Search
Close this search box.

เปิดผลวิจัย ทำไมพนักงานถึงลาออกหรือหางานใหม่อยู่เรื่อย ๆ แล้ว HR ควรทำอย่างไร ?

HIGHLIGHT

  • ผลสำรวจในปีที่ ค.ศ. 2022 โดย Monster ระบุว่าพนักงานบริษัทถึง 96% กำลังมองหางานใหม่ โดยมีสาเหตุมาจากความไม่พอใจในสวัสดิการและค่าตอบแทน สืบเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงทั่วโลก
  • คนรุ่นใหม่เริ่มมองความอยากเปลี่ยนงานเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนกับการอยากลดน้ำหนักหรือการอยากไปเที่ยวต่างประเทศ
  • การหางานใหม่ขณะทำงานประจำเป็นเรื่องปกติ โดยผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคนที่ทำงานอยู่จะมีเสน่ห์ดึงดูดต่อองค์กรอื่น ๆ มากกว่าคนที่ตกงาน เพราะเรื่องของความน่าเชื่อถือและคอนเนคชั่น
  • หากถูกจับได้ว่าแอบสัมภาษณ์งานก็ควรยอมรับกับองค์กรโดยตรง และร่วมพูดคุยเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อทุกฝ่าย
  • HR ควรวางแผนรับมือทันทีหากรู้ว่าพนักงานมีแนวโน้มลาออกหรือกำลังหางานใหม่ เพื่อให้การสานต่องานราบรื่นที่สุด
  • เราไม่จำเป็นต้องรั้งทุกคนให้อยู่กับองค์กร HR สามารถชั่งใจได้เลยว่า การมีอยู่ของพนักงานคนดังกล่าวมีค่าเพียงพอให้ต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะการปล่อยให้พนักงานที่หมดใจไปแล้วจากกันด้วยดีแล้วเอางบประมาณไปพัฒนาบุคลากรคนอื่นขึ้นมา ก็เป็นทางเลือกที่ส่งผลดีไม่แพ้กัน

เคยตั้งคำถามไหมว่าทำไมพนักงานในปัจจุบันถึงลาออกอยู่เรื่อย ๆ และมีวิธีใดบ้างที่จะรักษาพนักงานเหล่านั้นเอาไว้ ที่สำคัญควรทำอย่างไรหากพนักงานที่กำลังหางานใหม่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น แอบมาสัมภาษณ์ในเวลาทำงาน หรือเกิดแรงกระเพื่อมให้พนักงานคนอื่นอยากลาออกตาม

บทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่าเคล็ดลับของการลาออกที่ดีคืออะไร, สิ่งที่แผนกทรัพยากรบุคคลทำได้มีอะไรบ้าง และเราจะเปลี่ยนองค์กรไม่ให้พนักงานอยากลาออกได้อย่างไร หากคุณกำลังเจอปัญหานี้อยู่ มาหาทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ได้ที่นี่เลย !

Contents

สถิติเผยพนักงานบริษัทในปัจจุบันส่วนใหญ่กำลังมองหางานใหม่

hr-bad-mouth-employee-230111

เราเชื่อว่าพนักงานส่วนใหญ่แม้จะได้เจอสังคมทำงานที่ดีแล้ว แต่ทุกคนก็ยังพยายามมองหาความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ จึงไม่แปลกที่การเปลี่ยนงานจะเป็นเรื่องสามัญธรรมดาเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต อย่างผลสำรวจจาก Monster เมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ.2022 ที่ผ่านมาก็เพิ่งบอกว่ามีพนักงานถึง 96% ที่กำลังมองหางานใหม่แม้จะมีงานประจำอยู่แล้วก็ตาม

เหตุผลในการหางานใหม่ประกอบด้วย

  • พนักงาน 40% ต้องการเงินเดือนเพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุหลักมาจากอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น
  • พนักงาน 66% มองว่างานเดิมหมดความท้าทาย จึงต้องการเปลี่ยนงานเพื่อกระตุ้นไฟในตัวอีกครั้ง
  • พนักงาน 10% อยากเปลี่ยนงานเพราะถูกลดค่าจ้างจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

การเปลี่ยนงานในช่วงหลังโควิด-19 พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะในปี ค.ศ.2021 ที่มีอัตราการลาออกสูงถึง 48 ล้านคน และผลสำรวจเดียวกันยังเผยว่าการเปลี่ยนงานได้กลายเป็นเทรนด์ “เป้าหมายประจำปีใหม่” แบบเดียวกับการตั้งความหวังว่า “ฉันจะต้องผอมให้ได้” หรือ “ฉันจะต้องไปเที่ยวที่นั่นให้ได้” ดังนั้นหากองค์กรไม่รู้จักปรับตัวและทำให้พนักงานรู้สึกว่าการอยู่กับองค์กรจะช่วยให้กลายเป็นคนที่ดีขึ้นได้ ก็มีโอกาสสูงมากที่เขาจะหันไปหาทางเลือกอื่นมากกว่า นี่คือโจทย์ที่ HR ต้องแก้โดยเร็ว

พนักงานควรทำอย่างไรหากต้องการหางานใหม่ขณะที่มีงานประจำอยู่แล้ว

COVID Aftermath EP.3: After Earth เมื่อโลกการทำงานที่คุ้นเคย ไม่เป็นมิตรกับ HR อีกต่อไป

แอนดี้ ทีช (Andy Teach) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง From Graduation to Corporation: The Practical Guide to Climbing the Corporate Ladder One Rung at a Time กล่าวว่าเป็นเรื่องปกติที่เราจะดูน่าดึงดูดเป็นพิเศษขณะที่มีงานประจำ เพราะเราจะได้ติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ในสายงานเดียวกัน และเราจะยิ่งโดดเด่นมากขึ้นหากสามารถสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพหรือเป็นกระแสในวงกว้างได้ ต่างจากการหางานใหม่ขณะที่ตกงาน ซึ่งอาจทำให้บางส่วนตั้งคำถามว่าหากเรามีฝีมือจริง ทำไมถึงยังไม่มีงานประจำ

อย่างไรก็ตาม แม้การหางานใหม่ขณะที่มีงานประจำจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ยังคงละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องถูกบริหารจัดการให้ดี 

สิ่งที่เราควรทำขณะหางานใหม่ดังนี้

  • ไม่ควรบอกเพื่อนร่วมงานว่าเรากำลังหางานใหม่ เพราะมีโอกาสสูงมากที่เรื่องจะหลุดรอดไปถึงคนอื่น
  • ไม่พูดในแง่ร้ายถึงองค์กรหรือเพื่อนร่วมงานเด็ดขาด
  • อย่าเอาคนในองค์กรเดียวกันเป็นแหล่งอ้างอิงถ้ารู้ว่าจะเกิดปัญหาเมื่อถูกจับได้ว่ากำลังหางานใหม่
  • ไม่ควรโกหกหากถูกจับได้แต่ให้พูดความจริง อย่างตรงไปตรงมา
  • แจ้งให้บริษัทใหม่ทราบว่าเราต้องการเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ จนกว่าจะมีการตกลงรับเข้าทำงานอย่างสมบูรณ์
  • ไม่ใช้อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารขององค์กร เช่น คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมลบริษัทในการหางานใหม่
  • ไม่ประกาศว่าตนเองกำลังหางานใหม่บนโซเชียล
  • ยุติการหางานใหม่ หากรู้สึกว่าองค์กรได้ตอบแทนหรือมีข้อเสนอที่เหมาะสมเพียงพอแล้ว เพราะหากองค์กรยินดีทำตามข้อเรียกร้องของเรา แต่เรายังคงหางานใหม่ ก็จะเป็นการลดความเชื่อมั่น และเกิดความรู้สึกที่แย่ต่อกัน

สัมภาษณ์งานใหม่อย่างไรหากปลีกตัวจากงานปัจจุบันไม่ได้

International Learning Platforms

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าการสัมภาษณ์งานไม่สามารถการันตีได้เลยว่าเราจะได้งาน เราจึงไม่ควรเทงานปัจจุบัน จนพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่เสี่ยงต่อการถูกไล่ออก เพราะท้ายสุดแล้ว จะกลายเป็นเราคนเดียวที่ต้องดิ้นรนหางานทำในยุคที่งานดี ๆ หายากกว่าที่เคย ดังนั้นหากคุณมีแพลนต้องสัมภาษณ์งานกับที่ใหม่ แต่กลับใช้วันลาหมดไปแล้ว เราควรทำอย่างไรเพื่อให้เกียรติทุกฝ่ายที่สุด ?

สิ่งสำคัญอย่างแรกคือเราไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด เพราะมีเหตุผลมากมายที่เราสามารถเปลี่ยนงานได้เพื่อสิ่งที่ดีกว่า แต่หากกังวลมากจริง ๆ เรามีวิธีให้คุณสามารถทำตาม โดยไม่ต้องให้ใครมารู้สึกไม่ดีกับการหายไปของเรา

แจ้งกับผู้สัมภาษณ์งานโดยตรง

เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับตำแหน่งงานบางประเภทที่ต้องทำงานหนักจนไม่สามารถปลีกเวลามาสัมภาษณ์อย่างสะดวกสบายได้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือการบอกกับผู้สัมภาษณ์โดยตรงว่าเราไม่สามารถพูดคุยเป็นเวลานาน เพราะเวลาว่างเดียวที่มีอาจเป็นช่วงพักกลางวันที่จำเป็นต้องจัดการทุกอย่างให้จบก่อนที่จะเข้าไปทำงานในช่วงบ่ายตามปกติ  การชี้แจงแบบนี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าเราให้เกียรติที่ทำงานเดิม เป็นคนมีมารยาท และจะช่วยหาตารางเวลาอื่นที่ดีขึ้นหากเป็นไปได้ หรืออย่างน้อยก็จะได้หาทางออกอื่นร่วมกัน ไม่ปล่อยให้เราแบกความรับผิดชอบไว้คนเดียว 

ทั้งนี้แม้เราจะไม่สามารถคาดการณ์จำนวนงานล่วงหน้าในแต่ละวันได้ แต่หากเรามีสิทธิ์เลือกวันเอง ก็ควรใช้วิธีประเมินจากสถานการณ์ในอดีต เพื่อเลือกเวลาสัมภาษณ์ที่น่าจะวุ่นวายน้อยที่สุด ห้ามตอบตกลงสัมภาษณ์โดยลืมพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเด็ดขาด

แจ้งว่ามีธุระอย่างตรงไปตรงมา

หากไม่ได้มีการประชุมใหญ่แต่เราแค่ต้องหายไปจากโต๊ะทำงาน ให้แจ้งอย่างตรงไปตรงมาว่ามีธุระด่วนต้องจัดการ โดยเขียนโน้ตติดเอาไว้บนโต๊ะเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเราหายไปไหน หรือทำข้อความตอบกลับอัตโนมัติในอีเมลเพื่อให้ยังมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นขณะที่เราออกไปสัมภาษณ์งาน ห้ามหายจากโต๊ะไปโดยไม่บอกกล่าวจนคนอื่นตั้งคำถามเด็ดขาด

เตรียมตัวล่วงหน้าให้มากที่สุด

ลองคิดดูว่าจะเป็นอย่างไรหากเรามีเวลาว่างแค่นิดเดียว แต่ต้องมาเตรียมตัวใหม่ตั้งแต่การใส่เครื่องแต่ง, กายการเซ็ตผม หรือการใส่เครื่องประดับ ดังนั้นถ้าไม่อยากให้เวลาต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เราสามารถแต่งตัวอย่างสุภาพมาตั้งแต่เช้าได้เลย ไม่ต้องสนใจว่าจะมีคนแซว เพราะเป้าหมายสำคัญคือการสัมภาษณ์งานให้เรียบร้อยดีมากกว่า  แต่หากกังวลจริง ๆ ก็ให้เตรียมเสื้อผ้ามาเปลี่ยนที่ทำงาน โดยอาจใช้กระเป๋าแบบเดียวกันก่อนประมาณหนึ่งสัปดาห์เพื่อไม่ให้ผิดสังเกต จนกระตุ้นให้คนอื่นรู้สึกว่าเราต้องแอบไปสัมภาษณ์งานแน่นอน

สัมภาษณ์ให้ดีและรีบกลับมาทำงานให้เร็วที่สุด

เมื่อสัมภาษณ์งานเสร็จแล้ว เราต้องกลับมาทำงานให้เร็วที่สุด หากยังไม่ได้ทานข้าว ก็ควรนำมาทานระหว่างเดินทาง หรือเลือกกินของง่าย ๆ เพื่อประหยัดเวลาให้มากที่สุด จากนั้น เมื่อเข้ามาถึงออฟฟิศ ก็ให้ทำตัวเหมือนเราเพิ่งออกไปทำธุระบางอย่างมาไม่ต้องรู้สึกผิดหรือทำตัวเลิ่กลั่กแต่อย่างใด

HR ควรทำอย่างไรถ้ารู้ว่าพนักงานกำลังมองหางานใหม่

ทำไม HR ถึงไม่ควรรับผู้สมัครงานที่ด่าบริษัทเก่าเข้าทำงาน

ในฐานะของ HR เราต่างรู้ดีว่าการลาออกของพนักงานสักคนหนึ่งมีภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลที่ตามมา ดังนั้นหากเรารู้แล้วว่ามีพนักงานกำลังจะลาออก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำจาก Forbes Young Entrepreneur Council ดังต่อไปนี้

วางแผนรับมือฉุกเฉิน (Contingency Plan) ทันที

คงเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนคนที่หมดใจให้กลับมาสนใจองค์กรเท่าเดิม ดังนั้นหากเราคิดว่าการปรับเงินเดือนหรือขึ้นตำแหน่งไม่ใช่สิ่งที่แก้ปัญหาได้ในระยะยาว เราก็ต้องวางแผนเลยว่าจะทำอย่างไรหากพนักงานคนดังกล่าวออกจากองค์กร เพื่อให้งานมีความต่อเนื่อง และบรรยากาศภายในทีมไม่เสียหาย ในที่นี้อาจเป็นการหาฟรีแลนซ์, เด็กฝึกงาน หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมงานจากแผนกอื่นก็ได้ ให้คิดว่าเราไม่จำเปฺนต้องทุ่มเทเพื่อรักษาพนักงานทุกคน เลือกเฉพาะคนที่สมควรได้รับจริง ๆ ดีกว่า

หาคำตอบว่าทำไมพนักงานถึงอยากลาออก

แม้เราจะรั้งพนักงานไว้ไม่ได้ แต่เราก็สามารถรั้งไม่ให้พนักงานคนอื่นอยากลาออกตามกันไปได้ ดังนั้นเราควรหาคำตอบให้ชัดเจนว่ามีสิ่งใดบ้างที่องค์กรสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดขององค์กรคือการลาออกครั้งใหญ่ (Mass Resignation) ซึ่งอาจทำให้เราสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจไปเลย โดยแผนกบุคคลสามารถจัดทำ Stay Interview แบบไม่เป็นทางการเพื่อให้พนักงานทุกคนนำเสนอความเห็นได้อย่างสบายใจ อย่างน้อยก็เพื่อให้มีข้อมูลจริงอยู่ในมือ

ช่วยให้พนักงานเติบโตทางสายอาชีพมากขึ้น

องค์กรบางแห่งเมื่อรู้ว่าพนักงานจะลาออก จะฝืนไปก็เหนื่อยเปล่า กลับกัน พวกเขาจะเข้าไปหาทางสนับสนุนทันที แนวคิดของเรื่องนี้คือแม้กำลังจะแยกจากกัน แต่หากเราส่งเสริมพนักงานให้ก้าวไปสู่จุดที่ตั้งเป้าเอาไว้ได้ด้วยทางใดทางหนึ่ง ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่าและมิตรภาพขององค์กร เป็นเรื่องดีสำหรับสถานการณ์ Boomerang Employees ที่เราจะกลายเป็นตัวเลือกแรก ๆ ทันทีหากเขาต้องการย้ายงานอีกครั้ง

การสนับสนุนแบบนี้อาจเป็นข้อดีในระยะยาว มากกว่าการรั้งให้เขาอยู่กับองค์กรต่อไปก็ได้

ในยุคที่คนรุ่นใหม่เชื่อว่าการเปลี่ยนงานจะทำให้เติบโตได้ง่ายกว่าการอยู่กับองค์กรเดิม สิ่งสำคัญของการทำงาน HR คือศึกษาเรียนรู้และปรับตัว เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานได้อย่างมีความสุขที่สุดนั่นเอง

พนักงานควรทำอย่างไรหากถูกจับได้ว่ากำลังหางานใหม่

แม้จะมีวิธีหลบเลี่ยงมากแค่ไหน แต่การถูกจับได้ว่าเราไปแอบสัมภาษณ์งานที่บริษัทใหม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการที่ผู้สัมภาษณ์ของที่ใหม่โทรศัพท์มาสอบถามเพื่อขออ้างอิงตัวตน (Reference Check) ดังนั้นถ้าเรากลัวว่าจะเกิดสถานการณ์นี้ขึ้น ก็ให้แจ้งกับผู้สัมภาษณ์ก่อนเลยว่าหากต้องการโทรมาที่บริษัท ให้โทรมาในวันที่มั่นใจว่าจะรับเราเป็นพนักงานแล้วแน่ ๆ ไม่ใช่ในขั้นตอนพิจารณาที่อาจทำให้เราต้องสูญเสียงานทั้งสองฝั่งไปพร้อมกัน

หากเราถูกจับได้ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้

ซื่อสัตย์กับบริษัทตัวเอง

สิ่งแรกที่ต้องจำให้ขึ้นใจก็คือห้ามโกหกเด็ดขาด เพราะแม้เราจะปฏิเสธตอนนี้ แต่ในอนาคตอันใกล้เราก็ต้องออกจากงานไปที่บริษัทใหม่อยู่ดี ทำให้คำพูดที่เราโกหกออกไปกลายเป็นสิ่งมัดตัวเมื่อบริษัทใหม่ต้องการขออ้างอิง หรือเมื่อต้องการกลับมาสู่บริษัทเดิมในอนาคต ดังนั้นเราควรจากกันให้ดีและพูดคุยกันเพื่อให้มีความเข้าใจมากกว่า

การพูดอ้อม ๆ แบบ “ใช่ครับ ผมลองมอง ๆ ดูงานใหม่บ้างเหมือนกัน” เป็นวิธีที่ดีกว่าการปฏิเสธอย่างสุดตัว

ตอบให้ได้ว่าหางานใหม่ทำไม

เมื่อบริษัททราบแล้วว่าเราต้องการจะออกจากองค์กร สิ่งสำคัญก็คือการอธิบายให้ได้ว่าเราแสวงหาอะไรที่บริษัทเดิมไม่มี ถึงจุดนี้ให้เปรียบเทียบว่ามันคือ Exit Interview ที่สามารถพูดในสิ่งที่ต้องการได้อย่างตรงไปตรงมา ตราบใดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการยกระดับองค์กรให้ดีขึ้น

เราสามารถพูดได้เลยว่าระบบสวัสดิการหรือค่าตอบแทนขององค์กรมีปัญหา ไม่สามารถสู้กับคู่แข่งได้อีกต่อไป หรือแม้แต่องค์กรไม่มีระบบพัฒนาบุคลากรที่เข้มแข็ง จนรู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่า หรือไม่สามารถเป็นคนที่เก่งขึ้นไปกว่านี้เป็นต้น

การพูดอย่างตรงไปตรงมาจะทำให้องค์กรเห็นว่าเรามีความใส่ใจในรายละเอียดทั้งของตัวเองและของผู้อื่น ซึ่งอาจนำไปสู่การพิจารณาว่าองค์กรอยากจะเก็บเราเอาไว้หรือไม่ หากใช่ เราก็อาจได้ข้อเสนอจากองค์กรเพื่อรั้งตัวเอาไว้

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q&A HR Board

Q: จะทำ Exit interview ยังไงให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงกับคนที่จะลาออก

องค์กรมีอัตราลาออกต่อปีค่อนข้างสูง เลยคิดว่าจะทำ Exit Interview เพื่อหาคำตอบที่แท้จริงว่าปัญหาขององค์กรคือเรื่องใด เราจะสอบถามพนักงานอย่างไรดีคะ ?

A: การทำ Exit Interview มักไม่ค่อยได้ข้อมูลที่ถูกต้องนัก แต่ปัญหานี้มีวิธีแก้ 2 ทาง คือ

1. แก้ระยะสั้นแต่ตรงจุดคือ ทำ Exit Interview เหมือนเดิม แต่เลือกทำกับคนที่ออกไปแล้ว 6 เดือน เพราะคนเหล่านี้พร้อมจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วย โดยเราสามารถทำเองหรือให้บริษัทภายนอกทำให้เพื่อความสบายใจของผู้ตอบ

,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

พิสูจน์ตัวเองว่าเรายังคงทำงานได้อย่างเต็มที่

เมื่อหัวหน้ารู้แล้วว่าเรากำลังก้าวขาออกจากองค์กร ก็ไม่แปลกหากจะถูกตั้งคำถามว่าเรายังคงใส่ใจกับงานที่ได้รับมอบหมายอยู่เต็มที่หรือไม่ ดังนั้นเราต้องพิสูจน์ตัวเองให้เห็นด้วยการมาทำงานให้เร็ว ออกจากงานให้ช้า และเตรียมตัวทำงานให้ดี เพื่อให้การประชุมของเรามีประสิทธิภาพ

วิธีนี้จะทำให้คนเข้าใจว่าแม้จะเตรียมก้าวออกจากองค์กร แต่เราก็ยังเป็นมืออาชีพถึงขีดสุด ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นจากทุกคนที่พบเห็น เป็นผลดีทั้งกับตนเองและองค์กร ทั้งนี้ถ้ามีการสัมภาษณ์งานอื่นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ให้หลีกเลี่ยงไปก่อน จนกว่าบรรยากาศในที่ทำงานจะดีขึ้น

กลยุทธ์การใช้สวัสดิการ Employee Benefit พนักงานพอใจ ไม่มีใครลาออก

จากกระแส The Great Resignation เรื่อยมาจนถึง Boomerang Employees สิ่งสำคัญที่องค์กรต้องใส่ใจมากขึ้นคือการสร้างความประทับใจระหว่างกัน สวัสดิการในตอนนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สิ่งที่เกิดขึ้นภายในออฟฟิศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของคนรอบตัวพนักงานด้วย เช่นสวัสดิการเพื่อการสร้างครอบครัว, สวัสดิการเพื่อผู้สูง, อายุสวัสดิการด้านการเข้าอบรมในคลาสราคาแพง, สวัสดิการในการลางานเมื่อสูญเสียคนรักเป็นต้น

ความสามารถในการคิดค้นสวัสดิการใหม่ ๆ มาตอบโจทย์ตามกระแสสังคม คือสิ่งที่ทำให้องค์กรแต่ละแห่งแตกต่างกัน องค์กรไหนที่แสดงถึงความใส่ใจพนักงานได้มากกว่า ก็จะมีโอกาสรักษาพนักงาน (Retention) ได้มากกว่าเช่นกัน

หากคุณไม่รู้ว่าจะหาแนวทางจัดทำสวัสดิการอย่างไร เราแนะนำให้ใช้บริการของ HR Products & Services แพลตฟอร์มที่รวบรวมบริการและผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารพนักงานไว้มากที่สุดในเมืองไทย ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ หรือต้องการสวัสดิการในรูปแบบไหน ก็หาตัวช่วยได้ที่นี่แบบคลิกเดียวจบ !

บทสรุป

เมื่ออ่านจบแล้ว เราจะเห็นตรงกันว่าสิ่งสำคัญคือการตรวจสอบพนักงานอยู่ตลอดเวลา ว่ามีความสุขดีกับการทำงานหรือไม่ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานได้อย่างคล่องตัวมากกว่าการรอให้เกิดการลาออกและคอยโน้มน้าวให้บางคนอยู่ต่อ เพราะนอกจากจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเหนือกว่าแล้ว ยังทำให้องค์กรต้องเสียทรัพยากรเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรในบางครั้งอีกด้วย

อีกแง่มุมหนึ่งคือเราไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการยื้อพนักงานอย่างที่เคย เพราะกระแสโลกพิสูจน์แล้วว่ามีโอกาสที่พนักงานคนเดิมจะกลับมาสู่องค์กรในอนาคต ขณะที่พนักงานในปัจจุบันหรือแม้แต่คนรุ่นใหม่ก็มีโอกาสพัฒนาเป็นคนที่สามารถเติมเต็มหน้าที่ของพนักงานเดิมได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเปลี่ยนงานในปัจจุบันอาจไม่ได้เป็นเรื่องน่ากังวลอย่างที่คิดหากมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม สรุปง่าย ๆ ว่าการให้ความสำคัญกับพนักงานในทุกแง่มุมคือรากฐานของการแก้ทุกปัญหา และจะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างแข็งแรงได้จริง

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง