Search
Close this search box.

Leadership at all Levels ถ้าพนักงานมีภาวะผู้นำ คนรอบตัวก็จะมีภาวะผู้ตาม

HIGHLIGHT

  • Leadership at all Levels หรือแนวคิด “ทุกคนคือผู้นำ” หมายถึงการอธิบายว่าคนที่ต้องมีภาวะผู้นำไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น แต่หมายความว่าพนักงานทุกคนควรมีความเป็นเจ้าของ และรู้สึกอยากยกระดับสิ่งที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่สุด
  • ทักษะที่ Leadership at all Levels ควรมีได้แก่ความรู้สึกมีอำนาจ, ทักษะในการมีส่วนร่วม, ความรับผิดชอบ, ความสามารถในการปรับตัว และการมีพัฒนาการอยู่เสมอ
  • Leadership at all Levels ควรเริ่มจากการฝึกภาวะผู้นำในหลาย ๆ รูปแบบ ได้แก่ภาวะผู้นำเพื่อตัวเอง, ภาวะผู้นำเพื่อคนอื่น และภาวะผู้นำเพื่อองค์กร
  • Leadership at all Levels จะช่วยให้พนักงานตัดสินใจได้ดีขึ้น, ทำให้องค์กรสร้างสรรค์นวัตกรมได้ดีขึ้น, ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่ววมกับงานมากขึ้น, ช่วยให้การหาผู้สืบทอดง่ายขึ้น และทำให้ลูกค้าพอใจยิ่งขึ้น
  • เพื่อให้เกิด Leadership at all Levels องค์กรควรเปิดโอกาสให้พนักงานได้เ็นผู้นำในโปรเจ็กต์เล็ก ๆ ดูบ้าง เพื่อให้เกิดการตัดสินใจในสถานการณ์จริง หรือหากไม่มีดอกาสให้ทำจริง ๆ ก็สามารถสร้างความคุ้นเคยผ่านการอบรมและเวิร์คช็อปก็ได้เช่นกัน

Leadership at all Levels ถ้าพนักงานมีภาวะผู้นำ คนรอบตัวก็จะมีภาวะผู้ตาม

ถ้าถามว่ากระบวนการสร้างผู้นำในปัจจุบันเป็นอย่างไร Deloitte ได้ทำการวิจัยและพบว่าคนยุคมิลเลนเนียลถึง 63% มองว่าตนไม่ได้รับการสอนเรื่องความเป็นผู้นำจากองค์พรมากพอ ขณะเดียวกันก็พบว่าการสร้างผู้นำรุ่นใหม่เป็นความท้าทายสำคัญของเหล่า CEO ถึง 55% จากทั่วโลก 

นี่คือข้อพิสูจน์เบื้องต้นว่าการเรียนรู้เรื่องภาวะผู้นำยังไม่ใช่สิ่งที่แพร่หลายนักกับพนักงานในวงกว้าง ทั้งที่ความรู้เรื่องนี้จะช่วยให้การวางแผนงานในอนาคตง่ายขึ้น อ้างอิงจากการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน (Sustainable Organization) ดังนั้นถ้าคุณอยากยกระดับองค์กรให้ก้าวขึ้นไปอีกขั้น ก็ได้เวลาแล้วที่จะเปลี่ยนพนักงานทุกคนให้กลายเป็นผู้นำระดับย่อม ๆ สักที

Leadership at all Levels คืออะไร มีความสำคัญกับโลกธุรกิจในปัจุจับอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกับเราได้ที่ HREX.asia 

Contents

Leadership at all Levels หมายถึงอะไร ?

Leadership at all Levels หรือแนวคิด “ทุกคนคือผู้นำ” หมายถึงการอธิบายว่าคนที่ต้องมีภาวะผู้นำไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น แต่หมายความว่าพนักงานทุกคนควรมีความเป็นเจ้าของ และรู้สึกอยากยกระดับสิ่งที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่สุดโดยอาศัยภาวะผู้นำ พนักงานต้องสามารถตัดสินใจในเรื่องใหญ่ ๆ ได้และรู้ว่าควรแก้ปัญหาอย่างไรหากเกิดข้อผิดพลาด โดยเราสามารถระบุแง่มุมด้านความเป็นผู้นำที่พนักงานทุกคนต้องมีได้ดังนี้

1. การให้อำนาจ (Empowering) : พนักงานทุกคนต้องรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในชิ้นงานที่กำลังทำอยู่ (Sense of Belonging) ไม่ใช่เอาแต่พึ่งพาคำแนะนำหรือการตัดสินใจของหัวหน้าเท่านั้น

2. ทักษะในการมีส่วนร่วม (Collaboration) : เราต้องทำให้เห็นว่าสมาชิกทุกคนในทีมมีการเตรียมตัวที่ดีพอ เพื่อให้สามารถร่วมงานกับอีกฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี (Communication Skill) ควบคู่กันไปด้วย

3. มีความรับผิดชอบ (Accountability) : พนักงานทุกคนต้องมีความรับผิดชอบในทุกการกระทำของตน และต้องยอมรับผลที่ตามมาเสมอไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม  

4. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) : ในโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญของพนักงานทุกคนคือความสามารถในการปรับตัว พวกเขาต้องรู้ว่าตนขาดทักษะด้านใดอยู่ และหาทางเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความสามารถ การปรับตัวที่ดียังหมายถึงการรับฟังผู้อื่นและนำมาปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

5. มีพัฒนาการเสมอ (Development) : พนักงานต้องเรียนรู้เสมอตามแนวคิดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ความเป็นผู้นำในวันนี้ไม่ได้แปลว่าจะเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต ดังนั้นเราต้องรู้ว่าภาวะผู้นำที่ภาคธุรกิจต้องการในแต่ละช่วงเวลาเป็นอย่างไร ละพัฒนาตัวเองให้มีทักษะเพียงพอกับสถานการณ์นั้น ๆ

แนวคิด Leadership at all Levels เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการให้พนักงานทุกคนกล้าลุกขึ้นมาพัฒนาตัวเอง และมีความมั่นใจในความคิดเห็นของตน ผ่านระบวนกระบวนการพิจารณา โดยเอาผลประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ตั้ง นี่คือกลไกที่บริษัทชั้นนำของโลกมี เพราะเมื่อทุกคนมีภาวะผู้นำแล้ว องค์กรก็จะประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าเดิม

Leadership at all Levels ควรให้ความสำคัญกับการนำเรื่องอะไรบ้าง ?

การมีแนวคิดของผู้นำนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะพนักงานบางคนไม่มีทักษะของความเป็นผู้นำอยู่เลย ตั้งใจแค่มาทำงานตามที่ได้รับมอบหมายไปวัน ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีพนักงานที่มีทักษะความเป็นผู้นำเต็มเปี่ยม แต่ไม่ได้รู้สึกว่าอยากเป็นผู้นำใครเลยสักนิด  

ดังนั้นแทนที่เราจะคาดหวังให้พนักงานทุกคนมีความเป็นเจ้าของกับทุกโปรเจ็กต์ที่ทำอยู่  เราควรแบ่งรูปแบบของภาวะผู้นำออกเป็นหลาย ๆ ประเภท เพื่อให้พนักงานได้ฝึกเรียนรู้ทักษะตามความสบายใจของแต่ละคนแบบทีละขั้น โดยเราสามารถแบ่งภาวะผู้นำออกได้เป็น 3 รูปแบบหลักดังต่อไปนี้

การมีภาวะผู้นำเพื่อตัวเอง (Leading The Self)

นี่คือการนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ส่วนตัว (Personal Emotional Awareness) ความผู้นำในเรื่องนี้คือการพิจารณาสิ่งที่ทำอยู่โดยเอาความรู้สึกของตนเองเป็นที่ตั้ง มีความรักตัวเอง และตระหนักเสมอว่าแม้เราจะมีหน้าที่ทำให้เป้าหมายขององค์กรสัมฤทธิ์ผล แต่เราก็จะสูญเสียความเป็นตัวเองไปไม่ได้เด็ดขาด

ต้องคิดว่าการทำงานคือสิ่งที่กำหนดคุณค่าของชีวิต เนื่องจากเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันอยู่กับการศึกษาเรียนรู้เรื่องนี้เป็นหลัก ดังนั้นยิ่งเราจริงใจกับตัวเองและตัดสินใจทำเรื่องต่าง ๆ ด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบ เราก็จะมีรากฐานที่แข็งแรงมากพอในการก้าวไปนำในเรื่องที่ใหญ่ขึ้น

มีภาวะผู้นำเพื่อคนอื่น (Leading the Others)

หลังจากที่เราคิดถึงเรื่องตัวเองและจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้นแล้ว เราก็ต้องยกระดับการเป็นผู้นำด้วยการคิดถึงเรื่องของผู้อื่นมากขึ้น เราต้องกล้าทิ้งความคิดบางอย่างของตัวเองหากรู้สึกว่าความเห็นของคนรอบข้างมีประสิทธิภาพมากกว่า 

การรู้จักรับฟังและตัดสินใจเกี่ยวกับความคิดเห็นของคนอื่นโดยใช้องค์ความรู้ของเราเอง คือจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำในระดับที่ใหญ่ขึ้น ตรงจุดนี้บุคลากรควรมีความรู้มากพอ เพื่อให้การแนะนำคนอื่น อ้างอิงอยู่บนความถูกต้อง เราต้องใช้ชุดข้อมูลเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่แนะนำตามอารมณ์ความรู้สึกซึ่งไม่สามารถการันตีผลลัพธ์อะไรได้เลย

มีภาวะผู้นำเพื่อองค์กร (Leading the Organization)

นี่คือภาวะผู้นำในจุดที่สูงที่สุด (Senior Level) คือเราต้องมีภาวะผู้นำเพื่อตัวเองและเพื่อคนรอบข้างอย่างดีก่อน จึงจะสามารถตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้ได้ เราต้องรู้จักศึกษาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ความคิดของเราคมที่สุด

Leadership at all Levels มีประโยชน์กับการทำงานอย่างไร ?

เราได้ยินประโยชน์ของการมีผู้นำที่ดีมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่เราลืมนึกไปไหมว่าหากทุกคนมีความเป็นผู้นำพร้อม ๆ กันหมด สามารถร่วมงานกับแต่ละฝ่ายได้อย่างคล่องตัวทั้งหมด ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรจะสูงขึ้นเป็นทวีคูณไปอีกกี่เท่า ดังนั้นเราขออธิบายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าการมีผู้นำอยู่ในทุกองค์ประกอบมีประโยชน์อย่างไร

ช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้น (Improve Decision Making)

เมื่อพนักงานทุกคนมีความผู้นำแล้วพวกเขาก็จะหาข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลของตนเองอย่างดีที่สุดช่วยให้การตัดสินใจมีความจริงจังมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็ผ่านการพิจารณาอย่างดี ไม่มีการใช้เหตุผลแบบขอไปทีหรือขาดความรับผิดชอบแน่นอน

เสริมสร้างนวัตกรรม (Enhance Information)

ความเป็นผู้นำทำให้พนักงานทุกคนอยากให้องค์กรก้าวไปอยู่ในจุดที่แข็งแรงขึ้น จะมีการนำไอเดียและวิธีแก้ปัญหา (Solution) มาแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา การพูดคุยด้วยเหตุและผลที่มากเป็นพิเศษจะนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ได้ดีกว่าองค์กรที่ทำงานด้วยความคิดแบบเดิมตลอดมา

เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Increase Employee Engagement)

เมื่อพนักงานรู้สึกว่าตนมีคุณค่าและได้รับความไว้วางใจจากองค์กรในการเป็นผู้นำ พวกเขาก็จะรู้สึกภูมิใจ อยากมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานและการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรมากกว่าเดิม (Cultural Alignment)

ช่วยให้การสานต่อตำแหน่งมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (Succession Planning) 

เมื่อพนักงานมีความเข้าใจเรื่องภาวะผู้นำดีอยู่แล้ว การเลื่อนตำแหน่งพวกเขามาเป็นหัวหน้าอย่างเป็นทางการก็ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องเสียงบประมาณมาจัดอบรมตั้งแต่กลไกขั้นพื้นฐาน กล่าวได้ว่ากระบวนการเปลี่ยนผ่านจะคล่องตัวขึ้น (Smooth Transition)

ช่วยสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า (Customer Satisfaction) 

อย่างที่กล่าวไปว่าความเป็นผู้นำมักมาพร้อมกับความเป็นเจ้าของ ซึ่งทักษะตรงนี้จะทำให้เรามองธุรกิจแบบรอบด้านขึ้น และความพอใจของลูกค้าก็นับเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ เสมอ ดังนั้นยิ่งมีภาวะผู้นำ ก็ยิ่งทำให้ลูกค้ามีความสุข

กล่าวโดยสรุปคือองค์กรที่ทุกคนมีความเป็นผู้นำจะช่วยให้พนักงานปรับตัวให้ดีขึ้น มีนวัตกรรมที่ดีขึ้น  ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้มากกว่าองค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เลย

Leadership at all Levels สร้างได้อย่างไร ?

ในฐานะของ HR นั้น เรามีหน้าที่มองหากลยุทธ์เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความเข้าใจเรื่องภาวะผู้นำมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องทำแบบหุนหันพลันแล่น แต่สามารถเริ่มจากจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเพิ่มสิทธิ์และโอกาสในการตัดสินใจจนเริ่มคุ้นเคย

ขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจว่าการตัดสินใจของพนักงานอาจเกิดข้อผิดพลาด หากเราด่วนตัดสินว่าคนนั้นไม่มีศักยภาพ พนักงานก็จะไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องอื่นอีกจนยุติการพัฒนาภาวะผู้นำไปโดยปริยาย  ดังนั้นฝ่ายบุคคลต้องมีความอดทน จนกว่าพนักงานจะเริ่มเดินไปบนทิศทางที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

เราสามารถสร้างภาวะผู้นำให้กับพนักงานทุกระดับได้โดยวิธีการเหล่านี้

HR ต้องช่วยให้พนักงานเห็นภาพรวมของการทำงานมากขึ้น (Bigger Purpose)

ผู้นำในระดับผู้บริหารควรทำให้พนักงานเห็นว่าองค์กรมีเป้าหมายใหญ่ที่สุดอย่างไร และพยายามอธิบายให้พนักงานเห็นว่าความตั้งใจของพวกเขามีความสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนั้น  พนักงานทุกคนมีคุณค่าและองค์กรจะเติบโตได้ดีขึ้นหากทุกคนทำงานอย่างตั้งใจ นี่คือแนวคิดเดียวกันกับการสร้างความเป็นเจ้าของ

เมื่อพนักงานมองเห็นเป้าหมายที่ใหญ่กว่า พนักงานก็จะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มีส่วนร่วมกับงานมากขึ้น และเมื่อเป้าหมาย ประสบความสำเร็จ พนักงานก็จะมีแรงบันดาลใจ (Motivation) ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา ขณะเดียวกันการตัดสินใจที่เคยได้ผลไปแล้ว ก็จะกลายเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้พวกเขารับมือกับสถานการณ์ยาก ๆ ได้ง่ายขึ้นในอนาคต

HR ต้องสอนให้พนักงานเชื่อมั่นในตัวเองและเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมทีม (Trust Yourself and Your Team Members)

ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากความเชื่อ ถ้าพนักงานเชื่อว่าตนสามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ พวกเขาก็จะทำได้ ! ดังนั้นหากหัวหน้าแสดงความเชื่อมั่นอย่างจริงใจว่าการมอบหมายงานต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะเชื่อมั่นในฝีมือ  พนักงานก็จะรู้สึกว่าตนมีคุณค่า ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อตอบสนองความไว้วางใจ

อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากความเชื่อมั่นแล้ว องค์กรก็ต้องวางรากฐานในการพัฒนาตัวเองให้พนักงานด้วย เช่นการจัดอบรมหรือการไม่ขัด หากมีการตัดสินใจจากพนักงานที่ขัดแย้งกับมุมมองของเรา ให้รอดูก่อนว่าการตัดสินใจของพนักงานนำพาความสำเร็จมาให้หรือไม่ หากทำได้จริง ก็ให้ชื่นชมอย่างเต็มที่ แต่หากทำไม่ได้ก็ให้ช่วยกันแก้ปัญหาและสอนอย่างถูกวิธี เพื่อให้พวกเขายังกล้าตัดสินใจในโอกาสต่อไป

เปิดโอกาสให้พนักงานได้ลองเป็นผู้นำดูบ้าง (Offer Opportunities to Lead)

พนักงานจะไม่มีการยกระดับมาเป็นผู้นำได้เลยหากไม่เคยตัดสินใจในสถานการณ์จริง ดังนั้นองค์กรควรมอบโอกาสเหล่านี้รู้บ้างโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ก็ได้ เช่นเปิดโอกาสให้พนักงานระดับกลางลองบริหารทีมขนาดเล็กลงมา เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาบางอย่างโดยสามารถเริ่มจากการเวิร์คช็อปได้เช่นกัน

วิธีการนี้จะช่วยให้พนักงานรู้ว่าการตัดสินใจไหนที่ได้ผลการ ตัดสินใจอันไหนที่ไม่ได้ผล  จนเมื่อมีโอกาสตัดสินใจในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น มุมมองของพวกเขาจะมีความเฉียบคมมากกว่าเดิม

HR ต้องยกระดับการสื่อสารภายในองค์กร (Develop Great Communication)

เวลาพูดถึงการยกระดับการสื่อสารที่ดี เรามักมองไปถึงการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและคนในระดับรองลงมา แต่ความจริงแล้วการสื่อสารในชีวิตประจำวันระหว่างคนในทีมก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยให้เรารู้จักกันมากขึ้น รู้ว่าแต่ละคนคิดเห็นอย่างไร แล้วรู้ว่ากระบวนการทำงานตามรูปแบบของแต่ละคนเป็นอย่างไร 

ในความจริงแล้วพนักงานแต่ละคนมีมุมมองและความสามารถพิเศษต่างกัน ยิ่งเราพูดคุยกันมากขึ้น ได้รู้จักกันในเชิงลึกมากขึ้น เราก็จะได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ ได้รู้ว่าความคิดของคนในระดับล่างกว่าและสูงกว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่แรงบันดาลใจบางอย่างให้เรากลายเป็นคนที่เก่งขึ้น

HR ต้องกระตุ้นให้พนักงานได้คิดค้นอะไรใหม่ ๆ (Courage and Innovation)

ไม่ว่าเราจะเป็นผู้นำแบบไหน หรือมีเป้าหมายขององค์กรอย่างไร สิ่งที่จะลืมไปไม่ได้ก็คือการสอนให้พนักงานกล้าคิดนอกกรอบ อย่าเอาความคิดเห็นของตัวเองเป็นที่ตั้งตราบใดที่มุมมองของพนักงานไม่ได้ส่งผลเสียต่อองค์กร

เราต้องทำให้พนักงานเห็นว่าแม้แต่แนวคิดที่ดูไร้สาระสุด ๆ เราก็จะพิจารณาถึงเรื่องนั้นอย่างจริงจัง และนำไปบูรณาการต่อว่าจะใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ในที่นี้การคิดโดยปราศความเครียดโดยเชื่อว่าองค์กรพร้อมยืดหยุ่นให้กับแนวคิดของพวกเขาเสมอ (Flexability) คือสิ่งที่จะช่วยให้ภาวะผู้นำค่อย ๆ เติบโตอย่างแข็งแรง

การอบรมภาวะผู้นำ (Leadership Courses) สำคัญกับการวางแผนอนาคตองค์กรอย่างไร ?

การวิจัยเรื่อง Leadership Training Design, Delivery and Implementation โดย Journal of Applied Psychology กล่าวว่าการเสริมสร้างทักษะผู้นำจะช่วยให้เรามีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 25% แลช่วยให้งานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นราว 20% โดยการฝึกภาวะผู้นำที่ดีต้องไม่จำกัดแค่การเรียนรู้เชิงทฤษฎี แต่ต้องทำให้เห็นด้วยว่าข้อมูลเหล่านั้นจะนำไปประยุคใช้ในการทำงานจริงอย่างไร

ดังนั้น HR ในปัจจุบันจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของท้องตลาด และพิจารณาว่าการอบรมแบบไหนที่เหมาะกับระดับของบุคลากรมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องเลือกแต่หลักสูตรราคาแพงเท่านั้น และท้ายสุดคือ HR ก็ต้องรู้จักหาความรู้ให้ตัวเองด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นก็จะสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ไปอย่างน่าเสียดาย

และหากคุณกำลังมองหาการอบรมดี ๆ อยู่ เราขอแนะนำให้เลือกผ่าน HR Products & Services แพลตฟอร์มที่รวบรวมบริการและผลิตภัณฑ์ HR ไว้มากที่สุดในเมืองไทย ไม่ว่าคุณจะทำงานตำแหน่งไหน ในภาคธุรกิจแบบใด ก็ใช้งานได้ไม่มีข้อจำกัดและผูกมัดใด ๆ แน่นอน

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q&A HR Board

Q: ภาวะผู้นำหมายถึงอะไร

หากต้องการพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร จะพัฒนาด้านใด รูปแบบใด ตามแนวคิดหรือทฤษฎีของใคร

A: ภาวะผู้นำ หรือ leadership skills เป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการของทุกองค์กร 

การสร้างภาวะผู้นำ นั้น ไม่มีทฤษฎีของใครที่ชัดเจนว่าเป็นที่นิยม แต่ละองค์กรที่ประสบความสำเร็จต่างมีการผสมผสานของภาวะผู้นำที่แตกต่างกันไป แต่โดยหลักๆแล้ว ภาวะผู้นำ ก็คือ ทักษะจำเป็นข้างต้นที่ประกอบกันแล้วทำให้บุคคลผู้หนึ่งสามารถพาทีมหรือผู้อื่นในองค์กร (leading others) ไปสู่เป้าหมายขององค์กร (business goals) หรือไปสู่พฤติกรรมที่ต้องการ (desirable behaviors) ได้

,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

บทสรุป

การสร้างภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่ต้องทำทันที ยิ่งกับสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง หากเราเอาแต่รอให้พนักงานพร้อมหรือคุ้มค่ากับการลงทุน (Worthy of Investment) เราก็จะไม่มีวันได้พนักงานที่แข็งแกร่งมากพอในวันที่ต้องการ ทั้งนี้เราสามารถเริ่มจากเนื้องานเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมของการเป็นผู้นำ (Leadership Culture) ภายในองค์กร เพื่อใช้เป็นรากฐานในการก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำในบริบทที่ใหญ่ขึ้น

Leadership at all Levels จะช่วยลดภาระของ HR ด้วย เพราะเมื่อพนักงานมีความเป็นผู้นำแล้ว พนักงานก็จะมีความรับผิดชอบ ไม่ประพฤติตนให้ขัดแย้งกับแนวทางขององค์กร เพราะรู้สึกว่าต้องเป็นแบบอย่างให้กับคนอื่น (Lead by Example) ซึ่งพอทุกคนมีทัศนคติในแง่บวกแบบนี้ เราก็จะก้าวนำคู่แข่งและประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้แน่นอน

CTA HR Products & Services

Sources

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง