Search
Close this search box.

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

HIGHLIGHT

  • แบบสอบถาม (Survey) คือวัตถุดิบชั้นดีที่ช่วยให้องค์กรนำไปใช้ออกแบบนโยบาย และสร้างสรรค์สวัสดิการให้ตรงกับความต้องการของพนักงานที่สุด
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อต้องให้คนทำแบบสอบถามก็คือการตอบแบบขอไปทีจนไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้จริง
  • การทำแบบสอบถามต้องทำในระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป และต้องให้คนมีส่วนร่วมได้ง่ายที่สุด
  • การทำแบบสอบถามคือการสร้างวัฒนธรรมการออกความเห็น (Culture of Feedback) ที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นทักษะสำคัญในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบปัจจุบัน
  • แบบสำรวจที่สำคัญต่อองค์กรแบ่งเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่เรื่องประสิทธิภาพการทำงาน, ประสบการณ์ทำงาน และพัฒนาการของพนักงาน
  • ยิ่งเราทำแบบสอบถามกับคนมากขึ้น เราก็จะยิ่งเข้าใจความต่างในโลกการทำงาน ซึ่งความเข้าใจตรงนี้คือรากฐานสำคัญเมื่อต้องขยายองค์กร หรือติดต่องานกับคนต่างประเทศที่มีวัฒนธรรมต่างจากเรา

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

เคยไหมที่พอฝ่ายทรัพยากรบุคคลทำ การสำรวจ (Survey) โดยใช้แบบสอบถาม มาให้ทำและเราก็ทำแบบขอไปที กดตัวเลือกไปโดยไม่ได้อ่านหรือพิมพ์คำตอบที่ไม่ทันได้กลั่นกรองลงไป พฤติกรรมนี้แม้จะขึ้นชื่อว่าเราได้ตอบแบบสอบถามแล้ว แต่ก็ถือเป็นข้อมูลที่ไร้ประโยชน์ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้เลย

หารู้ไม่ว่าข้อมูลจากการทำแบบสอบถามคือวัตถุดิบชั้นดีที่องค์กรจะนำไปประยุกต์เข้ากับการออกแบบนโยบายและสร้างสรรค์สวัสดิการให้ตรงกับความต้องการที่สุด ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมในเรื่องนี้จะช่วยให้พนักงานมีความสุขมากขึ้นแน่นอน

การทำแบบสอบถามหรือการทำแบบสำรวจสำคัญกับองค์กรอย่างไร และเราจะเพิ่มอัตราการตอบแบบสอบถามได้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้

Contents

ทำไม HR ต้องทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจ (Survey)

เป้าหมายของการพัฒนาบุคลากร คือการทำให้ทุกคนมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ซึ่งทักษะตรงนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพนักงานตั้งไจเรียนรู้และได้รับการสนับสนุนจาก HR ผ่านการปรับนโยบายให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน โดยการปรับนี้จำเป็นต้องได้รับข้อมูลเชิงลึก (Insight) ให้มากที่สุด และข้อมูลเหล่านี้มักแปลเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ทั้งด้วยกระแสนิยม วัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนความเชื่อส่วนบุคคลที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการทำแบบสอบถามในความถี่ที่เหมาะสมจึงนับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจหัวอกของพนักงานอย่างแท้จริง

ประเภทของแบบสอบถามเพื่อสำรวจ (Survey) มีอะไรบ้าง

การทำแบบสอบถามหรือแบบสำรวจใด ๆ ก็ตามล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อขอความคิดเห็นจากพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ เพื่อตรวจสอบดูว่าขั้นตอนการทำงานหรือวัฒนธรรมองค์กรมีปัญหาหรือไม่ ทั้งนี้ HR สามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เป็นรากฐานในการสร้างสรรค์กลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์พนักงานมากขึ้น องค์กรที่ใส่ใจเรื่องนี้จะทำให้พนักงานมีความสุข ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

การทำแบบสอบถามมักมุ่งเน้นใน 3 หัวข้อสำคัญต่อไปนี้

แบบสอบถามการสำรวจเรื่องการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement)

การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) สะท้อนให้เห็นถึงความกระตือรือร้นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานและองค์กร คำตอบจากแบบสำรวจเหล่านี้จะบอกว่าทีมของเรายินดีทุ่มเทเพื่องานมากขนาดไหน เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและเลือกใช้งานบุคลากรให้เหมาะกับชิ้นงานที่สุด

สิ่งสำคัญของการทำแบบสำรวจเรื่องการมีส่วนร่วมของพนักงานคือการเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อนำไปทำสรุป (Report) ให้ครอบคลุมทุกด้าน ข้อมูลตรงนี้นอกเหนือจากการนำไปต่อยอดเป็นนโยบายใหม่ ๆ แล้ว ยังสามารถนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่งหนือเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่เคยเก็บสถิติไว้ในอดีต เพื่อดูว่าพนักงานของเรามีโอกาสย้ายไปหาบริษัทอื่น ๆ ที่อยู่ในสายงานเดียวกันหรือไม่ อนึ่งการสรุปแบบสอบถามต้องตีความได้ว่าองค์ประกอบใดบ้างที่ส่งผลในแง่บวก และองค์ประกอบใดบ้างที่ส่งผลในแง่ลบ  เพื่อที่จะได้เพิ่มหรือตัดนโยบายบางอย่างได้ถูกต้อง ไม่เสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q&A HR Board

Q: อยากทราบแนวทางการทำ Employee Engagement Survey ที่มีประสิทธิภาพจริง ๆ

อยากได้เป็นแบบคำถามปลายเปิด เพราะคิดว่าเหมาะสมกับองค์กรที่สุด ควรทำอย่างไรดี ?

A: การทำแบบสำรวจปลายเปิด ควรเริ่มมาจากการทำแบบสอบถามปลายปิดก่อน

สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

  1. เป้าหมายในการทำงานของพนักงาาน
  2. สิ่งที่อยากเห็นในบริษัท (สิ่งที่อยากให้บริษัทเปลี่ยนแปลง)
  3. สิ่งที่อยากเห็นในผู้บริหาร (สิ่งที่อยากให้ผู้บริหารทำ)
  4. สิ่งที่ไม่อยากเห็นในบริษัท (สิ่งที่อยากให้บริษัทยกเลิก)
  5. สิ่งที่ไม่อยากเห็นในผู้บริหาร (สิ่งที่ไม่อยากให้ผู้บริหารทำ)

,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

แบบสอบถามการสำรวจเรื่องประสบการณ์ทำงาน (Employee Experiences Survey)

ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญมากกับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นแบบระยะสั้นหรือระยะยาว โดยแบบสำรวจสามารถแบ่งเป็นสัดส่วนได้ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

  • การสำรวจขณะเป็นผู้สมัครงาน (Candidate Survey) : การสำรวจความพอใจไม่ได้เกิดขึ้นกับพนักงานในสังกัดเราเท่านั้น แต่หมายรวมถึงความพอใจตั้งแต่ขั้นตอนสัมภาษณ์งานเลยด้วยซ้ำ ข้อมูลตรงนี้จะทำให้เรารู้ว่าใบประชาสัมพันธ์รับสมัครพนักงานของเราน่าสนใจไหม, Job Description ดึงดูดมากพอหรือไม่ และขั้นตอนสัมภาษณ์มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือเปล่า แนวทางเหล่านี้จะช่วยให้ขั้นตอนสรรหา (Recruitment) มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
  • การสำรวจพนักงานใหม่ (Onboarding Survey) : ความประทับใจแรก (First Impression) เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเมื่อเรารับพนักงานใหม่เข้ามา เราควรทำแบบสอบถามควบคู่กันไปทันทีเพื่อดูว่าการทำงานจริงนั้นตรงกับสิ่งที่เขาคาดหวังหรือไม่รวมถึงมีกระบวนการทำงานที่ขัดต่อรูปแบบที่คุ้นเคยหรือเปล่า ข้อมูลดังกล่าวจะทำให้องค์กรเตรียมตัวสำหรับการรับพนักงานคนต่อไปได้ดีขึ้น ขั้นตอนนี้สามารถทำแบบรายบุคคลระหว่างพนักงานกับหัวหน้าได้เลยในสถานการณ์ที่จำเป็น ไม่จำเป็นต้องรอตามไตรมาสหรือตามวาระสำคัญเท่านั้น นอกจากนี้ยังควรทำการสำรวจความพอใจของการเป็นพนักงาน (Stay Interview) เป็นระยะ เพราะความคิดของพนักงานสามารถเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลาเช่นกัน
  • การสำรวจพนักงานที่ลาออก (Exit Survey) : หากเรารู้สาเหตุที่พนักงานลาออก เราก็จะได้นำปัญหาเหล่านั้นมาปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น โดยเฉพาะหากพนักงานคนดังกล่าวตัดสินใจย้ายไปซบบริษัทคู่แข่ง เราก็ควรเข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีสวัสดิการหรือจุดเด่นใดที่สามารถโน้มน้าวจิตใจพนักงานได้ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานคนอื่น ๆ ตัดสินใจลาออกตามไปในภายหลัง อนึ่งการสำรวจในบริบทนี้มีความละเอียดอ่อน ผู้สำรวจต้องมีทักษะในการอ่านสถานการณ์, เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถปรับคำถามให้เหมาะกับบริบทที่แตกต่างกันได้อย่างดี

แบบสอบถามการสำรวจเรื่องประสิทธิภาพของพนักงาน (Employee Effectiveness Survey)

การสำรวจประสิทธิภาพการทำงานคือการให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา และเป็นการสื่อสารสองฝ่าย คือพนักงานสามารถแสดงความเห็นต่อหัวหน้า และหัวหน้าก็สามารถแสดงความคิดเห็นต่อพนักงาน โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างผลประกอบการที่ดีเยี่ยมภายใต้การทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งเราสามารถแยกย่อยออกมาได้ดังนี้

  • การสำรวจความคิดเห็นต่อหัวหน้างาน (Manager Feedback Survey) : ในแบบสำรวจนี้ พนักงานจะได้รับโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของหัวหน้าเป็นรายบุคคลเพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปพิจารณาจัดอบรมหรือจับคู่หัวหน้ากับพนักงานเพื่อสอนงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การรู้ว่าผู้นำในสายตาของคนอื่นเป็นอย่างไร จะช่วยให้เรารู้ว่าองค์กรพร้อมเติบโตแล้วหรือยัง
  • การสำรวจความคิดเห็นด้านพัฒนาการของพนักงาน (Employee Development Survey) : ในทางกลับกัน องค์กรก็ต้องสอบถามหัวหน้างานเพื่อดูว่าพนักงานในสังกัดมีพัฒนาการสอดคล้องกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือความคุ้มค่ากับเงินเดือนที่ได้รับหรือไม่  การสำรวจแบบนี้ไม่ใช่การพิจารณาสถานภาพของพนักงาน แต่เป็นการช่วยหาอีกหนึ่งวิธีเพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างที่ตั้งใจ

การตอบสนองต่อแบบสอบถาม (Survey Response Rate) คืออะไร สำคัญอย่างไร

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

ความเห็นของผู้ทำแบบสำรวจทุกคนถือเป็นข้อมูลสำคัญที่องค์กรสามารถนำไปปรับใช้ เพราะเป็นข้อมูลที่จำกัดเฉพาะบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ จึงมีความเฉพาะเจาะจง เห็นถึงปัญหาอย่างชัดเจน ซึ่งแก้ไขได้ง่ายกว่าการพยายามยกระดับองค์กรโดยไม่มีข้อมูลวงใน (Insight) อะไรเลย   การสำรวจดูว่ามีพนักงานทำแบบสอบถามกี่คนส่งผลดีกับการทำงานดังนี้

  • เข้าใจว่าพนักงานให้ความสำคัญกับองค์กรมากแค่ไหน : จำนวนผู้ทำแบบสอบถามคือภาพสะท้อนว่าพนักงานใส่ใจกับพัฒนาการขององค์กรมากแค่ไหน และอีกมุมหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่าหัวข้อที่เราถามนั้นมีความสำคัญกับพนักงานมากพอหรือไม่ เช่น หากเป็นเรื่องเงินเดือนก็ไม่แปลกที่พนักงานจะทำแบบสอบถามกันเยอะ แต่ถ้าเป็นเรื่องของแผนกอื่น หรืองานที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง ก็เป็นธรรมดาที่จะได้รับความร่วมมือน้อยกว่า ดังนั้นหากต้องการถามความเห็นกับคนหมู่มาก ก็ควรอธิบายด้วยว่าแบบสอบถามดังกล่าวจะช่วยให้ชีวิตของผู้ตอบดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อทำให้รู้สึกว่าไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว
  • ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น : จุดสำคัญของทุกการสื่อสารคือการเลือกหัวข้อที่อีกฝ่ายสนใจและรู้สึกว่าความคิดเห็นของตนสามารถนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า หรืออย่างน้อยก็สร้างความรู้สึกดี ไม่ทำให้ใครขุ่นข้องหมองใจ ดังนั้นการเก็บสถิติว่าคำถามแบบใดมีผู้ตอบมากที่สุด หรือการเลือกใช้คำพูดแบบใดสามารถโน้มน้าวให้คนมีส่วนร่วมกับแบบสอบถามมากขึ้น  จะช่วยฝึกให้เรารู้ว่าควรเลือกหัวข้อสำหรับสื่อสารภายในองค์กรอย่างไร ทำให้เกิดแบบสอบถามที่เป็นประโยชน์กับองค์กรมากกว่าแค่การตั้งคำถามและรอให้คนตอบแบบตามมีตามเกิดเท่านั้น

วิธีเพิ่มอัตราการทำแบบสอบถามในการสำรวจ (Survey) ให้ได้ผลที่สุด

การทำแบบสอบถามเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ทุกองค์กรนำมาใช้ แต่ต้องทำอย่างไรถึงจะโน้มน้าวให้คนตอบคำถามมากขึ้น ถ้าคุณประสบปัญหานี้อยู่มาหาวิธีแก้ได้ที่นี่เลย !

วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

ก่อนที่จะส่งแบบสอบถามออกไปทุกครั้ง เราต้องพิจารณาจนแน่ใจว่าคำตอบของคนกลุ่มนั้นมีความสำคัญกับการตัดสินใจจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องหว่านแบบสอบถามไปหาพนักงานทุกคนในองค์กร เพราะความคิดเห็นบางอย่างอาจทำให้เราหวั่นไหว แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กำลังทำอยู่มากนัก ทั้งนี้การเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายแสดงความเห็น แต่องค์กรไม่เคยนำไปปฏิบัติตามเลยจะยิ่งทำให้วัฒนธรรมการแสดงความเห็นตกต่ำลง

จนท้ายที่สุดก็ จะไม่มีใครที่อยากให้ข้อมูลอีกเลย

ทำแบบสอบถามให้ง่ายขึ้น

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

แน่นอนว่ามันคงดีกว่าหากพนักงานจะให้เวลากับการทำแบบสอบถามอย่างเต็มที่และเขียนบรรยายออกมาเป็นข้อ ๆ ให้ฝ่ายบุคคลสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงนั้น การทำแบบสอบถามเป็นเพียงส่วนหนึ่งในวันทำงานเท่านั้น คนส่วนใหญ่มักให้เวลากับการทำงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบมากกว่าทำแบบสอบถามยาว ๆ ที่รู้สึกกินเวลาโดยเปล่าประโยชน์

ดังนั้นหากรู้ว่าวัฒนธรรมการแสดงความเห็นในองค์กรยังไม่แข็งแรงนัก เราสามารถเริ่มต้นด้วยการทำแบบสอบถามโดยใช้วิธีเลือกคำตอบแบบปรนัยโดยไม่ต้องสนใจว่าจะได้เพียงข้อมูลตื้น ๆ  เพราะหากมีประเด็นใดที่น่าสนใจจริง ๆ เราก็อาจเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามาพูดคุยด้วยกันแบบตัวต่อตัว

ตั้งหัวข้อที่ทำให้คนอยากมีส่วนร่วม

ในฐานะของวัยทำงานนั้น ทุกคนล้วนอยากมีตัวตนในออฟฟิศอยากรู้สึกมีคุณค่าและคิดว่าความเห็นของตนสามารถยกระดับชีวิตของตนและเพื่อนร่วมงานให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นแทนที่จะทำแบบสอบถามด้วยการตั้งคำถามธรรมดา ๆ แบบเรียบง่าย เราก็อาจใช้วิธีตั้งคำถามเชิงรุก เช่น “คุณอยากจะช่วยองค์กรอย่างไร” หรือ “คุณกำลังโกรธเกลียดอะไรอยู่หรือเปล่า ! แอบมาบอกเราได้เลยรับรองไม่หลุดแน่นอน !” เป็นต้น

ทั้งนี้กลยุทธ์ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละองค์กร ฝ่ายบุคคลสามารถสำรวจและเลือกแนวทางที่ดีที่สุดได้เลย

แสดงความขอบคุณเสมอ

เมื่อให้พนักงานทำแบบสอบถาม เราควรตอกย้ำให้พวกเขาเห็นว่าเราให้ความสำคัญกับทุกคำตอบจริง ๆ และคำตอบเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสวัสดิการใหม่ที่ทำให้ทุกคนมีความสุขกว่าเดิม คำขอบคุณจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรพร้อมรับฟังจริง ๆ ช่วยในเรื่องของการรักษาพนักงาน (Retention) ที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน

ทำให้คนเห็นถึงความเร่งด่วน (Sense of Urgency)

องค์กรต้องทำให้พนักงานรู้สึกว่าความเห็นของพวกเขามีคุณค่า โดยเฉพาะในเวลาที่องค์กรต้องตัดสินใจในประเด็นสำคัญโดยไม่มีเวลาให้เตรียมตัวมากนัก วิธีนี้หากองค์กรนำความเห็นของพนักงานไปใช้จริง ก็จะยิ่งสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ความสัมพันธ์ภายในทีมดีกว่าเดิม

ให้ของรางวัลตอบแทน

หากเป็นแบบสอบถามที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากพนักงานจริง ๆ องค์กรสามารถพิจารณามอบของที่ระลึกเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นให้พนักงานอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งแม้จะทำให้องค์กรต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมไปบ้าง แต่ก็ช่วยประหยัดต้นทุนเวลาให้เราสามารถทำงานง่ายขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าเราทำแบบสำรวจบ่อยเกินไปไหม เพราะหากถี่มากเป็นพิเศษ จะให้ของตอบแทนแบบใดก็ดูเป็นการรบกวนพนักงานอยู่ดี

อัตราการตอบสนองแบบสอบถามในการสำรวจ (Survey) ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อการทำงานอย่างไร

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

เป้าหมายหลักของการทำแบบสอบถามคือการได้ข้อมูลจากพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุดเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้องค์กรสามารถนำไปพัฒนาเป็นนโยบายหรืออ้อสวัสดิการเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของพนักงานได้อย่างเป็นรูปธรรมดังนั้นยิ่งเราได้ข้อมูลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้การวางแผนครอบคลุมมากขึ้นเท่านั้นโดยเราสามารถอธิบายประโยชน์ของการมีผู้ทำแบบสอบถามมากขึ้นได้ดังนี้

  • ช่วยให้เราเข้าใจความหลากหลายมากขึ้น : ยิ่งเราได้รับความเห็นจากคนมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีโอกาสเข้าใจผู้คนหลากหลายรูปแบบมากขึ้น มุมมองเหล่านี้จะช่วยให้เราออกนโยบายที่อ้างอิงอยู่กับความเป็นธรรมและเห็นอกเห็นใจ ไม่ออกนโยบายโดยมองข้ามความรู้สึกของคนอื่นทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
  • ช่วยประหยัดเวลา : แบบสอบถามบางอันอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกคน แต่ก็มีแบบสำรวจบางชนิดที่ต้องการให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมดังนั้นถ้าเรามีวัฒนธรรมของการแสดงความเห็น เราก็จะไม่ต้องเสียเวลามาติดตามผล ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญในบริษัทขนาดใหญ่ ที่พนักงานควรเอาเวลาไปโฟกัสกับการทำงานอื่นที่สำคัญมากกว่า
  • ช่วยให้ได้คำตอบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น : ปฎิเสธไม่ได้ว่าแม้บางคนจะทำแบบสอบถามเสร็จก็จริงแ ต่ก็เป็นการทำแบบขอไปที เช่น กดปุ่มเดิมรัว ๆ แล้วกดส่ง อย่างไรก็ตามถ้าเราสร้างวัฒนธรรมของการออกความเห็นควบคู่ไปกับการเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมาย เราก็จะได้คำตอบที่กว้างขึ้นจนเห็นสถิติในภาพรวมว่าพนักงานส่วนใหญ่มีความต้องการอย่างไร  หากความต้องการบางอย่างตรงกันในเปอร์เซ็นต์ที่สูง ก็แปลว่าคำตอบนั้นคือความต้องการที่ควร เอามาปรับเป็นนโยบาย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปสนใจคนที่ยังอคติหรือให้คำตอบแบบไม่เป็นมืออาชีพอีกเลย

การสร้าง Employee Engagement ให้คนกล้าแสดงความเห็น และมีส่วนร่วมกับองค์กร คือเคล็ดลับของความสำเร็จ

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

คนคือกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันองค์กรให้เติบโตอย่างแข็งแรง หากผู้บริหารมีไอเดียมากมายในหัวแต่ไม่มีลูกทีมที่พร้อมลงมือช่วยเหลือ  ไอเดียดังกล่าวก็จะเป็นได้แค่จินตนาการเท่านั้น เหตุนี้การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้ได้  โดยเฉพาะในโลกหลังโควิด-19 ที่หลายองค์กรปรับไปเป็นแบบไฮบริดเต็มตัว (Hybrid Workplace) จนพนักงานไม่สามารถเจอหน้ากันได้บ่อยอย่างที่เคย

การแน่ใจว่าทุกคนยังคงสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมเป็นเพื่อนคู่คิดกันเหมือนเดิม คือสิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินว่าองค์กรของคุณแข็งแรงพอรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจแล้วหรือยัง

ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะพัฒนาเรื่องการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างไร เราแนะนำให้ใช้บริการ HREX ที่มีหมวด Employee Engagement โดยตรง  ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ จะมีวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน ก็สามารถเลือกบริการที่ตรงใจที่สุดได้บนแพลตฟอร์มนี้ ที่เรากล้าการันตีว่าใหญ่ที่สุดในเมืองไทย คลิกเลย

CTA Employee Engagement

บทสรุป 

เปิดเคล็ดลับการสำรวจ (Survey) ทำแบบสอบถามอย่างไรให้คนอยากมีส่วนร่วม

ท้ายสุดแล้ว การทำแบบสอบถามก็คือภาพสะท้อนของทักษะการสื่อสารภายในองค์กร หากพนักงานเชื่อมั่นว่าทุกคำพูดที่เอ่ยออกมาจะได้รับการใส่ใจหรือถูกนำไปคิดวิเคราะห์เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา อัตราการทำแบบสอบถามก็จะเพิ่มขึ้นตามไปโดยปริยาย กลับกันหากพวกเขารู้สึกว่าองค์กรไม่เคยใส่ใจความคิดเห็นของตนเลย อัตราการตอบก็จะน้อยลงไปตามลำดับ

ดังนั้นก่อนที่จะรู้สึกแย่และตั้งคำถามว่าทำไมพนักงานจึงไม่มีส่วนร่วมกับการทำแบบสอบถาม เราควรกลับมามองตัวเองก่อนว่าเราได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เต็มไปด้วยความอิ่มเอม น่าเคารพเชื่อถือ หรือเปิดโอกาสให้ทุกคนออกความเห็นได้อย่างเท่าเทียมแล้วหรือยัง

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง