบุคลากรเช่นกัน

หากใครเคยได้ยินทั้ง 2 คำนี้ แต่ไม่รู้ว่าแตกต่างกันอย่างไร และมีกระบวนการทำงานอย่างไร สามารถหาคำตอบได้แล้วจากบทความนี้รู้จัก Headhunter นักล่าค่าหัวที่จะช่วยเติมเต็มองค์กรด้วยคนเก่งระดับท็อป

ก่อนรู้จัก Headhunter ต้องรู้จัก Recruiter คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อองค์กร ?

ก่อนจะไปทำความรู้จัก Headhunter ต้องมาทบทวนถึงอาชีพ Recruiter กันก่อน Recruiter มีหน้าที่สรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานของบริษัท เพื่อเข้ามาปฎิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาจากเว็บไซต์หางาน แพลตฟอร์มสมัครงาน หรือการรู้จักแบบส่วนตัว เป็นต้น 

จากนั้นนำแคนดิเดตที่ค้นพบ และคัดสรรมาแล้วจำนวนหนึ่ง ที่คิดว่าดีที่สุดแล้วไปให้ผู้ว่าจ้างคัดเลือกต่อ

การสรรหาบุคลากรถือเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของ HR ที่สำคัญมาก หากองค์กรไหน HR ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการสมัครงาน คัดเลือกพนักงานจนกว่าจะเจอเพชรเม็ดงาม แม้จะเสียเวลามากหน่อย แต่จะช่วยให้บริษัทเดินหน้าไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ลดปัญหาต่าง ๆ และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้มากกว่าบริษัทที่เลือกจ้างพนักงานโดยไม่สนใจความรู้ความสามารถ หรือพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่า ผู้สมัครงานนั้นคุณสมบัติว่ามีครบถ้วนตรงกับที่องค์กรต้องการหรือไม่ 

ทั้งนี้ การเสริมทัพบุคลากรอาจไม่จำเป็นต้องให้ HR เป็นผู้สรรหาแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะยังสามารถจ้างบริษัทจัดหางานจากภายนอกมาช่วยคัดเลือก และช่วยมาเติมเต็มองค์กรได้ด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแค่นั้น หลายองค์กรในปัจจุบันยังหันไปพึ่งพา Recruiter ที่เป็นฟรีแลนซ์แล้วด้วย โดยมีเหตุผลอยู่ที่การประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และแบ่งเบาภาระงานของพนักงาน HR ในองค์กรให้น้อยลง

แล้ว Headhunter คืออะไร ? แตกต่างจาก Recruiter อย่างไร ?

หากแปลตรงตัว Headhunter แปลว่า นักล่าค่าหัว แต่ในความหมายของการสรรหาบุคลากร ผู้ทำอาชีพนี้มีหน้าที่เข้าหาผู้คนที่มีคุณสมบัติค่อนข้างเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของผู้จ้าง แล้วดึงตัวมาร่วมงานกับผู้ว่าจ้างให้ได้

เช่น นายจ้างจากบริษัทเคมีภัณฑ์แห่งหนึ่ง กำลังมองหาบุคลากรใหม่ที่มีประสบการณ์ทำงานในสายอุปกรณ์การแพทย์ มีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เพียงแค่นั้นยังมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาญี่ปุ่นในระดับ N1 เป็นต้น มาช่วยเติมเต็มการทำตลาดในประเทศญี่ปุ่น ด้วยความจำเพาะเจาะจงของคุณสมบัติ ทำให้จะมีผู้ที่เข้าข่ายดังกล่าวอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น Headhunter ก็ต้องไปควานหาคนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหล่านี้มาให้ได้

หรือบางครั้งผู้ว่าจ้างอาจให้ชื่อของคนที่ต้องการให้ไปทาบทามมาเลยก็ได้ แต่เป้าหมายยังคงเดิมนั่นคือ Headhunter จะทำอย่างไรก็ได้ เพื่อล่าตัวเขาผู้นั้นให้มาร่วมงานด้วยให้ตงได้

สำหรับคนที่อ่านแล้วยังนึกภาพไม่ออกว่า Headhunter คืออะไร ก็อาจลองจินตนาการถึงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด แนวแอ็คชั่นหรือแนวระทึกขวัญตื่นเต้น ที่มีองค์กรลึกลับจ้างวานมือปืน นักฆ่า หรือมือสังหารเพื่อไปจัดการใครสักคนตามคำสั่งของบอสใหญ่ โดยพวกเขาเหล่านี้จะได้รับคำสั่งอย่างชัดเจนว่า เป้าหมายที่ต้องเก็บคือใครกันแน่

พลวัต ลาภวณิชย์ New Business Development Manager ของ Reeracoen Recruitment และเป็นหัวเรือใหญ่ของแพลตฟอร์มสรรหาพนักงาน SourcedOut อธิบายว่า สาเหตุที่หลายบริษัทในปัจจุบันหันมาใช้บริษัทจัดหางานทำหน้าที่ Headhunter มากขึ้น เพราะสมัยนี้จะรอคนเก่ง ๆ มาสมัครไม่ได้แล้ว เนื่องจากไม่ทันต่อการทำธุรกิจ ดังนั้นบริษัทต้องถือโอกาสนี้เป็นผู้เข้าไปหาผู้คนเก่ง ๆ แทน

รู้จัก Headhunter นักล่าค่าหัวที่จะช่วยเติมเต็มองค์กรด้วยคนเก่งระดับท็อป

ตัวอย่างภาพยนตร์ที่ว่าด้วย Headhunter เรื่อง John Wick: Chapter 3 – Parabellum (2019) นักฆ่าจากทั่วโลกได้รับมอบหมายให้จัดการกับ จอห์น วิค ชายหนุ่มโรแมนติกผู้รักสุนัข และหากใครสังหารเขาได้ ก็จะได้รับรางวัลไปครอง เป็นต้น

Headhunter ต่างจาก Recruiter อย่างไร

ความแตกต่างของ Headhunter กับ Recruiter โดยทั่วไปอยู่ที่ Headhunter จะได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ไปตามหาคนที่มีคุณสมบัติแบบจำเพาะเจาะจง มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เข้าข่ายดังกล่าว ส่วน Recruiter อาจได้รับโจทย์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากเท่า และมีตัวเลือกให้เลือกสรรมากกว่า ก่อนจะนำผู้ที่คิดว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมจำนวนหนึ่งมาให้นายจ้างตัดสินใจเลือกอีกที

อีกเส้นแบ่งที่สำคัญยังอยู่ที่ระดับของเป้าหมายที่ต้องไปล่าด้วย Headhunter มักได้รับมอบหมายให้เข้าหาคนทำงานตำแหน่งสูง ๆ มีความสำคัญต่อองค์กร ส่วน Recruiter จะเน้นสรรหาพนักงานในตำแหน่งทั่วไป ทำให้บางครั้งอาจเรียก Headhunter ว่าเป็น Executive Recruiter หรือ Recruiter ที่มีไว้เพื่อหาคนทำงานระดับบริหารก็ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ เมื่อแคนดิเดตที่ได้รับมอบหมายให้ไปล่าตอบตกลงร่วมงานด้วย Headhunter จะได้รับค่าจ้าง ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมคิดเป็น 20-30% ของเงินเดือนที่แคนดิเดตได้ ซึ่งอาจเหมือนไม่สูง แต่ในเมื่อตำแหน่งงานที่ต้องไปทาบทามมานั้นล้วนเป็นระดับผู้บริหาร เงินที่จะได้รับก็จะถือว่าสูงทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้บริการ Headhunter หมายความว่าต้องการพุ่งเป้าไปยังบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แม้คน ๆ นั้นจะมีชื่อเสียงด้านของฝีมือเป็นที่ประจักษ์ แต่การเพ่งเล็งไปที่คนใดคนหนึ่ง ก็อาจทำให้พลาดคนที่มีคุณสมบัติดีคนอื่น ๆ และอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าด้วย 

ไม่เพียงแค่นั้น คนที่เป็นเป้าหมายของ Headhunter อาจไม่ได้ต้องการทำงานที่ถูกทาบทามตั้งแต่แรก อาจด้วยต้องทำงานที่ใหญ่ขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น เมื่อเข้ามาอาจเกิดปัญหาปรับตัวกับงานใหม่ไม่ได้ แล้วหากตัดสินใจลาออกก็จะทำให้ต้องเสียเวลาเพิ่มถึงจะเจอคนที่ใช่ ที่บริษัทต้องการ

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q: อะไรคือ ความแตกต่างของ recruiter และ headhunter

ทั้งสองอย่างนี้มันแตกต่างอย่างไรเหรอคะ ?

