HIGHLIGHT
|
People Analytics คือ การนำข้อมูลต่างๆของพนักงานในบริษัทมาวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับพนักงานของพวกเขา ซึ่งส่งผลให้องค์กรสามารถจัดการและตัดสินใจว่าจะพาธุรกิจไปในทิศทางไหน และปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้ รวมไปถึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจลาออก เพิ่ม Employee Engagement
โดยข้อมูล (Data) ที่จะนำใช้ในการวิเคราะห์นั้น จะเป็นข้อมูลที่มีองค์กรมีการจัดเก็บไว้แล้ว อย่าง ประวัติพนักงาน โครงสร้างองค์กร หรือจะเป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้เว็บไซต์ เป็นต้น
ครั้งนี้เราจึงได้นำตัวอย่าง การใช้ People Analytics ในต่างประเทศมาฝากทุกคนกัน
Contents
ให้พนักงานติดเข็มกลัดที่มีอุปกรณ์เซ็นเซอร์ เพื่อ People Analytics
โดยวิธีการใช้คือ มีการกำหนดระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่ง และให้พนักงานสวมใส่การ์ดหรือเข็มกลัดที่มีเซ็นเซอร์ติดอยู่ เพื่อเก็บข้อมูลจากพวกเขา เช่น ตอนนี้พนักงานกำลังอยู่ที่ไหน เวลาพักเที่ยงทำอะไร คุยกับใคร ความเร็วในการพูดเป็นอย่างไร เป็นต้น และนำมาจัดเก็บเป็น Big Data วิเคราะห์แยกตามประเภทต่อไป
นอกจากนี้ยังสามารถวิเคราะห์ได้ว่า พนักงานที่มีผลการปฎิบัติงานดี มีพฤติกรรมอย่างไร และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปวางแผนหาแนวทางพัฒนาองค์กร โดยมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับพนักงานก่อน เพื่อให้แนวทางเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
Ben Waber นักวิจัยจาก Media lab ของMIT ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัทพัฒนา HRTECH และบริการให้คำปรึกษา Humanyze ได้บอกว่า บริษัทของเขาได้ลองนำ เข็มกลัด Sociometric มาปรับใช้กับ People Analytics
ตัวเข็มกลัด Sociometric ตัวนี้จะมีเซ็นเซอร์ขนาดประมาณเท่าไพ่ ติดตั้งอยู่ โดยสามารถบันทึกสัญญาณได้หลากหลาย เช่น รังสีอินฟาเรด เสียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอัลกอริทึมสำหรับการวิเคราะห์ติดตั้งอยู่ภายใน และสามารถบันทึกข้อมูลพฤติกรรมในระยะเวลาหนึ่งปีได้
โดยผลที่ได้จากเข็มกลัดนี้ มีดังต่อไปนี้
- แนวโน้มของการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและนอกองค์กรเป็นอย่างไร
- เวลาไหนที่พนักงานรู้สึกเครียดได้ง่าย
- การพูดคุยกันในช่วงพักกลางวันมีผลต่อการทำงานหรือไม่
- ความแตกต่างของขนาดและการจัดโต๊ะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
- ข้อแตกต่างระหว่างทีมที่มีผลการทำงานดีกับทีมที่ไม่เป็นแบบนั้นคืออะไร
ที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้นคือตัวอย่างแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งผลที่ได้เหล่านี้จะไปช่วยเสริมให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นกลางมากขึ้นและปราศจากอคติ สามารถคิดหาแนวทางในการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการทำงานให้ดีขึ้นได้
หลายๆ คนคงมีความกังวลว่ามันจะเป็นการละเมิดสิทธิของพนักงานเกินไปหรือเปล่า และผลจากการวิเคราะห์จะส่งกับการประเมินคุณภาพพนักงานหรือไม่
ดังนั้นศาสตราจารณ์ Sandy ของ Media lab, MIT จึงได้อธิบายถึงวิธีการจัดการกับข้อมูลและสิทธิส่วนบุคคลไว้ดังนี้
- ก่อนการเก็บข้อมูลจะต้องได้รับความยินยอมจากพนักงาน โดยมีการอธิบายอย่างละเอียด
- พนักงานมีสิทธ์ในข้อมูลของตนเองอย่างเต็มที่ หากไม่เห็นด้วยก็สามารถปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้
- การให้ข้อมูลแก่บุคคลที่สามนั้น จะให้เพียงแค่ข้อมูลโดยรวมเท่านั้น จะไม่ให้ข้อมูลที่ระบุตัวตน เจาะจงรายบุคคลมากเกินไป
ถ้าหากมีการแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนตรวจสอบได้ และน่าเชื่อถือ เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิส่วนบุคคลลงไปได้
องค์กรที่นำ People Analytics มาปรับใช้
ตัวอย่าง People Analytics จากบริษัท Call Center
ธรรมเนียมในการทำงานของ Call Center คือ “ห้ามกระซิบ” หรือ “พยายามอย่าให้มีช่องว่างระหว่างกะเกิดขึ้น”
ในบริษัท Call Center แห่งหนึ่งได้ให้พนักงานประมาณ 80 คนใส่เซ็นเซอร์เพื่อคอยวิเคราะห์เอาไว้ ตลอดเวลาประมาณ 1 เดือน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์คือ แทนที่จะให้พนักงานคอยสลับกันทำตามกะโดยไม่ให้มีช่องว่างหรือเวลาพักเลย เปลี่ยนเป็นให้พนักงานทุกคนได้หยุดพักกลางวันพร้อมกัน จะเกิดข้อดีมากกว่า
และจากการที่ให้แต่ละทีมได้มีเวลาพักทานกาแฟ 15 นาที พบว่า ทำให้พนักงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน และทุกคนได้ลองนำความคิดเห็นที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือสามารถลดค่าใช้จ่ายในช่วงหนึ่งปีนั้นไปได้มากกว่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
ตัวอย่าง People Analytics จาก Google
อีกหนึ่งตัวอย่างมาจาก Google
บรรยากาศในการทำงานของ Google ก่อนที่จะนำ People Analytics เข้ามาปรับใช้นั้นคือ จะให้นั่งทำงานอยู่ในพื้นที่กว้างๆ และพนักงานมักจะนั่งจับกลุ่มกันเป็นหย่อมๆ
จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ต่อให้พื้นที่ในการทำงานแคบลง การให้พนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกัน หรือต้องคอยประสานงานกันตลอด นั่งทำงานร่วมกันจะได้ผลที่ดีกว่ามาก
เพราะการให้ผู้เกี่ยวข้องนั่งทำงานร่วมกัน ทำให้การสื่อสารภายในองค์กรดีขึ้น Productivity ของพนักงานก็ดีขึ้น ผลงานที่ได้ก็มีมากขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีผลลัพธ์จาก วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นอีก 10% ด้วยการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน หรืออีกผลลัพธ์หนึ่งคือ ยิ่งพนักงานได้พูดคุยกับผู้มีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบงานมากขึ้นเท่าไหร่ งานที่ได้รับมอบหมายก็จะใช้เวลาทำน้อยลง เสร็จไวขึ้นเท่านั้น และจากผลลัพธ์ที่ได้กล่าวมา ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของการสื่อสารกันภายในองค์กรว่า มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นอย่างยิ่ง
บทสรุป
ไม่กี่ปีมานี้ ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกก็ได้เริ่มนำ People Analytics เข้ามาปรับใช้กับการทำงานมากขึ้น Google หรือ Facebook เอง ก็มีการจัดตั้งแผนกพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้าน People Analytics โดยเฉพาะ
สำหรับประเทศไทย ถึงแม้ People Analytics อาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่เชื่อได้ว่า ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าหรืออาจภายในปีนี้ เราคงได้เห็นหลายๆ องค์กรนำ People Analytics เข้าไปปรับใช้กับการทำงานเพิ่มมากขึ้น