การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

HIGHLIGHT
  • การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) ที่ประสบผลสำเร็จจะมีส่วนทำให้องค์กรได้บุคลากรที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นได้
  • การสื่อสาร (Communication) คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) ประสบความสำเร็จ
  • การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการคัดสรรบุคลากรแล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบรนด์ให้องค์กรไปในตัวด้วย

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้การตลาด (Marketing) มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายมิติ แล้วการตลาดก็ไม่ใช่เครื่องมือของการขายที่ใช้กับเรื่องของผลิตภัณฑ์ (Product) ที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคโดยตรงเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีการประยุกต์เอาการตลาดไปใช้กับผลิตภัณฑ์ (Product) ที่หลากหลายขึ้น ซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชิ้นสำคัญที่นำเอาการตลาดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นก็คือ “องค์กร (Organization)” นั่นเอง

การตลาดสำหรับองค์กรนั้นอาจไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ยอดขายที่สร้างผลกำไร แต่มุ่งเป้าไปที่การรับรู้ (Awareness) การสร้างภาพลักษณ์ (Image) ตลอดจนสร้างความจงรักภักดี (Royalty) ให้กับผลิตภัณฑ์หรือตราสินค้า (Brand) นั่นๆ มากกว่า แต่ในขณะเดียวกันการตลาดที่ทำโดยตรงกับสินค้านั้น หากประสบความสำเร็จ สินค้าขายดี ผู้คนให้ความสนใจ นอกจากจะสร้างเม็ดเงินให้กับบริษัทแล้วก็ยังจะสร้างการรับรู้ที่ดีให้กับองค์กรได้ด้วย ซึ่งก็จะส่งผลให้คนเชื่อถือองค์กร จงรักภักดี ตลอดจนอยากมาร่วมงานกับองค์กรด้วยเช่นกัน

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

ในยุคนี้อีกแผนกที่มีการประยุกต์การตลาดเข้ามาใช้ในการทำงาน และมีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จเป็นอย่างมากก็คือฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource) นั่นเอง โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่สำคัญอย่าง Employer Branding (EB) – การสร้างตราสินค้าในรูปแบบองค์กร และ Recruitment Marketing (RM) – การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร ที่กำลังเป็นที่นิยมและมีส่วนช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีทีเดียว ทั้งสองกลยุทธ์นี้มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง แต่ก็เป็นกลยุทธ์ที่มีเป้าหมายต่างกัน ในบทความนี้เราจะขอพูดถึงเครื่องมือที่จำเป็นโดยตรงต่อฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ก่อนนั่นก็คือ “การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing)” นั่นเอง ซึ่งนี่คือเครื่องมือสำคัญในการที่จะจูงใจตลอดจนดึงคนที่มีศักยภาพที่องค์กรต้องการให้มาเป็นบุคลกรในองค์กรของเรา

ความสำคัญของการตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing)

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

การประกาศรับสมัครงานในยุคนี้เป็นยุคที่ต้องมีการผสมผสานกลยุทธ์หลากหลายรูปแบบเพื่อที่จะดึงให้คนอยากมาร่วมงานกับองค์กร หมดยุคที่เราจะใช้เพียงประกาศรับสมัครงานเฉยๆ แล้ว เพราะนั่นไม่อาจสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ดี ตลอดจนสร้างความจูงใจในการอยากร่วมงานกับองค์กรได้ การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะสร้างให้กลุ่มเป้าหมาย (Target) เกิดการบริโภคในลักษณะเดียวกับสินค้า ซึ่งการบริโภคในที่นี้ก็คือการสมัครงานกับองค์กรนั่นเอง

การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) คือ กลยุทธ์ต่างๆ ที่สามารถทำให้กลุ่มตลาดแรงงงานเป้าหมายตลอดจนกลุ่มแรงงานที่มีศักยภาพตามที่องค์กรต้องการ สนใจมาสมัครงานกับองค์กร เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดสรรบุคลากรต่อไป จนกระทั่งทำสัญญาจ้างร่วมงานกับองค์กรในที่สุด

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

Credit : https://www.talentlyft.com/en/resources/what-is-recruitment-marketing

การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) ที่ประสบความสำเร็จจะทำให้กลุ่มตลาดแรงงานเป้าหมายสนใจที่จะมาสมัครงานเพื่อร่วมงานกับองค์กรมากขึ้น และที่สำคัญทำให้องค์กรมีโอกาสได้คนที่มีศักยภาพตรงกับที่องค์กรต้องการมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ความแตกต่างระหว่าง Recruitment Marketing และ Employer Branding

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

กลยุทธ์ที่สร้างประโยชน์ให้กับองค์กรตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็มีวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจอาจจะมองว่าสองสิ่งนี้คือเรื่องเดียวกัน แต่อันที่จริงแล้วทั้งสองเรื่องนี้ต่างกัน แต่ก็มีส่วนที่เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันได้ดีทีเดียว บางองค์กรตัดสินใจที่จะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องมือหลักในการคัดสรรบุคลากรเข้าทำงานในองค์กร แต่บางองค์กรก็ทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป

การสร้างตราสินค้าในรูปแบบองค์กร (Employer Branding) คือ กลยุทธ์ต่างๆ ที่ทำให้กลุ่มตลาดแรงงานเป้าหมายตลอดจนคนทั่วไปมีการรับรู้ (Awareness) ในองค์กร มีภาพลักษณ์ที่ดี ประทับใจในองค์กร ซึ่งเมื่อเกิดภาพจำที่ดีแล้วก็จะเกิดความเชื่อถือ ไว้เนื้อเชื่อใจ ตลอดจนเกิดความจงรักภักดี (Royalty) กับองค์กรได้ และอยากร่วมงานกับองค์กรเมื่อมีโอกาส

การสร้างตราสินค้าในรูปแบบองค์กร (Employer Branding) อาจไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การรับสมัครงานโดยตรง และเป็นการส่งสาร (Message) ที่ต้องการให้คนทั่วไปรับรู้ในองค์กรอย่างที่ต้องการนั่นเอง เมื่อคนเหล่านั้นเกิดความประทับใจในองค์กร หากอยากร่วมงานกับองค์กรแล้วก็จะอยากสมัครงานเข้ามา และเมื่อได้รับโอกาสก็จะเกิดความภาคภูมิใจ และเต็มที่กับการทำงานในองค์กรที่ตนเองชื่นชมได้อย่างเต็มที่อีกด้วย ดังนั้นเป้าหมายของการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรนั้นจึงกว้างมาก แต่ก็สามารถสร้างความประทับใจในหลากหลายมิติ ตลอดจนระยะยาวได้ด้วย รวมถึงสามารถสร้างให้เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการขององค์กรในทางอ้อมได้ด้วยเช่นกัน

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

ในยุคนี้แทบทุกคนที่หางานมักจะเข้าไปดูข้อมูลขององค์กรก่อนที่จะตัดสินใจสมัครงาน หรือบางคนที่เห็นประกาศรับสมัครงานต่างๆ ก็จะเข้าไปดูข้อมูลขององค์กรก่อนการสมัครด้วยเช่นกัน หากองค์กรที่สร้างการรับรู้ของแบรนด์องค์กรที่ดีก็ยิ่งจะทำให้เกิดการอยากร่วมงานได้มากขึ้น หรือองค์กรที่ทำแบรนด์ได้ดีก็จะยิ่งทำให้คนสนใจประกาศรับสมัครงานได้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ต่างก็มีความสำคัญทั้งคู่ที่จะทำให้องค์กรได้พนักงานที่ดีมีศักยภาพมาร่วมงานด้วย

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Recruitment Marketing ประสบความสำเร็จ

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

หัวใจสำคัญของการทำให้การตลาดประสบความสำเร็จก็คือการสื่อสาร (Communication) นั่นเอง ซึ่งการทำการตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) นั้นก็เช่นกัน ในยุคนี้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ไม่ใช่แค่จะประกาศรับสมัครงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีหลากหลายปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญไปพร้อมๆ กันเพื่อที่จะผลักดันให้การทำการทำ Recruitment Marketing นั้นประสบความสำเร็จได้ กลุ่มเป้าหมายสนใจมาสมัครงานกับบริษัท และทำให้ฝ่าย HR เองก็มีตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการคัดสรรเพิ่มมากขึ้นด้วย โอกาสที่จะได้คนที่มีศักยภาพตามที่องค์กรต้องการนั้นก็เพิ่มสูงขึ้นตามเช่นกัน แล้วนี่ก็คือสิ่งสำคัญที่องค์กรควรใส่ใจ

1. เนื้อหาที่น่าสนใจ (Interesting Content)

การที่จะออกมาประกาศเฉยๆ ว่าบริษัทนี้ ต้องการตำแหน่งนี้ คุณสมบัติอย่างนี้ อาจเป็นเรื่องที่เชยไปแล้ว หรือพอทำเหมือนๆ กันกับบริษัทอื่นๆ ทั่วไป ก็อาจทำให้คนไม่สนใจได้ หนึ่งในการทำการตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) ประสบความสำเร็จก็คือการสร้างเนื้อหา (Content) ที่ดึงดูดใจนั่นเอง โดยอาจเริ่มตั้งแต่การใช้คำที่ดึงดูดใจในการอ่าน การสร้างเนื้อหาที่กระตุ้นให้เกิดการอยากสมัครงาน เป็นต้น

2. องค์ประกอบศิลป์ที่ดูงดูดสายตา (Attractive Art Direction)

ยุคนี้ต้องยอมรรับว่างานที่มีการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่สวยงามตลอดจนสร้างสรรค์นั้นเรียกร้องความสนใจได้มากกว่าทีเดียว นั่นทำให้การประกาศรับสมัครงานในยุคนี้หลายองค์กรโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ตลอดจนองค์กรของคนรุ่นใหม่หันมาให้ความสำคัญกับ Art Work เป็นอย่างมาก เพราะนี่คือด่านแรกที่จะสามารถดึงดูดใจให้คนหันมาสนใจได้ และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการประกาศรับสมัครงานในยุคนี้

3. ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication Channel)

การประกาศรับสมัครงานในยุคปัจจุบันไม่ได้มีแค่หนทางเดียว ในทางตรงกันข้ามทุกวันนี้มีหลากหลายช่องทางตลอดจนหลากหลายสื่อที่จะประกาศรับสมัครงานกันเลยทีเดียว การวางแผนสื่อให้มีประสิทธิภาพนั้นก็จำเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่เรื่องการจัดสรรงบประมาณ (กรณีมีค่าใช้จ่าย), การคัดเลือกเสื่อที่เหมาะสม, ตลอดจนสื่อที่ตรงกลุมเป้าหมาย ฝ่าย HR ในยุคก่อนอาจจะรู้จักสื่อการประกาศรับสมัครงานแค่การประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์หรือหนังสือรับสมัครงานเท่านั้น แต่ยุคปัจจุบันสื่อทุกสื่อที่วงการโฆษณาหรือบันเทิงใช้นั้นสามารถใช้เป็นสื่อประกาศรับสมัครงานได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับงบประมาณและผลที่เราต้องการได้รับการตอบรับนั่นเอง

4. วางแผนอย่างสมบูรณ์แบบ (Perfect Planning)

การวางแผนที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ปัจจัยทุกอย่างมีศักยภาพมากขึ้น และเมื่อทุกอย่างประสานกันได้อย่างยอดเยี่ยมแล้วจะทำให้กระบวนการสรรหาสมบูรณ์แบบและมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากทีเดียว การวางแผนที่ดีเริ่มตั้งแต่การวางแผนงบประมาณ วางแผนสื่อและช่องทางการสื่อสาร วางแผนระยะเวลาการดำเนินการ วางแผนกลยุทธ์

5. กลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ (Creative Strategy)

สร้างสรรค์กลยุทธ์ในการสรรหาบุคลากรที่น่าสนใจขึ้นมา เพื่อที่จะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้โดดเด่นและแตกต่าง รวมถึงสามารถสร้างความประทับใจกับกลุ่มเป้าหมาย และสร้างการรับรู้กลับกลุ่มอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน การสร้างสรรค์กลยุทธ์ของการสรรหาบุคลากรในยุคนี้เริ่มมีหลากรูปแบบขึ้น และบางอย่างก็ทำได้ดีแถมยังน่าสนใจไม่ไม่แพ้กลยุทธ์ทางการตลาดปกติเลยด้วยซ้ำ เมื่อกลยุทธ์น่าสนใจจะทำให้มีคนอยากมาร่วมงานมากขึ้น รวมถึงคนที่มีศักยภาพที่ชอบความแตกต่างด้วย องค์กรก็จะมีตัวเลือกที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นด้วย

ตัวอย่างกลยุทธ์ Recruitment Marketing ที่น่าสนใจ

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

อันที่จริงต้องบอกว่าการทำการตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการสรรหาบุคลากรเข้าองค์กรที่สร้างสรรค์มานานแล้ว เพียงแต่อาจอยู่ในธุรกิจเฉพาะกลุ่ม หรือธุรกิจที่มุ่งเน้นความสร้างสรรค์ อาทิ วงการโฆษณา เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการนำกลยุทธ์นี้มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากมาย ซึ่งแต่ละกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นต่างก็มีความน่าสนใจทั้งสิ้น เราลองมาดูตัวอย่างกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้และประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมกันดีกว่า

Creative Direct Marketing

กลยุทธ์การตลาดทางตรงเชิงสร้างสรรค์ (Creative Direct Marketing) : บางองค์กรไม่มีการประกาศรับสมัครงานสาธารณะโดยตรง แต่จะส่งประกาศรับสมัครงานไปยังกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่สนใจโดยตรงแทน แต่การส่งไปแบบธรรมดาอาจไม่ได้รับความสนใจหรือถูกมองผ่านไปโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ หนึ่งในตัวอย่างสร้างสรรค์ที่น่าสนใจในเคสนี้ก็ได้แก่การรับสมัครงานของ IKEA ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งการทำ Recruitment Marketing เชิงสร้างสรรค์ครั้งนี้ทาง IKEA ทำประกาศรับสมัครงานพร้อมระบุคุณสมบัติออกมาในรูปแบบและคอนเซ็ปต์ว่า Career Instruction ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับใบอธิบายรายละเอียดสินค้าพร้อมวิธีการประกอบที่แนบมากับสินค้าทุกตัวของ IKEA โดยครั้งนี้ทาง IKEA จะนำเอาใบประกาศรับสมัครงานนี้ใส่ลงไปในกล่องสินค้าของ IKEA ด้วย เมื่อลูกค้าซื้อสิ้นค้าไปก็จะเห็นใบประกาศรับสมัครงานสุดสร้างสรรค์นี้ ซึ่งทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นแฟนของ IKEA อยู่แล้ว แล้วก็แทบไม่น่าเชื่อว่าแคมเปญจน์นี้จะประสบความสำเร็จอย่างสูง มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก ถือเป็นโครงการ Recruitment Marketing ที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนเป็นการทำการตลาดที่สร้างสรรค์ต่อแบรนด์ทีเดียว ลองเข้าไปดูแคมเปญจน์นี้ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=qwmXRAGDHeo

Selective Workshop

กลยุทธ์เวิร์คช็อปเชิงคัดสรร (Selective Workshop) : กลยุทธ์นี้เป็นวิธีที่ใช้กันมานานแล้ว หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นมากที่สุดในไทยก็เห็นจะเป็นโครงการ B.A.D STUDENT WORKSHOP ของสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก (Bangkok Art Directors’ Association) ที่จัดกันเป็นประจำทุกปีมาหลายสิบปีแล้ว โครงการนี้จะเปิดโอกาสให้นิสิต-นักศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานโฆษณามาแข่งขันกันตามโจทย์ที่กำหนด เสร็จแล้วจะคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบเข้ามาร่วมกิจกรรม Creative Workshop เพื่อหาผู้ชนะในแต่ละปีอีกครั้งหนึ่ง ใครที่ได้ผ่านเข้ารอบไปร่วมใน Creative Workshop นั้นก็เสมือนว่ามีภาษีดีในการได้งานทำแล้วล่ะ และเมื่อเข้าไป Workshop แล้วสามารถแสดงความสร้างสรรค์จนโดดเด่นได้เพียงไรก็จะเป็นช่วงที่ Advertising Agency แต่ละแห่งมาเล็งตัวไว้กันอยู่แล้ว เป็นการเพิ่มศักยภาพและโอกาสได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด ถึงแม้โครงการนี้จะไม่ใช่การทำ Recruitment Marketing อย่างเป็นทางการที่ชัดเจนนัก แต่นักสร้างสรรค์ทุกคนจะรู้ดีกว่านี่คือโอกาสที่จะได้ทำงานกับบริษัทชั้นนำที่ดีที่สุดเลยทีเดียว และโครงการลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นในแวดวงโฆษณาทั่วโลกด้วยเช่นกัน ลองเข้าไปดูรายละเอียดกันได้ที่ www.badawards.com

Mystery Solving

กลยุทธ์การไขปริศนา (Mystery Solving) : กลยุทธ์การไขปริศนานั้นอาจยากกว่าการแก้ไขปัญหาทั่วไป แต่นั้นคือวิธีการหนึ่งที่นิยมในการใช้คัดหัวกะทินั่นเอง ปัจจุบันกลยุทธ์นี้มีคนนำมาประยุกต์ใช้กับการสมัครงานหลากหลายรูปแบบเช่นกัน แต่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จและคนจดจำทั่วโลกก็คือ Google’s Mysterious Billboard ที่มีการขึ้นข้อความในปี ค.ศ.2004 บนไฮเวย์ที่ Silicon Valley ด้วยข้อความว่า {first 10-digit prime found in consecutive digits of e}.com ซึ่งไม่มีใครรู้ว่านี่เป็นการโฆษณาอะไรและโดยใคร มีเพียงผู้ที่สามารถแก้ไขปริศนาได้เท่านั้นที่สามารถจะเข้าไปยังเว็บไซต์นั้นได้ และใครแก้ปริศนานี้ได้เร็วที่สุดก็จะมีโอกาสมากที่สุดนั่นเอง อย่างไรก็ดีมีการเปิดเผยภายหลังว่านี่เป็นแคมเปญการคัดสรรพนักงานของยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่ต้องการหัวกะทิมาร่วมงานด้วย โดยใครที่สามารถแก้ปริศนาแล้วเข้าไปฝ่าฟันโจทย์มหาโหดในเว็บไซต์ได้สำเร็จ ก็จะได้รับจดหมายเชิญเข้ามาร่วมงานที่ Google ด้วยนั่นเอง คงไม่ต้องบอกว่าแคมเปญจน์นี้จะประสบความสำเร็จมากเพียงใด

Competition Program

กลยุทธ์รายการการแข่งขัน (Competition Program) : กลยุทธ์สร้างเวทีแข่งขันเพื่อคัดเลือกผู้ที่โดดเด่นที่สุดนั้นเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยม แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องการใช้งบประมาณที่สูงพอสมควรทีเดียว แต่ก็เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างแบรนด์ให้กับตนเองด้วย หนึ่งในโครงการประกวดเพื่อคัดเลือกคนเข้าทำงานของไทยที่กลายเป็นรายการเรียลลิตี้ที่โด่งดังนั้นก็คือ “The Angel นางฟ้าติดปีก” ของสายการบินนกแอร์ (NOK AIR) นั่นเอง ราการนี้เป็นเรียลลิตี้โชว์ที่คัดสรรแอร์โฮสเตสเพื่อไปร่วมงานกับสายการบินนกแอร์

Creative Positioning

กลยุทธ์ชื่อตำแหน่งที่สร้างสรรค์และดึงดูดใจ (Creative Positioning) : หนึ่งในกลยุทธ์ที่ง่ายแถมยังเป็นกลยุทธ์เบื้องต้นอันดับแรกๆ ที่นิยมนำมาใช้ในการประกาศสรรหาทรัพยากรบุคคลก็คือการสร้างสรรค์ตำแหน่งให้ดึงดูดใจ ทั้งนี้สิ่งนี้สามารถสร้างมูลค่าให้กับตำแหน่งงาน ตลอดจนองค์กรได้ อย่างเช่น ตำแหน่ง Content Writer ที่ปัจจุบันเริ่มมีคนใช้คำว่า Content Creator แทน เพราะบ่งบอกความเป็นนักสร้างสรรค์และสามารถทำงานได้หลากหลายมากว่าแค่การเขียนเพียงอย่างเดียว หรือตำแหน่ง Marketing ที่ปัจจุบันมีการแยกย่อยสายงานหลากหลายมากอย่างเช่น Creative Marketing ที่เน้นแนวสร้างสรรค์, Content Marketing ที่เน้นการทำการตลาดผ่านการสร้างเนื้อหาต่างๆ, หรือแม้แต่ Specialist Marketing ที่บ่งบอกความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ทุกวันนี้เรายังเห็นการสร้างสรรค์ตำแหน่งต่างๆ ขึ้นมากมายเพื่อดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน โดยเฉพาะกับกลุ่มแรงงานคนรุ่นใหม่ที่ชอบอะไรที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวเสมอ รวมถึงบางตำแหน่งก็อาจเจาะลึกให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ซึ่งจะทำให้เข้าใจเนื้องานได้มากขึ้นด้วย เช่น UX/UI Designer มาจาก User eXperience (UX) และ User Interface (UI) ที่เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับ App, Website ตลอดจน Smart Phone ต่างๆ เป็นต้น

บทสรุป Recruitment Marketing

การตลาดเพื่อคัดการสรรบุคลากร (Recruitment Marketing) กลยุทธ์คัดหัวกะทิร่วมงานกับองค์กร

องค์กรสามารถได้บุคลากรที่มีศักยภาพตามที่องค์กรคาดหมายหรือเหนือกว่านั้นได้จากการทำการตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) เพราะหากทำการตลาดในเรื่องนี้ได้ดีจะสร้างแรงจูงใจได้อย่างยอดเยี่ยมและท้าทายให้คนที่มีศักยภาพอยากมาร่วมงานได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งหากการตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) ประสบความสำเร็จก็อาจช่วยสร้างให้ตราสินค้าในรูปแบบองค์กร (Employer Branding) ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นตามด้วย และทำให้คนจดจำแบรนด์ขององค์กรได้ จนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อถือองค์กรในที่สุด การสรรหาครั้งต่อๆ ไปก็จะได้รับความสนใจ และมีคนที่มีศักยภาพสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนี่คือผลสำเร็จระยะยาวที่ยอดเยี่ยมทีเดียว

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง