การออกแบบสวัสดิการพนักงานที่ดี คือ อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ธุรกิจใช้ในการดึงดูด Talent เข้ามาทำง่ายด้วย โดยจากสำรวจ มีคนกว่า 60% ที่ตอบว่า พวกเขาสวัสดิการพนักงานคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เข้าตัดสินสมัครหรือไม่สมัครเข้าทำงานกับที่ใดที่หนึ่ง และมีพนักงานอีกมากถึง 78% ที่ตอบแบบสอบถามว่า พวกเขาทำงานอยู่ในองค์กรเดิม นั่นก็เป็นเพราะว่า องค์กรมีสวัสดิการที่ตอบโจทย์เขา
จากข้อมูลข้างต้น เราอาจสรุปความสำคัญของแผนสวัสดิการพนักงานที่ดีได้ 2 ข้อสำคัญ ได้แก่ 1) สวัสดิการที่ดีช่วยดึงดูดพนักงานใหม่ ๆ และ 2) สวัสดิการที่ดีช่วยให้คนทำงานอยู่ในองค์กรได้นานขึ้น
แล้วถ้าบริษัทหรือองค์กรของคุณอยากดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ ไฟแรง มาทำงานด้วย สวัสดิการพนักงานแบบไหนกันบ้าง ที่จะถูกตาต้องใจพวกเขา
สวัสดิการพนักงานแบบไหนที่ตอบโจทย์ ‘คนรุ่นใหม่’
เมื่อนิยามถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ก้าวเข้ามาสู่โลกของการทำงาน ก็จะได้แก่ กลุ่มมิลเลนเนียลหรือ Gen Y (1981 – 1995) ตอนปลาย มาจนถึงกลุ่มคน Gen Z (1996 – 2012) ซึ่งจากบริบทสังคมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้วิถีชีวิต พฤติกรรม และความต้องการแตกต่างไปจากคนในเจนเนอเรชันอื่น ๆ
คนเจน Y ขึ้นชื่อเรื่องของความยืดหยุ่น ปรับตัวเก่ง มีความคิดสร้างสรรค์ มักหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ จากทักษะและเทคโนโลยี และในยุคที่คนเจน Y เข้าทำงาน ก็เกิดบริษัทเทคสตาร์ตอัป (Tech Startup) ขึ้นมากมาย ส่วนคนเจน Z คือ กลุ่มคนที่เติบโตขึ้นมากับเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ตามที่เราจะเห็นว่า คนเจน Z คือ กลุ่มคนที่ครองพื้นที่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและไลฟ์สตรีมมิ่ง พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้า ให้ความสำคัญกับประเด็นสังคมและความเท่าเทียม อีกทั้ง ยังมีความกล้าลุกขึ้นมาแสดงความคิดเห็น
จากคุณลักษณะต่าง ๆ ของกลุ่ม “คนรุ่นใหม่” จึงทำให้พวกเขาเป็นที่ต้องการของตลาดงาน หลายบริษัทต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาขับเคลื่อนองค์กร อย่างไรก็ตาม รูปแบบการทำงานแบบเดิม ๆ หรือแม้กระทั่งสวัสดิการของบริษัทที่เคยมี อาจไม่ตอบโจทย์หรือน่าดึงดูดมากพอที่จะดึงให้คนรุ่นใหม่อยากมาทำงานด้วย
แล้วคนรุ่นใหม่ พวกเขาต้องการอะไรและชอบรูปแบบการทำงานแบบไหน?
คนรุ่นใหม่ต้องการอะไรจากการทำงาน/ที่ทำงาน
- ความยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น ตารางการทำงานที่ยืดหยุ่น เวลาเข้างานที่ยืดหยุ่น หรือการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) หรือการทำงานทางไกล (Remote Working)
- Work-life balance สมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต การงานที่ดีต้องสนับสนุนให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตที่อยากใช้หรืออย่างน้อยไม่กินเวลาหรือขัดขวางให้พวกเขาไม่ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ รูปแบบการทำงานอย่าง Work Form Home หรือ Workation จึงเป็นหนึ่งปัจจัยที่พวกเขาสนใจ
- โอกาสในการก้าวหน้าทางสายอาชีพและความมั่นคง เพราะพวกเขาเติบโตขึ้นมากับความผันผวนของโลกและเศรษฐกิจ ตลอดจนวิกฤติโควิด-19 ที่ทำให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน
- ความหลากหลายและสิทธิมนุษยชน กล่าวได้ว่า คนเจน Y ตอนปลายและ Gen Z เติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมที่ได้รับการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายกันมากขึ้น นี่จึงเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญ ทั้งความเท่าเทียมทางเพศ ความไม่รู้สึกแปลกแยกจากเพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศ ต้องการการความเคารพอย่างเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ มากกว่าตำแหน่งและวัยวุฒิ
- วัฒนธรรมการทำงานสมัยใหม่ ตลอดจนกระบวนการรับสมัครงานที่เป็นปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ง่ายดายยิ่งขึ้น พวกเขาไม่เข้าใจระบบการทำงานที่มีขั้นตอนซับซ้อนและไม่จำเป็น ในเมื่อมีเทคโนโลยีที่ช่วยทำทุกอย่างให้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ วัฒนธรรมการทำงานที่ซับซ้อนยังสะท้อนให้ภาพลักษณ์องค์กรดูล้าสมัยในสายตาพวกเขา
สวัสดิการแบบไหนที่ “คนรุ่นใหม่” มองหา
รายงาน 2022 Employee Benefits Survey Report จาก PeopleKeep ได้ทำสำรวจความคิดเห็นสวัสดิการที่พวกเขาต้องการ โดยกลุ่มคน Gen Z (รวมถึง Gen Y ก็มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน – ผู้เขียนบทความ) ต้องการสวัสดิการดังต่อไปนี้
- สวัสดิการสุขภาพ
- สิทธิวันลาหยุดและลาป่วย
- ประกันทันตกรรม (Dental insurance)
- ประกันจักษุ (Vision insurance)
- ตารางเวลางานที่ยืดหยุ่น
- สวัสดิการเมื่อเกษียณ
- สวัสดิการสุขภาพจิต
และนอกจากสำรวจสวัสดิการจากฝั่งอเมริกาแล้ว ในไทยก็มีผลสำรวจจาก JobThai ที่สรุปสวัสดิการที่คนทำงานต้องการ 10 อันดับแรก ได้แก่
- โบนัส
- วันหยุด-วันลาตามกฎหมาย
- ประกันสังคม
- ประกันสุขภาพ
- ค่าล่วงเวลา
- เงินออมพิเศษ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวของพนักงาน
- เวลาทำงานที่ยืดหยุ่นได้ (Flexible Hour)
- ประกันชีวิต
- เบี้ยขยัน
สวัสดิการพนักงานจากสำรวจเหล่านี้ องค์กรหรือบริษัทของคุณอาจนำไปพิจารณาออกแบบแผนสวัสดิการพนักงานที่ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้
สวัสดิการสุขภาพ สวัสดิการสำคัญที่คนรุ่นใหม่มองหา
เมื่อดูจากสำรวจสวัสดิการบริษัทที่คนรุ่นใหม่ต้องการแล้ว จะเห็นได้ว่า มีสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพอยู่หลายข้อด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการสุขภาพทั่วไป เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ สวัสดิการสุขภาพจิต ฯลฯ จึงสรุปได้ว่า คนรุ่นใหม่เองก็ต้องการความมั่นคงเรื่องสุขภาพ ซึ่งสิ่งที่บริษัทสามารถทำได้ก่อน คือ การส่งเสริมสุขภาพหรือช่วยให้พนักงานมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง
แล้วองค์กรจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพหรือดูแลสุขภาพพนักงานอย่างไรได้บ้าง?
บริษัทรุ่นใหม่หลายแห่ง นอกจากจะมีสวัสดิการสุขภาพพื้นฐาน เช่น ประกันสุขภาพ วันลาป่วย แพ็กเกจตรวจสุขภาพ ฯลฯ แล้ว ยังมีสวัสดิการเพิ่มเติมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เช่น ค่าดูแลหรือไปพบจิตแพทย์/นักจิตวิทยา โรงอาหารเพื่อสุขภาพ หรือการนำโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานเข้ามาใช้ ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน SAKID
SAKID คือ นวัตกรรมดูแลสุขภาพพนักงานผ่านแอปพลิเคชันที่นำ “ทฤษฎีสะกิด (Nudge Theory)” เข้ามาใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่การดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นแบบองค์รวม ได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ และสังคม
หลักการทำงานของ SAKID จะเป็นการออกแบบรูปแบบการดูแลสุขภาพสำหรับพนักงานแต่ละคน โดยระบบจะประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ จากแบบสอบถามสุขภาพ อารมณ์ และความรู้สึกในแต่ละวัน โดยระบบจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดโปรแกรมดูแลสุขภาพแบบรายบุคคลด้วยการมอบภารกิจดูแลสุขภาพให้กับแต่ละคน เช่น ภารกิจกินอาหารสุขภาพ ภารกิจแข่งเดินเกินหมื่นก้าว และภารกิจอีกว่า 1000+ กิจกรรม
นอกจากนี้ พนักงานยังสามารถรับคำปรึกษากับนักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตวิทยาในการดูแลตัวเองได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการ
SAKID ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับพนักงานในบริษัทมาแล้วมากกว่า 1,000 คน
- ช่วยกระตุ้นในพนักงานกว่า 500 คน ลดน้ำหนักเฉลี่ยลงได้ถึง 2.5 กิโลกรัม ใน 3 เดือน
- ช่วยกระตุ้นให้พนักงานกว่า 72% (จาก 400 คน) ลดรอบเอวได้เฉลี่ย 2.9 เซนติเมตร
- ช่วยกระตุ้นให้พนักงานเดินมากขึ้นจากเดิมมากถึง +169% (เพิ่มจาก 3,193 ก้าวในเดือนแรก เป็น 6,409 ก้าวในเดือนที่สาม)*
ไม่น่าเชื่อว่า ด้วยหลักการ “สะกิด” กระตุ้นให้พนักงานเริ่มดูแลตัวเองที่ละนิด จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนได้ นอกจากโปรแกรมช่วยดูแลสุขภาพพนักงานจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับพนักงานได้แล้ว เมื่อพนักงานมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี ห่างไกลจากโรคภัย พวกเขาก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6 ขั้นตอนออกแบบแผนสวัสดิการพนักงานสำหรับองค์กร
ขั้นตอนที่ 1: ตั้งเป้าหมาย
ทำ Outline จุดประสงค์/เป้าหมายในการออกแบบสวัสดิการพนักงานว่าอยากได้ผลลัพธ์อย่างไร เช่น ต้องการดึงดูดกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ ต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทดูทันสมัย ต้องการรักษาให้พนักงานอยู่ในองค์กรนาน ๆ ฯลฯ
ลองทำรายการสวัสดิการที่น่าจะมีหรือควรจะมีออกมา อีกทั้งเป็นสวัสดิการที่สอดคล้องกับเป้าหมาย โดยองค์กรอาจทบทวนด้วยคำถามต่อไปนี้
- เหตุผลสำคัญในการออกแบบสวัสดิการพนักงานคืออะไร
- มีส่วนไหนที่องค์กรควรสนับสนุนพนักงานบ้าง สุขภาพ ครอบครัว ความบันเทิง?
- องค์กรจะช่วยส่งเสริมสุขภาวะอย่างรอบด้านให้กับพนักงานด้วยวิธีไหนบ้าง
- มีสวัสดิการไหนหรืออะไรที่มองข้ามไปหรือเปล่า
ขั้นตอนที่ 2: ตั้งงบประมาณ
ประเมินว่า ควรจะใช้งบประมาณเท่าไหร่ในการทำแผนสวัสดิการพนักงาน โดยอาศัย 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความจำเป็น เช่น ข้อกำหนดทางกฎหมาย วัตถุประสงค์ที่จะออกแบบสวัสดิการ และ 2) รายได้และแนวโน้มการเติบโตของบริษัท
- กรณีเป็นบริษัทที่มีสวัสดิการอยู่ก่อนแล้ว อาจตั้งต้นเริ่มจากงบประมาณเดิม และลองออกแบบใหม่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
- กรณีที่ยังไม่เคยมีสวัสดิการมาก่อน แนะนำให้ศึกษาสวัสดิการพนักงานขั้นพื้นฐานหรือตามที่กฎหมายระบุว่าต้องมี จากนั้น จะค่อย ๆ เพิ่มเติมสวัสดิการตามที่สมควรที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3: ทำแบบสำรวจความต้องการ
ลองทำแบบสอบถามง่าย ๆ เพื่อออกแบบสำรวจความต้องการหรือขอความคิดเห็นจากบริษัท
- กรณีมีสวัสดิการอยู่แล้ว
- สวัสดิการแบบไหนที่พนักงานต้องการ
- มีสวัสดิการหรือเรื่องไหนที่พนักงานอยากให้ปรับปรุงให้ดีขึ้นบ้าง
- มีสวัสดิการไหนที่พนักงานมองว่า ในอนาคตควรจะมี
- ประเมินการใช้สิทธิ/สวัสดิการที่เคยมี ว่ามีอัตราการใช้มากน้อยแค่ไหน
- กรณีองค์กรใหม่
- สวัสดิการแบบไหนที่พนักงานจำเป็นต้องมี
- สวัสดิการแบบไหนที่พนักงานต้องการ
- อะไรคือสิ่งที่พนักงานจะให้ความสำคัญมากที่สุด (การรักษาพยาบาล, สุขภาพ, ความมั่นคง ฯลฯ)
ขั้นตอนที่ 4: พิจารณาข้อกฎหมายและปัจจัยอื่น ๆ
- ตรวจสอบสิทธิและสวัสดิการสำหรับพนักงาน
- มีอะไรบ้าง สวัสดิการของเราครอบคลุมแล้วหรือยัง
- คำนึงถึง Demographic หรือประชากรกลุ่มต่าง ๆ ในออฟฟิศ
- สวัสดิการที่ออกมาครอบคลุม/ตอบโจทย์กลุ่มคนทำงานในองค์กรทั้งหมดหรือไม่
- มีกลุ่มไหนที่ต้องการเป็นอย่างอื่นเพิ่มเติมหรือเปล่า
- คำนึงถึงคู่แข่งหรือธุรกิจที่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
- เพราะหากต้องการใช้สวัสดิการในการดึงดูด Talent แล้ว ควรดูว่า บริษัทอื่นมีสวัสดิการอะไรที่ใช้ดึงดูดคนรุ่นใหม่บ้าง
- แล้วบริษัทเราจะดึงสวัสดิการไหนมาชูโรงหรือดึงดูดคนให้มาสมัครงาน
ขั้นตอนที่ 5: ออกแบบแผนสวัสดิการ
- ระบุสวัสดิการให้ทั้งหมดให้ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ได้แก่
- สวัสดิการขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิประกันสังคม วันลาหยุด-ลาป่วย ฯลฯ
- สวัสดิการเพิ่มเติม เช่น งบเทรนนิ่ง งบซื้ออุปกรณ์การทำงาน วันทำงานที่บ้าน (WFH Day)
- สวัสดิการสุขภาพ เช่น งบช่วยค่าพยาบาล, Well-being budget, ฟิตเนสฟรี, แพกเกจตรวจสุขภาพ, งบปรึกษานักจิตวิทยา ฯลฯ
- รีวิวสวัสดิการตัดออก/เพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 6: สื่อสารกับพนักงานหรือประกาศสมัครงาน
เมื่อได้สวัสดิการพนักงานเป็นแผนเรียบร้อยแล้ว องค์กรก็สามารถสื่อสารหรือประกาศสวัสดิการให้พนักงานรับรู้โดยทั่วกันได้ โดยแนะนำให้เล่าถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ของสวัสดิการทั้งหมด รวมไปถึงให้คำแนะนำในการอ้างสิทธิ การใช้สวัสดิการต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานได้รับผลประโยชน์สูงสุด
สำหรับการประกาศรับสมัครงาน บริษัทหรือองค์กรก็สามารถนำแผนสวัสดิการที่ออกแบบเสร็จแล้ว มาประกาศให้คนนอกรับรู้ ประกาศไว้บนเว็บไซต์ ประกาศไว้บนประกาศรับสมัครงานตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้อยากสมัครงานเข้ามาร่วมงานด้วย
สรุป
จากผลสำรวจต่าง ๆ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้แก่ กลุ่มคนเจน Y ตอนปลายและกลุ่มคนเจน Z ที่มีบางส่วนก้าวเข้าสู่โลกการทำงานแล้ว สำหรับสวัสดิการที่พวกเขามองหา ก็มีทั้งสวัสดิการในรูปแบบดั้งเดิม เช่น สวัสดิการขั้นพื้นฐาน สวัสดิการสุขภาพ และสวัสดิการเพื่อความมั่นคง ส่วนสวัสดิการที่พวกเขาต้องการเพิ่มเติม เช่น การทำงานในรูปแบบ WFH หรือ Remote Working โบนัสและเบี้ยขยัน ตลอดจนสวัสดิการที่ช่วยให้พวกเขาเติบโตยิ่งขึ้นในสายงาน เช่น เงินเทรนนิ่ง หรือสิทธิเข้าร่วมงานอบรม/สัมมนาที่พวกเขาสนใจ
ทั้งนี้ จากสำรวจต่าง ๆ สิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญมากที่สุด ยังคงเป็นเรื่องของ “สุขภาพ” ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และคุณภาพชีวิต หากองค์กรของคุณกำลังมองหาสวัสดิการสุขภาพที่คนรุ่นใหม่ต้องการ SAKID โปรแกรมสุขภาพแบบครบองค์สำหรับพนักงาน คือ สวัสดิการที่สามารถตอบโจทย์เป็นสวัสดิการสุขภาพได้ โดดเด่นที่ช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาวะที่ดีจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพจิต อีกทั้ง ตอบโจทย์ WFH และ Remote Working ได้อีกด้วย
ดูฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ SAKID ได้ ที่นี่