Search
Close this search box.

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนพฤษภาคม 2024

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนพฤษภาคม 2024

Q&A Of the Month ประจำเดือนพฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา มี HR มาตั้งคำถามน่าสนใจมากมายใน HR Community หรือเว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) ของ HREX และทุกคำตอบก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล มาแสดงทัศนะที่เชื่อถือ อ้างอิงได้ เป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่มาตั้งคำถามด้วย

คำถาม-คำตอบไหนที่มีประโยชน์ต่อวงการ HR ที่ทุกคนควรรู้บ้าง เรารวบรวมไว้แล้วดังนี้

Q1 : กรณีไม่ต่อสัญญาจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนพฤษภาคม 2024

พนักงานเป็นสัญญาจ้างปีต่อปี แต่ผลการทำงานยังไม่ได้เป็นที่น่าพอใจ ทางบริษัทจึงจะไม่ต่อสักญญาจ้างและมีการเรียกคุยไปแล้วก่อนรอบของการจ่ายเงินเดือนถึง 2 รอบ โดยประมาณ ทางบริษัทจึงอยากทราบว่าต้องจ่ายค่าเชยอย่างไร และมีค่าอย่างอื่นอีกไหม ในเรื่องของวันลาพักร้อนของพนักงานทางเราต้องจ่ายเพิ่มไหม

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

ขอแยกตอบเป็น 2 กรณี

  1. สัญญาจ้างแบบกำหนดเวลา เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ก็ถือว่าสิ้นสภาพการจ้าง ยกเว้นพนักงานกระทำความผิดร้ายแรงหรือผลงานไม่เป็นที่น่าพอใจ การเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนงวดการจ่ายเงินเดือนครั้งถัดไป
  2. สัญญาจ้างงานแบบไม่กำหนดเวลา หมายถึงสัญญาจ้างพนักงานประจำ การเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน

ให้ดูรายละเอียดได้ใน มาตรา 118 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ยกเว้นพนักงานกระทำความผิดร้ายแรงการเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (มาตรา 119 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน)

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 

Q2 : ควรคำนึงเรื่องอะไรบ้าง ก่อนให้ Garden Leave แก่พนักงาน

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนพฤษภาคม 2024

ก่อนที่องค์กรจะให้พนักงาน Garden Leave ในแต่ละครั้ง HR และผู้บริหารควรคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง แล้วมันมีข้อดีข้อเสียต่อองค์กรอย่างไร

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

ยังไม่เคยเห็นตัวอย่างองค์กรในประเทศไทยที่ให้พนักงาน Garden Leave ได้ และยังไม่มีระบุในกฎหมายแรงงานเกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างที่ให้พนักงานสามารถใช้ Garden Leave เมื่อมีความจำเป็น

อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม เผื่อจะเป็นประโยชน์ให้กับส่วนรวม 

Garden Leave นิยมใช้กับการจ้างงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง  ตำแหน่งงานที่เข้าถึงความลับทางการค้าและเทคโนโลยีสำคัญ

ของบริษัท และเป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหวด้านข้อมูลซึ่งมีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ เช่น ธุรกิจการเงินการธนาคาร ธุรกิจเทคโนโลยี  ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community

Q3 : ประกันกลุ่ม กับ เงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล คือเงินส่วนเดียวกันหรือไม่ 

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนพฤษภาคม 2024

สอบถามเรื่องเงินทดแทนที่นายจ้างต้องจ่ายให้พนักงานกรณีอุบัติเหตุจากการทำงานครับ

ตามที่กฏหมายแรงงานมีกำหนดไว้ของแต่ละเคส แต่ละแบบทั้งที่บาดเจ็บ นอนโรงพยาบาลผ่าตัด พิการ หรือเสียชีวิต ว่าต้องจ่ายเท่าไหร่

ตามบริษัททั่วไปจะมีการทำประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุอยู่แล้ว อันนี้เป็นส่วนเดียวกันกับที่กฏหมายแรงงานกำหนด หรือเป็นคนละส่วน on top ไปอีกครับ ?

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน กรณีพนักงานได้รับอุบัติเหตุในเวลาทำงาน

  • ค่ารักษาพยาบาล จนสิ้นสุดการรักษา (ในสถานพยาบาลของรัฐ)
  • ค่าทำศพ ได้รับค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท
  • ทดแทนรายเดือน เมื่อลูกจ้างมีการหยุดงาน สูญเสียสมรรถภาพ ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหายจะได้รับค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน

จากคำถาม ตามบริษัททั่วไปจะมีการทำประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุอยู่แล้ว อันนี้เป็นส่วนเดียวกันกับที่กฏหมายแรงงานกำหนด หรือเป็นคนละส่วน on top ไปอีกครับ?

คำตอบ โดยทั่วไป บริษัทจะเลือกใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนก่อน  สำหรับส่วน on top จะให้พนักงานเพิ่มเติมก็ได้แล้วแต่ดุลยพินิจของแต่ละบริษัทค่ะ 

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community

Q4 : HR นิสัยเปลี่ยนไป ควรทำอย่างไร

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนพฤษภาคม 2024

หาก HR ในบริษัทที่เคยยิ้มแย้มแจ่มใส ร่วมงานกันตามปกติ วันหนึ่งกลับมีท่าทีเปลี่ยนไป ไม่พูดคุยกันเหมือนเดิม และดูเหมือนว่าจะให้การสนับสนุนกับทีมอื่น ๆ ในบริษัทน้อยลง พนักงาน/บริษัทควรทำอย่างไรเพื่อให้สภาพการทำงานเป็นเหมือนเดิม หรือควรเข้าไปพูดคุยโดยตรงกับตัว HR อย่างไร

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

1.ถ้าวิธีปกติก็ชวนคุย แต่ต้องคุยแบบส่วนตัว หรือให้คนที่เขาคุ้นเคยหรือคุยได้เพื่อสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้น และอาจจะบอกข้อสังเกตของเราว่าเค้าเปลี่ยนไป หรือไม่งั้นก็ถามว่ามีเรื่องอะไรที่เราพอจะช่วยได้

2.ถ้าเนียนเนียนก็ถามแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้นค่ะ ถามแค่ว่าเกิดอะไรขึ้นเห็นไม่เหมือนเดิม ถามแค่นี้น่าจะได้ครบแล้วถ้าไว้วางใจ

อย่างไรก็ตาม ให้ทางบริษัทพิจารณาเรื่องผลงานด้วย หน้าที่ความรับผิดชอบงานต้องไม่เกิดความเสียหาย การที่ HR เปลี่ยนไป

ดูเหมือนว่าจะให้การสนับสนุนกับทีมอื่น ๆ ในบริษัทน้อยลง  ข้อนี้ถือว่าบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ทางบริษัทเรียกคุยเพื่อตักเตือน

ได้อยู่แล้ว อย่าลืมว่าบทบาท HR ต้องทำตัวเป็น HRBP ,HR Service และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนในองค์กรค่ะ

แสดงความคิดเห็นได้ใน HR Community 

Q5 : จะสื่อสารกับพนักงานอย่างไรเวลาต้องแจ้งว่า ไม่ผ่านโปร

Q&A of the Month: 5 คำถามเด็ด HR ประจำเดือนพฤษภาคม 2024

พนักงานไม่ผ่านโปร ควรใช้วิธีการสื่อสารอย่างไรที่จะไม่กระทบจิตใจของพนักงานคะ

A: โดย Poonie HR

ย้อนกลับไปตั้งต้นที่ต้นเหตุคือ หัวหน้างาน มีการประเมินผลงานตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่  และมีการพูดคุยสิ่งที่คาดหวัง หรือต้องการจากพนักงานเรื่องที่ไม่ผ่าน แล้วตั้งเป้าหมายว่า ในอีกกี่วัน เราจะคุยกันในสิ่งที่ต้องพัฒนาหรือไม่ ถ้ามี HR จะบริหารจัดการง่ายขึ้นครับ 

แต่ส่วนใหญ่ไม่มี บทบาทของ HR เป็นปลายทางต้องบริหารจัดการให้ดีครับ สิ่งที่ทำได้คือ คุยกับพนักงานเรื่องผลการปฏิบัติงาน บางครั้งปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ทีม หัวหน้า อาจมีผลทำให้ไม่ผ่านการทดลองงาน ให้ลองตั้งหลักแล้วหาที่ใหม่จะดีกว่า เป็นเรื่องของการบริหารจิตใจพนักงานล้วน ๆ 

ส่วนใหญ่ผมจะบริหารจัดการ Case แนวนี้ว่า ส่ง CV มาให้พี่ เพราะพี่มีเพื่อน HR หลาย ๆ ที่ อาจเป็นประโยชน์บ้าง จะได้เปิดโอกาสใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น ผมจะบริหารจัดการแบบนี้เสมอ  ยินดีต้อนรับเมื่อวันมา และเดินไปส่งที่ประตูเมื่อจากกันครับ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community

ผู้เขียน

Picture of Paranaphat Anui

Paranaphat Anui

Take Off Toward a Dream

บทความที่เกี่ยวข้อง