Search
Close this search box.

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2024

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2024

ถึงเวลาสรุป Q&A Of the Month แล้ว แม้ตลอดเดือนธันวาคม 2024 จะมีผู้เข้ามาตั้งคำถามใน HR Community หรือเว็บบอร์ดถาม-ตอบ (Q&A Forum) ของ HREX ไม่เยอะ ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นช่วงที่ HR จำนวนมากตั้งหน้าตั้งตารอคอยวันหยุดยาวมากกว่า แต่ทุกคำถามที่ถามเข้ามาในบอร์ดนั้น ก็ยังมีความน่าสนใจไม่เสื่อมคลายเช่นเคย

มาดูกันดีกว่าว่า 4 คำถามเด็ดประจำเดือนนี้ เหล่า HR Expert ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลแต่ละท่าน ได้แสดงทัศนะที่มีประโยชน์ เชื่อถือ อ้างอิง และนำไปปรับใช้จริงได้ เป็นวิทยาทานแก่คนทำงาน HR ทุกคนอย่างไรบ้าง

Q1: HR Trends 2025 เรื่องเด่น ๆ มีเรื่องอะไรบ้าง

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2024

ปี 2025 มาถึงแล้ว ทุกท่านคิดว่า เทรนด์ HR ที่น่าสนใจ และควรให้ความสำคัญมีเรื่องอะไรบ้าง

A: Poonnie HR

แนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ในปี 2025 กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต นี่คือแนวโน้มสำคัญที่ควรจับตามอง:

  • การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติมาใช้ใน HR AI จะมีบทบาทสำคัญในการสรรหา วางแผนกำลังคน และการจัดการประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น 
  • การมุ่งเน้นประสบการณ์พนักงานแบบเฉพาะบุคคล องค์กรจะปรับแต่งประสบการณ์การทำงานให้ตรงกับความต้องการและความคาดหวังของพนักงานแต่ละคน เพื่อเพิ่มความพึงพอใจและการมีส่วนร่วม 
  • การพัฒนารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น การทำงานระยะไกลและรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ องค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของพนักงาน 
  • การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน องค์กรจะมุ่งเน้นการสนับสนุนสุขภาพกายและจิตใจของพนักงาน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 
  • การส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม การมีส่วนร่วม และการเป็นส่วนหนึ่ง (DEIB) องค์กรจะลงทุนในการสร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับความหลากหลายและส่งเสริมความเท่าเทียม เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถหลากหลาย 

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 

Q2: ตั้งครรภ์แต่ไม่ให้ใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2024

บริษัทให้ทำสัญญาว่าจ้าง ตอนกำลังตั้งครรภ์ ไม่ให้สิทธิ์ชดเชยลาคลอด 90 วัน ไม่ให้ทำประกันสังคม ม.33 มีสิทธิ์เรียกร้องอะไรได้บ้าง ทำงานได้เดือนกว่าเเล้ว สัญญาว่าจ้างยังไม่ออก สัญญาว่าจ้างงาน 4-5 เดือน ทำจนใกล้ถึงกำหนดคลอด

A: Poonnie HR

ตามหลักเกณฑ์แล้วการลาคลอดของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ มีสิทธิ์ลาคลอดก่อนและหลังคลอดรวมกันได้ไม่เกิน 90 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่ลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

กรณีที่ลูกจ้างคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างหรือในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างสามารถเรียกร้องสิทธิของตนได้โดย

  1. ลูกจ้างนำคดีไปฟ้องศาลแรงงาน หรือ
  2. ลูกจ้างยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 

Q3: พนักงานลาออกต้นปีใช้สิทธิ์พักร้อนทั้งหมดโดยไม่มาทำงานได้หรือไม่

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2024

พนักงานมีพักร้อนปี 2568 ทั้งหมด 18 วัน พนักงานจะลาออกโดยใช้สิทธิ์พักร้อน 18 ทั้งหมดตั้งแต่วันแรกที่เปิดงาน ม.ค. 2568 โดยจะไม่มาทำงานเลย ถ้าเราไม่อนุมัติและคิดเป็นสัดส่วนจะได้หรือไม่ 

A: ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร

การพักร้อนเป็นสิทธิ์ของปีที่ผ่านมาค่ะ กรณีพนักงานมีพักร้อนสะสม สามารถใช้ในปีถัดไปได้ โดยให้พิจารณาตามสัดส่วน

กรณีจะใช้สิทธิ์ ตั้งแต่วันแรกที่เปิดงาน ม.ค.2568 ก็เป็นสิทธิ์ของพนักงาน ทั้งนี้ต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้างด้วย

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 

Q4: HR Tech กับการพัฒนาทุนมนุษย์

Q&A of the Month: คำถามเด็ด HR ประจำเดือนธันวาคม 2024

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ HR Tech กับการพัฒนามนุษย์ว่ามีตัวบ้าง และอยากทราบว่าปัจจุบันภาครัฐไทยใช้ HR Tech ตัวไหนบ้าง และใช้อย่างไร ประโยชน์และข้อจำกัดต่าง ๆ ของการใช้techนั้น ๆ เป็นอย่างไร

A: Poonnie HR

มีโปรแกรมมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาพนักงานในองค์กรครับ ก่อนอื่น ผมขอแนะนำให้ทำความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีก่อนจะนำมาใช้จริง โดยมีขั้นตอนดังนี้ครับ

  1. รู้แนวทางการนำเทคโนโลยี HR มาใช้ในการพัฒนาพนักงานก่อนว่าโดยรู้วัตถุประสงค์ทำใช้เพื่ออะไร พนักงานเราเป็นคนกลุ่มไหน
  2. ประเมินความต้องการของพนักงาน: ระบุช่องว่างทักษะและด้านที่ต้องพัฒนา 
  3. เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม: สอดคล้องเป้าหมายองค์กรและความต้องการของพนักงาน
  4. ผสานระบบ: ให้ระบบเทคโนโลยี HR ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ได้อย่างราบรื่น เน้นว่าให้สอดคล้องกับ Technology ที่ใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน
  5. ติดตามและประเมินผล: ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือและปรับกลยุทธ์เมื่อจำเป็น
  6. ส่งเสริมการใช้งาน: สื่อสารถึงประโยชน์และให้การฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีใช้งาน หลักๆ คือ ถ้าพนักงานไม่อิน ไม่ใช้งาน ระบบดีแค่ไหนก็ไม่เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีที่ดีขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กรครับ

อ่านคำตอบเพิ่มเติมใน HR Community 

ผู้เขียน

Picture of Paranaphat Anui

Paranaphat Anui

Take Off Toward a Dream

บทความที่เกี่ยวข้อง