5 หมวดคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษที่ HR ควรเตรียมตัว

5 หมวดคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษที่ HR ควรเตรียมตัว

การสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (Job Interview in English) นั้นกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ไปโดยปริยายแล้ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มักจะเพิ่มการสัมภาษณ์งานช่วงนี้เข้ามาเพื่อทดสอบและประเมินศักยภาพของผู้สมัครงานแต่ละคนด้วย ถึงแม้ว่าบางบริษัทอาจจะไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการทำงานก็ตาม แต่ยุคปัจจุบันภาษาก็มีความสำคัญในทุกมิติของการทำงานด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ผู้สมัครจะเตรียมตัวในการตอบคำถามในส่วนนี้มาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้สัมภาษณ์งานเองก็ควรจะต้องเตรียมตัวในส่วนนี้ให้ดีด้วยเช่นกัน เบื้องต้นอาจเริ่มด้วยการวางแผนในเรื่องคำถามภาษาอังกฤษ ตลอดจนลำดับการสัมภาษณ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการสนทนาที่ลื่นไหล ไปจนถึงการเช็คความถูกต้องและวัตถุประสงค์ของคำถาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด

 

Checked First !

สิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ควรทำอันดับแรกหากมีการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษก็คือการเช็คระดับความสามารถทางภาษาของผู้สมัคร และจัดผู้สัมภาษณ์ให้มีระดับความรู้ทางภาษาที่เท่าเทียมกันหรือเหนือกว่า เพื่อประโยชน์ดังนี้

+ ความลื่นไหลในการสนทนา : ยิ่งระดับภาษาดีเท่าไรยิ่งส่งผลต่อความลื่นไหลของบทสนทนาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีที่ผู้สมัครงานมีความรู้ทางภาษาที่ดี และภาษาจำเป็นต่อการทำงาน ก็ควรเลือกผู้ที่เก่งภาษามาสัมภาษณ์งาน ทั้งนี้เพื่อความลื่นไหลของบทสนทนา และการตอบโต้กันไปมาที่ไม่ใช่แค่ถามไปแล้วตอบมาเท่านั้น

+ ความน่าเชื่อถือของบริษัท : แน่นอนว่าระดับภาษาของผู้สัมภาษณ์สามารถสะท้อนความน่าเชื่อถือตลอดจนความเป็นผู้เชี่ยวชาญของบริษัทได้เป็นอย่างดี หากบริษัทเลือกผู้สัมภาษณ์ที่มีความสามารถต่ำกว่าผู้สมัคร อาจเกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์บริษัทได้ และอาจทำให้ผู้สมัครประเมินบริษัทในแง่ไม่ดี หรืออาจไม่อยากมาร่วมงานได้เช่นกัน แต่ตรงกันข้ามการเลือกผู้สัมภาษณ์ที่ดีก็สะท้อนถึงความใส่ใจของบริษัทได้

+ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ตกหล่นข้อมูลสำคัญ :การคัดเลือกผู้สัมภาษณ์ที่มีระดับภาษาที่ดีนั้นย่อมทำให้สามารถสื่อสารหรือรับฟังข้อมูลได้ถูกต้องกว่า ไม่ตกหล่นข้อมูลสำคัญ โดยเฉพาะตำแหน่งที่ภาษานั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน การเลือกผู้ที่ไม่มีความรู้ทางภาษาที่ดีไปสัมภาษณ์ ก็อาจทำให้ข้อมูลตกหล่น หรืออาจทำให้การประเมินคะแนนผู้สมัครงานไม่ถูกต้องได้เช่นกัน เป็นผลเสียทั้งบริษัทและผู้สมัครงานอีกด้ว

1.หมวดคำถามพื้นฐานทั่วไป / คำถามที่เกี่ยวกับผู้สมัคร (General Question & Candidate Biography)

Please tell me about yourself. / Please introduce yourself.  

  • แนะนำตัวของคุณ/เล่าเรื่องราวของคุณให้เรารู้จักหน่อย

How about your educational Background?

  • ประวัติทางการศึกษาของคุณเป็นอย่างไรบ้าง

What would you describe about your personality?

  • ลักษณะนิสัยของคุณเป็นอย่างไร

What are your strengths and weaknesses?

  • อะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณ

What are your hobbies?

  • งานอดิเรกของคุณคืออไร

วัตถุประสงค์ : การเริ่มต้นคำถามด้วยคำถามพื้นๆ ง่ายๆ ทั่วไป ที่เป็นลักษณะคำถามปลายเปิด สามารถตอบได้ตามพื้นฐานของผู้สมัครเองนั้น นอกจากจะเป็นการเปิดบทสนทนาที่ดีแล้ว ยังเป็นการเริ่มปรับตัวทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้สมัครเองให้คุ้นเคยกัน ทั้งยังช่วยลดความประหม่า และลดความเครียดได้ในตัว หรือบางทีประโยคพื้นฐานนี้อาจเป็นการเช็คศักยภาพของผู้สมัครได้เบื้องต้น หรืออาจเป็นจุดที่รู้ว่าผู้สมัครสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้หรือไม่ ควรจะสนทนาต่อไป หรือหยุดบทสนทนาได้เลย ตัวอย่างคำถามมีดังนี้ คำถามหมวดนี้ควรเป็นเรื่องง่ายๆ เพื่อเปิดบทสนทนาระหว่างกัน และเป็นการปรับตัวระหว่างกันด้วย เป็นคำถามที่ให้ผู้สัมภาษณ์ตอบได้ง่ายๆ เลือกตอบได้เอง เพื่อให้เขากล้าที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษออกมา ตัวอย่างของการเตรียมคำถามในกลุ่มนี้ได้แก่

2.หมวดคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งงานที่สมัคร (Working Experience & The Specific Job)

Please tell me about your working experience.

  • ช่วยเล่าประสบการณ์การทำงานของคุณที่ผ่านมาให้ฟังหน่อย

What are you doing in your current job?

  • คุณทำอะไรบ้างในตำแหน่งงานปัจจุบัน

Why are you interested in this position?

  • ทำไมคุณจึงสนใจสมัครงานในตำแหน่งนี้

What skills do you think are needed for this position?

  • ทักษะอะไรที่คุณคิดว่ามีความจำเป็นต่อการทำงานในตำแหน่งนี้

Do you think you’re qualified for this position?

  • คุณคิดว่าคุณสมบัติของคุณเหมาะสมกับตำแหน่งนี้หรือไม่ อย่างไร

Why Should we hire you?

  • เหตุใดเราถึงต้องจ้างงานคุณ

วัตถุประสงค์ : คำถามในส่วนนี้จะเจาะลึกลงรายละเอียดเรื่องการทำงานโดยตรง โดยอาจเริ่มตั้งแต่ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ไปจนถึงรายละเอียดการทำงานของตำแหน่งที่ประกาศรับสมัคร นอกจากจะเป็นการวัดศักยภาพในการทำงานแล้ว คำถามในหมวดนี้ยังใช้วัดความมั่นใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งถ้าผู้ที่เคยผ่านการทำงานจริงจะสามารถเล่าลงรายละเอียดเชิงลึกได้ พูดออกมาให้น่าเชื่อถือ เข้าใจ และมีความมั่นใจ รวมถึงฝ่ายทรัพยากรบุคคลยังประเมินศักยภาพในการทำงานของผู้สมัครงานได้เช่นกัน ตัวอย่างของการเตรียมคำถามในกลุ่มนี้ได้แก่

3.หมวดคำถามเกี่ยวกับทักษะในการแก้ปัญหาและบริหารจัดการ (Problem Solving & Management Skills)

How do you handle pressure?

  • คุณมีวิธีจัดการกับความกดดันอย่างไรบ้าง

Please describe a difficult work situation and how you overcame it.

  • โปรดอธิบายสถานการณ์การทำงานที่ผ่านมาของคุณที่คิดว่ายากที่สุด และคุณผ่านมันไปได้อย่างไร

What was your biggest failure and the most successful in career and how do you handle both situations?

  • อะไรคือสิ่งที่ล้มเหลวครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดและอะไรคือสิ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเรื่องงาน คุณจัดการกับสองสถานการณ์นั้นอย่างไร

Please tell me about a time you made a mistake.

  • โปรดเล่าเกี่ยวกับช่วงเวลาที่คุณทำอะไรผิดพลาดให้ฟังหน่อย

What motivates you?

  • อะไรที่คือแรงกระตุ้นในการทำงานที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

What is the most challenging about your job?

  • อะไรคือความท้าทายที่สุดในการทำงานของคุณ

How do you deal with the working deadline?

  • คุณมีวิธีการจัดการในเรื่องเส้นตายในการทำงานอย่างไร

วัตถุประสงค์ : หนึ่งในหมวดคำถามที่นิยมสัมภาษณ์ผู้สมัครงานและเป็นสิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลอยากรู้มากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือทักษะของการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนทักษะในการบริหารจัดการงานนั่นเอง กลุ่มคำถามนี้ใช้ประเมินวิธีในการทำงานรวมถึงกระบวนการคิดได้ดี และทดสอบการบริหารจัดการได้อย่างยอดเยี่ยมด้วย ตัวอย่างของการเตรียมคำถามในกลุ่มนี้ได้แก่

4.หมวดคำถามเกี่ยวกับทัศนคติและวิสัยทัศน์ (Attitude and Vision)

What are your career goals?

  • อะไรคือเป้าหมายในอาชีพของคุณ

What do you see yourself in next year and the next decade?

  • คุณจะเห็นตัวคุณเป็นอะไร/อย่างไรในปีหน้าและอีก 10 ปีข้างหน้า

What does success mean to you?

  • นิยามของความสำเร็จของคุณคืออะไร

What do you think about teamwork?

  • คุณคิดอย่างไรกับการทำงานเป็นทีม

What is your dream job?

  • อะไรคืองานในฝันของคุณ

วัตถุประสงค์ : หลังจากที่ถามคำถามหนักๆ เกี่ยวกับการทำงานไปแล้ว อาจเริ่มเข้าสู่หมวดคำถามที่ผ่อนคลายลงอีกครั้ง แต่ก็ยังคงมีสาระประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานอยู่เช่นกัน คำถามลักษณะนี้จะเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้แสดงความคิดเห็น และฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถประเมินทัศนคติตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้สมัครงานได้ ตัวอย่างของการเตรียมคำถามในกลุ่มนี้ได้แก่

5.หมวดคำถามเกี่ยวกับไหวพริบปฎิภาณและความรอบรู้ (Resourcefulness & General Knowledge)

What are you doing in your free time?

  • เวลาว่างคุณชอบทำอะไร

How about your hobby?

  • งานอดิเรกของคุณคืออะไร

What is your most interesting news in this week?

  • ข่าวไหนในรอบสัปดาห์นี้ที่คุณสนใจมากที่สุด

What is your the most favorite travel?

  • การเดินทางท่องเที่ยวครั้งไหนที่คุณชอบมากที่สุด

What is the latest movie that you see?

  • ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่คุณดูคือเรื่องอะไร

How about your vacation plan in this year?

  • คุณวางแผนวันหยุดในปีนี้อย่างไรบ้าง

วัตถุประสงค์ : การถามคำถามในหมวดนี้อาจพาเข้าสู่โหมดผ่อนคลายอีกครั้งก่อนจบบทสนทนา และสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่สนทนา ฝ่ายทรัพยากรบุคคลอาจถามคำถามทั่วไปในสังคมที่ไม่ยากเกินไปนัก เพื่อเป็นเสมือนการชวนคุย และเช็คปฎิภาณไหวพริบตลอดจนความรู้รอบตัวไปในตัวก็ได้ หรือบางคำถามอาจจะดูเป็นการทดสอบ แต่ควรเกริ่นก่อนหน้าว่าไม่มีผิดถูกหรือมีผลต่อคะแนน แต่อยากรู้เรื่องความรู้รอบตัวเสียมากกว่า อันที่จริงคำถามหมวดนี้อาจจะไม่ได้จำเป็นที่จะต้องถามนัก แต่หากผู้สมัครงานมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี การทดสอบเรื่องความรู้ทั่วไปจะยิ่งทำให้เราตรวจสอบได้ว่าทักษะภาษาของเขาจะดีมากน้อยเพียงไร เพราะการตอบเรื่องงานหรือคำถามที่ผ่านๆ มานั้นเป็นสิ่งที่ผู้สมัครส่วนใหญ่จะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีได้ ตัวอย่างของการเตรียมคำถามในกลุ่มนี้ได้แก่

บทสรุป

 

สำหรับการสัมภาษณ์งานในภาษาที่สองหรือภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาไทยนั้น แน่นอนว่าทั้งผู้สมัครและผู้สัมภาษณ์ที่ไม่คุ้นเคยหรือเชี่ยวชาญด้านภาษาย่อมเกิดความตื่นเต้นและประหม่าเช่นกัน แต่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็ควรจะเตรียมตัวให้ดีเพื่อลดความประหม่าในการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษนี้ โดยการเตรียมคำถาม ลำดับการถาม ไปจนถึงเช็คความถูกต้องในด้านภาษาด้วย การเตรียมตัวที่ดีนั้นไม่ใช้ได้ประโยชน์เฉพาะกับบทสนทนาที่ลื่นไหลเท่านั้น แต่เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีตลอดจนความน่าเชื่อถือขององค์กรที่ผู้สมัครงานจะสัมผัสได้ตั้งแต่แรกพบเช่นกัน

CTA HR Products & Services

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง