องค์กรที่ประสบความสำเร็จทั่วโลกจะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การริเริ่มทำอะไรเพื่อสังคมอย่าง Corporate Social Responsibility (CSR) เนื่องจากองค์กรเหล่านี้มีขนาดใหญ่จึงสามารถสร้างโปรแกรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกเป็นวงกว้างได้ แต่ในทางกลับกัน บางองค์กรก็ไม่ได้ใช้ศักยภาพของผู้คน เวลา หรือเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง ทำให้โปรแกรมของพวกเขาเป็นได้แค่ส่วนหนึ่งของการสร้างภาพลักษณ์ที่ยั่งยืนสำหรับผู้ถือหุ้น หรือกลายเป็นแค่แคมเปญการตลาดให้ลูกค้าเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ CSR ไปไกลเกินกว่าจุดประสงค์หลักที่ต้องการทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น แต่กลายเป็นปัจจัยหลักที่เป็นภาพสะท้อนของ “วัฒนธรรมองค์กร” ที่เหล่าคนเก่งนำมาพิจารณาในการเลือกทำงานกับบริษัท บทความนี้พวกเราจะเล่าถึงเคล็ดลับนำองค์กรสู่ความสำเร็จผ่าน การมีวัฒนธรรมแห่งการให้ (Culture of Giving) เริ่มตั้งแต่ทำความเข้าใจ Employee Experience การริเริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรนี้ และการนำโปรแกรม OmniGive Workplace Giving ไปใช้
ทำไมต้องมองผ่านมุมของ Employee Experience ?
Employee experience คือสิ่งสำคัญที่สุด พนักงานยุคใหม่เปรียบเสมือนลูกค้าที่จะโฟกัสกับคุณค่าของประสบการณ์มากกว่าวัตถุ ทุกวันนี้ Employee experience สำคัญยิ่งกว่าเงินเดือน จึงเป็นที่มาว่าทำไมบริษัทอย่าง Facebook, Google หรือ Amazon ยอมลงทุนสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีที่สุดเพื่อดึงดูดคนมีความสามารถเข้ามา พร้อมทั้งกระตุ้นให้พนักงานปัจจุบันรู้สึกผูกพันกับองค์กรเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ คือ Employee experience กับ Employee engagement นั้นไม่เหมือนกัน แต่มีความสำคัญในแนวทางการมองที่แตกต่างกันอีกด้วย Employee experience จะเกี่ยวพันกับองค์รวม แผนการออกแบบองค์กรในระยะยาวมากกว่าที่จะเป็นแค่กิจกรรมระยะสั้น
ทุกวันนี้ หลายองค์กรที่โปรโมท Employee engagement ล้วนนำกลยุทธ์จากช่วงปี ค.ศ. 1908 มาปัดฝุ่นใหม่ กิจกรรมสร้าง engagement อย่างของว่างฟรี ทริปเอาท์ติ้งประจำปี หรือทีมดินเนอร์ กลายเป็นเรื่องซ้ำซากจำเจ มีผลดีแค่ในระยะสั้น แต่พนักงานก็จะหมดความรู้สึกนี้ไปเมื่อไหร่ก็ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเลือกมองที่ภาพใหญ่พร้อมจุดมุ่งหมายระยะยาวและปัจจัยที่นำมาพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถสร้างเสริมประสบการณ์ที่ยั่งยืน ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงาน ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น และอื่นๆ อีกมากมาย
เริ่มต้นที่วัฒนธรรมองค์กร
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “วัฒนธรรม” คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน [1] วัฒนธรรมองค์กรที่ยิ่งใหญ่ (Great company culture) อาจจับต้องได้ยาก แต่มีประสิทธิภาพมากในแง่ของอารมณ์ และยังมีผลอย่างใหญ่หลวงต่อความรู้สึกที่มีต่อหน้าที่ของพนักงาน ผลสำรวจของ LinkedIn ในปี 2018 เผยว่า 70% ของคนเก่งๆ จะไม่ยอมทำงานในบริษัทชั้นน้ำที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แย่ และ 48.4% ของพนักงานมีแนวโน้มจะลาออก อ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
วัฒนธรรมองค์กรที่ยิ่งใหญ่จะให้ความสำคัญกับ “ทีมเวิร์ค” และ “การที่พนักงานสร้างผลประโยชน์ให้กับองค์กร” เรื่องพื้นฐานที่สุดเลย คือ ทำให้พนักงานรู้สึกเหมือนเขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่มีค่าแก่องค์กร เมื่อมีความสำเร็จ บริษัทก็จะยินดีไปด้วยกัน เมื่อมีความล้มเหลว พวกเขาก็จะสู้และเรียนรู้ไปด้วยกัน Gallup ค้นพบว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จที่สุดจะมีวัฒนธรรมสร้างเสริมประสบการณ์สูง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงตามไปด้วย กุญแจสำคัญ คือ การอาศัยความพยายามระดับองค์กร ที่ทุกคน รวมถึง CEO ต้องมีส่วนร่วมในการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง อีกวิธีคือทำให้พวกเขารู้สึกถึง “เป้าหมาย” ซึ่งการสื่อสารต้องแสดงให้เห็นว่าทุกงานที่พวกเขาทุ่มเทก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร และมีความหมายต่อบริษัทมากแค่ไหน ดังนั้น ผู้จัดการและทีม HR ต้องแน่ใจด้วยว่าทุกคนในองค์กรรับรู้และมีส่วนร่วมด้วยจริงๆ
ปัจจัยที่สองในการสร้าง Employee experience ให้ดีที่สุดคือ ‘สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน’ ซึ่งเป็นสถานที่ๆ พนักงานใช้เวลาทำงานอยู่ที่นั่นทั้งวัน สิ่งแวดล้อมเหล่านี้หมายถึง ‘ทุกอย่าง’ ตั้งแต่โปสเตอร์บนกำแพง อาหาร ผังอาคาร หรือแม้แต่กิจกรรมชั่วคราวที่จะทำให้พนักงานมีความทรงจำที่ดีต่อสถานที่ หลายองค์กรหลงลืมไปว่าสถานที่ทำงานจะต้องสะท้อนถึงค่านิยมองค์กรเช่นกัน ลองนึกภาพการทำงานในบริษัทที่หลักการไม่สอดคล้องกับค่านิยมที่พวกเขาอ้างว่าให้ความสำคัญ อาทิ บริษัทให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่สามารถมีถังขยะรีไซเคิลเพียงพอในที่ทำงานซะด้วยซ้ำ ดังนั้น สภาพแวดล้อมในที่ทำงานถือเป็นตัวเชื่อมองค์กรและพนักงานผ่านการแสดงค่านิยมที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรแก่พนักงาน
สุดท้ายนี้ การสร้างเทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตพนักงานง่ายขึ้นคือประเด็นสำคัญไม่แพ้กัน ทุกวันนี้ หากองค์กรสามารถจัดหาเทคโนโลยีที่ออกแบบมาในเกรดของลูกค้าได้และใช้งานง่าย พนักงานก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าประสบการณ์ของพวกเขาถูกเห็นค่าเช่นกัน
งานวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับพนักงานกลุ่มมิลเลเนียลพบว่า เกินครึ่งของผู้สมัครจะไม่พิจารณาบริษัทที่ใช้วิธีการสรรหาบุคคลากรแบบเก่าๆ ยิ่งไปกว่านั้น 26% ของกลุ่มผู้สมัครคิดว่าพวกเขาจะไม่ร่วมงานกับบริษัทที่มีเทคโนโลยีล้าหลังในการรับคนเข้าทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกวันนี้ ผู้คนให้ความสำคัญมากว่าบริษัทจะมีเทคโนโลยีอะไรที่ทำให้การทำงานของพวกเขาง่ายขึ้น เริ่มตั้งแต่สเต็ปแรกคือขั้นตอนการจ้างงานของบริษัท
เริ่มสร้างวัฒนธรรมดีๆ กับ OmniGive ในองค์กรของคุณ
จากปัจจัยทั้งหมดนี้โปรแกรม OmniGive Workplace Giving สามารถเป็นโซลูชันด้าน CSR ให้ได้ ผ่านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ร่วมสมัย เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับพนักงานในองค์กร ทั้งนี้ จาก 3 ปัจจัยด้านบน องค์กรจะไม่สามารถ “สร้างประสบการณ์” ได้ง่ายๆ ถ้าไม่ก้าวผ่านพันธกิจและตามหา “เหตุผลที่องค์กรนี้ต้องมีอยู่” (Reason for Being) ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่สุดที่ถูกมองผ่านพนักงานหรือแม้แต่ผู้บริโภคเองเสมอ เหตุผลนี้ไม่ได้เกี่ยวกับว่าองค์กรหาเงินได้เท่าไหร่ แต่เกี่ยวกับว่าองค์กรสร้างผลลัพธ์อะไรให้กับสังคมและโลกในวงกว้างบ้าง ซึ่ง OmniGive จะเป็นผู้ช่วยในด้านนี้ ช่วยให้เกิดขึ้นจริงในแนวทางปฏิบัติ ผ่านการพาร์ทเนอร์กับเรา
- บริษัทของคุณจะได้เริ่มปลูกฝัง ‘วัฒนธรรมการให้’ ผ่านตัวแทนจากพาร์ทเนอร์องค์กรการกุศลชั้นนำระดับโลก และจะได้สร้างผลลัพธ์ที่ทำให้สังคมไทยและทั่วโลกดีขึ้นอย่างแท้จริง โดยการเปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นผู้บริจาคน้อยๆ แต่สม่ำเสมอในนามของบริษัท
- พนักงานของคุณจะได้รับประสบการณ์และสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุด และฟรีที่ออฟฟิศของคุณจากพาร์ทเนอร์ของเรา อาทิ บริการนวดแก้ออฟฟิศซินโดรม อาหารว่าง และอื่นๆ อีกมากมาย
- พนักงานของคุณสามารถทำการบริจาคให้ได้ทุกเวลา ทุกที่ กับองค์การกุศลผ่านแพลตฟอร์มของเราอย่างมีประสิทธิภาพ และยังติดตามได้อีกว่าเงินที่บริจาคไปได้สร้างผลลัพธ์ที่ดีอย่างไรบ้าง
ในโลกธุรกิจปัจจุบัน “องค์กรที่สร้างประสบการณ์” มักเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จที่สุดจากการวัดผลแทบทุกรูปแบบ สิ่งหนึ่งที่ต้องจดจำ คือ กลุ่มผู้สมัครงานหรือคนเก่งๆ มากมายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แค่ปลายนิ้วผ่านแพลตฟอร์มอย่าง Glassdoor หรือ LinkedIn เพื่อจะดูชื่อเสียงของบริษัทคุณ ดังนั้น คุณควรสร้างประสบการณ์และวัฒนธรรมที่ดีให้กับพนักงาน ซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือกัน การสื่อสารอย่างเปิดเผย และขับเคลื่อนโดยจุดประสงค์ที่แน่วแน่ มาร่วมกันสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานและสร้างวัฒนธรรมองค์กรกับ OmniGive โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้แล้ววันนี้ CTA Link: https://omnigive.com/for-business/?lang=th (OmniGive Business Page)
เกี่ยวกับผู้เขียน : ชนิตร์นันทน์ อัชนันท์ – ผู้ดูแลโปรแกรมพาร์ทเนอร์ ที่ OmniGive พื้นหลังวิชาการด้านวิทยาศาสตร์จิตวิทยา พร้อมประสบการณ์ด้านการตลาด การสร้างภาพลักษณ์องค์กร กลยุทธ์พันธมิตรทางธุรกิจ และความรู้ด้านเทคโนโลยีใน Startup ข้ามชาติทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทำงานที่ OmniGive ทำให้เขามีโอกาสสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกและชุมชนของเรา ร่วมกับบริษัทต่างๆและบุคลากรของพวกเขาทั่วเอเชียแปซิฟิก |
ข้อมูลอ้างอิง 1. Morgan, J., & Goldsmith, M. (2017). The Employee Experience Advantage: How to Win the War for Talent by Giving Employees the Workspaces they Want, the Tools they Need, and a Culture They Can Celebrate (1st ed.). Wiley. |