 

A: Recruiter คือผู้สรรหาบุคลากรให้กับบริษัท Headhunter คือผู้สรรหาบุคลากรให้กับบริษัท โดยใช้การ Approach รูปแบบอื่น

-Recruiter สามารถทำในองค์กร หรืออยู่ในบริษัท Agency ก็ได้
-คำนี้ส่วนใหญ่มักใช้กับ Junior Position ดังนั้นความซับซ้อนของงาน(ตำแหน่งว่าง)อาจจะไม่มากนัก
-Recruiter ที่ดี ต้องสามารถ Manage Candidate ได้ และมี Talent Acquisition mindset คือคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้สมัครและองค์กรเสมอ
-Recruiter มักใช้ช่องทางที่มีอยู่เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้สมัคร เช่น Website สมัครงาน เป็นต้น

,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

คุณสมบัติเด่นแบบไหนที่ Headhunter ควรมี

รู้จัก Headhunter นักล่าค่าหัวที่จะช่วยเติมเต็มองค์กรด้วยคนเก่งระดับท็อป

เมื่อคิดจะทำงานด้านสรรหาบุคลากร คนที่จะเป็น Headhunter (รวมถึง Recruiter ด้วย) จำเป็นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ซึ่งจะช่วยให้ทำงานสะดวกสบายขึ้น เข้าถึงผู้คนได้เยอะขึ้น และยังทำให้หน้าที่การงานเติบโตง่ายขึ้น นายจ้างไว้ใจอยากใช้บริการมากขึ้นด้วย

1.รู้วิธีสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้คนแต่ละกลุ่ม เป็นทักษะที่สำคัญมากของ Headhunter เพราะในการเข้าถึงผู้คน จำเป็นต้องใช้วิธีการสื่อสารที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับผู้ที่สนทนา รู้ว่าเมื่อไหร่ควรพูด และเมื่อไหร่ควรเป็นผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยต่อยอดให้เกิดการพูดคุยในประเด็นต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น 

หาก Headhunter สื่อสารผิดวิธี ไม่ศึกษาก่อนว่าผู้ที่จะพูดคุยด้วยเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มีลักษณะนิสัยแบบใด ก็อาจทำให้เป้าหมายพร้อมจะปฏิเสธการพูดคุยในทันที และนั่นหมายถึงการไม่สามารถปิดจ๊อบงานตามคำสั่งของนายจ้างได้

2.เปิดกว้าง ยืดหยุ่น เรียนรู้ไว เพราะ Headhunter จำเป็นต้องเข้าหาคนจำนวนมาก หลายครั้งคนที่พูดคุยด้วยมาจากอีกสายงานโดยสิ้นเชิง ทำให้ Headhunter จำเป็นต้องเปิดกว้าง มีความยืดหยุ่น และเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ให้รวดเร็วที่สุดก่อนจะไปพูดคุยกับเป้าหมาย

ดังนั้น ยิ่งเรียนรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำการบ้านเกี่ยวกับเป้าหมาย รวมถึงบริษัทผู้ว่าจ้างมากเท่าไหร่ จะยิ่งช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ประหนึ่งสำนวนที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

3.มีความจริงใจ เข้ากับคนง่าย การต้องตามหาผู้มีคุณสมบัติที่ใช่ในการทำงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จ สิ่งที่ต้องมีคือการเข้ากับคนง่าย รู้จักวิธีสร้างมิตรภาพที่ดีและสร้างความประทับใจให้กับเป้าหมาย คุณสมบัตินี้ยังรวมถึงการมีความสุภาพ ไม่หยาบคาย พูดชัดถ้อยชัดคำด้วย หาก Headhunter มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจทำให้เป้าหมายไม่สนใจที่จะไปร่วมงานด้วยในทันที

4.เก็บความลับเป็น ความลับในที่นี้หมายถึงทั้งจากความลับของเป้าหมาย และความลับของบริษัทผู้ว่าจ้างด้วย เพราะการได้พูดคุยและรู้จักกัยผู้คนในระดับสูง ย่อมต้องมีเรื่องราวที่อาจไม่สามารถเปิดเผยได้ทางธุรกิจตามมา หาก Headhunter เกิดปากโป้ง ดันปล่อย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อบริษัทนั้น ๆ พร้อมทำลายความน่าเชื่อถือของตัวเองลงอย่างราบคาบตามมา

5.มีความอดทน ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม การสรรหาบุคลากรแต่ละครั้งต้องใช้เวลา ยิ่งเป็นตำแหน่งระดับสูง ๆ ยิ่งเสียเวลาตั้งแต่การหาข้อมูล และกว่าจะหาช่องทางติดต่อเป้าหมายได้ หาก Headhunter ใจร้อน รีบเร่ง และกดดันให้เป้าหมายตอบรับงานอย่างเร็วที่สุด ผลที่ได้อาจพลิกเป็นคนละทาง

6.ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกลแล้ว มีแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมถึงมีแหล่งที่รวมตัวคนที่กำลังหางานหลายแห่ง Headhunter สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมาย เกี่ยวกับผู้สมัครงานได้ง่ายขึ้น หาก Headhunter ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ จะทำให้เสียเวลาการทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยใช่เหตุ

ใช้บริการ Recruiter และ Headhunter จากแหล่งใดได้บ้าง

ต่อให้จะเป็นหน้าที่อยู่แล้ว แต่การหาคนทำงานเป็นเรื่องยากกว่าที่ทุกคนคิดเสมอ แม้กระทั่ง HR เองยังต้องปวดหัวอยู่บ่อยครั้งว่า จะไปหาคนที่ไหนมาทำงานด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่บริษัทกำลังต้องการคนอย่างเร่งด่วน

แต่ปัจจุบัน HR สามารถค้นหา Recruitment Agency ที่จะช่วยตัดปัญหาหาคนที่ใช่ไม่เจอเสียทีได้แล้ว ผ่านทางเว็บไซต์ HREX.asia 

ในแพลตฟอร์ม HREX มีหมวดผลิตภัณฑ์และบริการประเภท Recruitment Solutions หรือบริการการจัดหางานหรือสรรหาพนักงานใหม่โดยเฉพาะ ที่จะช่วยให้เจอเพชรเม็ดงาม เจอบุคลากรที่ใช่ มากประสิทธิภาพหลากหลายรูปแบบ รวมถึงบริการด้าน Headhunter ด้วย ซึ่งจะช่วยพาองค์กรไปถึงเป้าหมายได้ง่ายกว่าการหาพนักงานด้วยตัวเอง

สามารถลองมาค้นหา Recruitment Agency ที่ใช่ และตรงกับความต้องการได้แล้วทางลิงก์นี้HREX ปรึกษา HR Solution

สรุป

Headhunter หรือ Recruiter ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการสรรหาพนักงาน ผู้ทำอาชีพนี้จำเป็นต้องมีกระบวนการวางแผนอย่างเป็นระบบและใส่ใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่ดีที่สุด เพื่อช่วยนำพาบริษัทไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ 

ทั้งนี้ทั้งนั้น Headhunter และ Recruiter ต้องไม่ลืมว่า ทุกตำแหน่งงานมีความสำคัญไม่แพ้กัน พนักงานใหม่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือพนักงานตัวเล็กๆ ถือเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญเท่ากัน หากขาดตำแหน่งใดไปสักคนก็สามารถทำให้ธุรกิจเดินหน้าติดขัดได้เสมอ

หาก Headhunter และ Recruiter ใส่ใจในกระบวนการตัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพ จะทำให้องค์กรได้คนที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ธุรกิจก้าวหน้าก้าวไกลอย่างแน่นอน

ผู้เขียน

Picture of Paranaphat Anui

Paranaphat Anui

Take Off Toward a Dream

บทความที่เกี่ยวข้อง