คงไม่มีช่วงเวลาไหนของมนุษย์ชาติที่ ‘ทักษะ’ ในการบริหารงานทีมงานแบบทางไกลหรือที่เราเรียกว่า ‘Remote work’ จะสำคัญมากเท่าวันนี้มาก่อน การระบาดของเชื้อไวรัสได้กดดันให้บริษัทจำนวนมากต้องปรับตัว ปรับใจ และปรับวิธีการทำงานที่ถือได้ว่าท้าทาย และสำหรับบริบทของประเทศไทยเราถือว่าสิ่งนี้เป็น ‘ของใหม่’ เลยก็ว่าได้
HREX เข้าใจ Pain point ของคนที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำขององค์กรโดยเฉพาะผู้จัดการในระดับ Middle Management ที่ถือได้ว่าเป็น ‘ตัวจริง’ ที่ต้องแบกรับความกดดันเอาไว้ มองไปข้างบนก็เห็นความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูง ต้องพยายามรักษาผลงานของทีมเอาไว้แม้มองไปทางไหนหลายอุตสาหกรรมก็ล้มระเนระนาดจากพิษเศรษฐกิจที่ลุกลามจากไวรัส พอมองไปรอบๆตัวในทีมงานทุกคนก็อยู่ในภาวะตื่นตัวหรืออาจถึงขั้นหวาดผวากับความอยู่ดีมีสุขของตัวเองและคนในครอบครัว
แล้วสุดท้าย Work From Home ก็เริ่มกลายเป็น ‘Norm’ ใหม่ของบริษัทที่จะต้องให้พนักงานกลับไปทำงานที่บ้าน…ผู้จัดการและคนที่เป็นหัวหน้างานรวมถึง HR จะทำอย่างไร มีกรอบความคิดแบบไหน ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนแต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีประสบการณ์บริหารทีมทางไกลมาก่อน หวังว่าบทความนี้พอจะเป็นไกด์ไลน์คร่าวๆที่ช่วยให้พวกเรานำพาทีมผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันจนตลอดรอดฝั่ง
ก่อนเราจะไปดูทางแก้ เรามาเริ่มจากการทำความเข้าใจปัญหาหลักๆ ของการทำ Remote work ที่จะมีอยู่หลักๆ ทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
ปัญหาที่ 1: ลูกน้องขาดการ Support จากหัวหน้างานเมื่อต้อง Remote Working
ปัญหาที่ 2: การเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นยากลำบากมากกว่าเดิม
ปัญหาที่ 3: รู้สึกเหงา รู้สึกแปลกแยก จากบริษัทและเพื่อนร่วมงาน
ในตอนแรกหลายคนอาจจะดีใจที่มีโอกาสได้กลับไปทำงานที่บ้าน รู้สึกเหมือนได้พัก มีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น ไม่ต้องเจอรถติด บริหารเวลาในแต่ละวันได้เอง ซึ่งทั้งหมดที่ผ่านมาก็เป็นความจริงถ้าเราบริหารจัดการมันได้ดี แต่อีกปัญหาหนึ่งที่ตามมาคือโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่แบบเป็นกลุ่ม ในกรณีที่การเปลี่ยนผ่านจากการทำงานที่ออฟฟิศมาเป็นแบบทำที่บ้านทุกวันเกิดขึ้นแบบกะทันหัน (ปกติแม้แต่บริษัทที่ให้สวัสดิการแบบ WFH ก็ไม่ได้ทำงานกันที่บ้านทุกวัน) อาจทำให้คนเรารู้สึกเหงาขึ้นมาได้โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีบุคคลิกภาพแบบ Extrovert และที่น่าเป็นห่วงยิ่งไปกว่านั้นถ้าเราปล่อยให้ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นต่อไปนานๆ อาจทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมน้อยลงกับทีมงานและอาจเพิ่มโอกาสให้พนักงานลาออกได้
ปัญหาที่ 4: สิ่งรบกวนจากที่บ้าน
ไม่ใช่ทุกคนที่มีห้องทำงานที่บ้าน และไม่ใช่ทุกบ้านจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน ปัจจัยที่รบกวนอาจมาจากสมาชิกของครอบครัวที่อยู่ที่บ้าน หรือการไม่มีโซนที่เหมาะสมแก่การทำงาน ปัญหานี้มักจะไม่ค่อยพบเจอกับกลุ่มคนทำงานอิสระที่ค่อนข้างปรับตัวเข้ากับปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานแบบ Work From Home มาก่อนเราอาจพบว่า Productivity ในการทำงานอาจลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงแรก และนี่คืออีกหนึ่งอุปสรรคที่เราต้องเตรียมการรับมือ
Solution 1: มีเวลาเช็คอินรายวันที่สม่ำเสมอ (Establish structured daily check-ins)
เพื่อตัดปัญหาใหญ่ในการทำงานแบบ Remote work นั่นก็คือการสื่อสารที่ไม่เพียงพอและทำให้พนักงานรู้สึกเคว้งเหมือนนั่งทำงานอยู่คนเดียวที่บ้าน ความผิดพลาดของทีมส่วนใหญ่ที่ทำงานทางไกลแล้วไม่เวิร์คก็คือ คิดเอาว่าไว้รอตอนมีธุระค่อยติดต่อกันก็พอ แต่จุดพลาดของวิธีนั้นคือส่วนมากแล้วมันจะมีความฝืดสำหรับการสื่อสารแบบออนไลน์สำหรับคนที่ไม่เคยทำงานในลักษณะนี้มาก่อน ความเขินอาย ความไม่สนิทชิดเชื้อที่หลายๆครั้งเราไม่ยอมติดต่อกันแต่เก็บปัญหาไว้กับตัวเอง ซึ่งถ้าเข้าทำงานในออฟฟิศเราก็จะถูกบังคับให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันโดยอัตโนมัติ สิ่งที่ผู้จัดการควรทำและไม่ควรคิดว่าเป็นการเสียเวลาคือการกำหนดให้มีการ Meeting เป็นประจำ โดยความถี่ก็แล้วแต่จะตกลงกัน ซึ่งคีย์หลักจริงๆคือความ ‘สม่ำเสมอแน่นอน’ เพื่อที่ทีมงานจะได้รู้สึกว่าอย่างน้อยก็มีตารางเวลาที่ล๊อคไว้แน่นอนที่จะได้คุยกับหัวหน้าได้เมื่อพบเจอปัญหาอะไร โดยการ Meeting นี้อาจจะมีทั้งแบบ one on one หรือร่วมกันพร้อมกันทั้งทีมเลยก็ได้ อีกอย่างคือเราต้องทำตารางประชุมนี้ให้เป็นในรูปแบบออนไลน์ที่แชร์กันเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างโปร่งใส
Solution 2: ต้องมีตัวเลือกในการสื่อสารที่มีความหลากหลาย (Provide several different communication technology options)
อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงคือช่องทางของการสื่อสาร ใช่ครับ เราสามารถส่งอีเมลล์โต้ตอบกันได้อยู่แล้ว หรือจะแชทคุยกันก็ทำได้ ประเด็นคือเราต้องฉลาดเลือกแต่ละช่องทางให้เข้ากับการงานในแต่ละประเภท เราอย่าคิดว่าเตรียมไว้แค่รูปแบบเดียวก็พอ คำแนะนำคือเราควรมีทั้งอีเมลล์ แชทแบบส่วนตัว วีดีโอคอลแบบเดี่ยวและกลุ่ม
Solution 3: สร้างข้อตกลงในการสื่อสารกันให้ชัด (And then establish “rules of engagement”)
ต่อเนื่องจากเรื่องของช่องทางการสื่อสาร ซึ่งลำพังตัวมันเองค่อนข้างมีความซับซ้อนอยู่แล้ว แต่เราสามารถทำให้ง่ายขึ้นได้โดยการที่ผู้จัดการควรบอกให้ทุกคนในทีมรู้ถึง หนึ่ง ความถี่ที่เหมาะสม สอง ช่วงระยะเวลาที่สะดวก
Solution 4: อย่าหยุดการสื่อสารไว้แค่เรื่องงาน (Provide opportunities for remote social interaction)
Solution 5: ถามสารทุกข์สุขดิบลูกทีมบ้าง (Offer encouragement and emotional support.
สำหรับข้อสุดท้ายนี้เป็นเรื่องของ Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจ ที่คนที่ทำงานในตำแหน่งผู้นำควรจะต้องตระหนักถึงอยู่แล้วในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ทั้งยังมีงานศึกษาวิจัยที่มาสนับสนุนด้วยว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกทีมเจอภาวะวิกฤติเป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะหันเข้าหาคนที่เขาเชื่อว่าเป็นผู้นำซึ่งในกรณีนี้ก็คือผู้จัดการ ซึ่งหากผู้จัดการแสดงถึงความไม่ใส่ใจปัญหาของลูกทีม จะเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะที่เราเรียกว่า “Trickle down effect” หรือการส่งผ่านความรู้สึกเหล่านั้นต่อไปให้กับลูกทีม ผลคือลูกโซ่ของความรู้สึกตรึงเครียดที่จะเกิดขึ้นกับคนในทีม