Search
Close this search box.

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2024

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2024

ถึงเวลาสรุป Q&A Of the Month แล้ว สำหรับเดือนมิถุนายน 2024 ที่ผ่านมา อาจมีผู้เข้ามาตั้งคำถามใน HR Community หรือเว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) ของ HREX ไม่เยอะมาก 

แต่ทุกคำถามก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล มาแสดงทัศนะที่มีประโยชน์ เชื่อถือ อ้างอิง และนำไปปรับใช้จริงได้ เป็นวิทยาทานแก่คนทำงาน HR ทุกคนเช่นเคย

คำถามไหนที่น่าสนใจประจำเดือนที่ผ่านมาบ้าง หาคำตอบได้เลยในบทความนี้

Q1 : ปรับลดงานจากรายเดือนเป็นรายวัน ต้องทำหนังสือแจ้งหรือไม่

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2024

มีการปรับลดตำแหน่งจากหัวหน้างานเป็นพนักงานทั่วไป และพนักงานรับทราบในจุดนี้ แต่มีการปรับลดจากรายเดือนเป็นรายวันด้วย และไม่ได้ค่าตำแหน่ง ทาง HR ต้องทำหนังสือแจ้งพนักงานให้ทรายเรื่องการปรับเป็นรายวันด้วยไหมคะ

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

การปรับลดตำแหน่ง  แม้ว่าพนักงานจะรับทราบแล้ว  และมีการปรับลดจากรายเดือนเป็นรายวัน ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง ต้องมีเหตุผลระบุที่ชัดเจนค่ะ เช่น

  1. ผลงานต่ำกว่าประสิทธิภาพ
  2. ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่บริษัท มอบหมาย
  3. ขาดภาวะผู้นำ ไม่สามารถทำหน้าที่หัวหน้างานได้

โดยทาง HR ต้องจัดทำหนังสือระบุรายละเอียดให้ชัดเจน และให้พนักงานเซ็นต์รับทราบ โดยมีผู้บังคับบัญชาร่วมเป็นพยาน และรายงานต่อผู้บังคับบัญชาสูงสุด

A: โดย Poonie HR

ข้อมูลอาจจะยังไม่มากพอ แต่ผมอาจจะสรุปให้เข้าใจคร่าว ๆ สำหรับแนวทางการบริหารจัดการนี้ ครับ

  1. การเปลี่ยนแปลงการจ้าง ใดๆ ก้อตาม ควรเปลี่ยนสัญญาจ้างงานใหม่ครับ
  2. การเปลี่ยนสัญญาจ้าง ควรพูดคุยกับพนักงานให้เข้าใจ ว่ามีอะไรบ้างที่เปลี่ยนแปลงไป อะไรที่เป็นสิ่งที่ได้เพิ่ม อะไรเป็นสิ่งที่หายไป

เช่น ค่าเดินทาง ค่าตำแหน่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในงาน แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ถ้าผลตอบแทนต่าง ๆ ลดลงจากเดิมที่ได้ แม้งานจะเปลี่ยนแปลงไป ต้องคุยกับพนักงานให้เข้าใจครับ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 

Q2 : พนักงานไปเที่ยวแล้วก่อเรื่องที่ต่างประเทศ ออกจดหมายเตือนได้ไหม

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนมิถุนายน 2024

พนักงานขององค์กรไปเที่ยวต่างประเทศในนามส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท แต่ดันไปสร้างความรบกวนที่นั่น มีคนถ่ายคลิปมาลงในโซเชี่ยล แล้วสืบสาวจนรู้ว่าเขาคือใคร ทำงานอยู่ที่ไหน ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงชื่อขององค์กรด้วย HR สามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ ออกจดหมายเตือนได้ไหม หรือว่ามีวิธีการใดที่ทำได้บ้าง

A: โดย Poonie HR

งาน HR คือการใช้หลักแนวรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ โดยใช้ช่วงจังหวะว่าควรเลือกใช้อะไรมากกว่ากัน

สำหรับกรณีนี้ การไปเที่ยวส่วนตัว คือการไปส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการทำงาน ดังนั้นใด ๆ ที่เกิดขึ้นคือความรับผิดชอบส่วนบุคคล 

หากพนักงานเป็นที่รู้จักของคนอื่นในนามบริษัท สิ่งที่ทำส่งผลต่อชื่อเสียงต่อบริษัท แนวทางที่ควรทำคือ

  1. ศึกษาระเบียบบริษัท ครอบคลุมเรื่องนี้มากแค่ไหนเกี่ยวกับชื่อเสียง ใช้หลักนิติศาสตร์
  2. HR ควรคุยกับหัวหน้างานของพนักงานเรื่องที่เกิดขึ้น มีส่งผลต่อชื่อเสียงบริษัทเรา ช่วยคุยกับพนักงานในลักษณะหัวหน้างานคุยกับพนักงาน ไม่มีใบเตือน ไม่ต้องบันทึก ใช้หลักรัฐศาสตร์

A: โดย ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

แม้ว่าพนักงานจะไปเที่ยวเป็นการส่วนตัว แต่สุดท้ายแล้วมีผลกระทบมาถึงองค์กร ทาง HR สามารถเรียกคุยเพื่อตักเตือนได้

แต่สิ่งที่ HR ต้องพิจารณาและระมัดระวังคือ

  1. มีหลักฐานชัดเจนหรือไม่ เรื่องอะไรที่ทำให้มีผลกระทบต่อบริษัท กระทบอย่างไร บริษัทได้รับผลเสียหายหรือไม่ ต้องชัดเจนค่ะเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตักเตือนพนักงาน และให้แนะนำพนักงานด้วยต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร พร้อมระบุระยะเวลาในการติดตามผล
  2. การอ้าง Clip ที่ลงใน Social ต้องระวังเรื่อง PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง