Search
Close this search box.

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) หนึ่งในเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ประสบผลสำเร็จ

Performance Appraisal

การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จได้ การประเมินนี้เป็นวิธีการวัดผลทางการปฎิบัติงานของพนักงานทั้งในเรื่องความสามารถในการทำงานไปจนถึงศักยภาพที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น แล้วการประเมินผลการปฎิบัติงานนี้ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางอาชีพ (Career Development) ที่สำคัญขององค์กรด้วย

ถึงแม้ว่าการประเมินผลนั้นจะไม่ได้มีส่วนช่วยพัฒนาทักษะใดๆ โดยตรง แต่สิ่งนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานในแต่ละบุคคลได้ดีอีกด้วย นอกจากจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าองค์กรควรจะต้องปรับปรุงเรื่องใด พนักงานควรจะพัฒนาตัวอย่างไร หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรจะช่วยเสริมทักษะด้านไหนของพนักงานแต่ละคนแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างของการประเมินผลการปฎิบัติงานก็คือการเป็นดรรชนีชี้วัดความสำเร็จของการทำงาน ซึ่งมีผลต่อการเลื่อนตำแหน่ง, ขึ้นเงินเดือน, พิจารณาโบนัส, หรือแม้แต่เลิกจ้างพนักงานแต่ละคน และนี่คือสิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) จำเป็นที่จะต้องใส่ใจเป็นลำดับต้นๆ เลยทีเดียว

หลักการสำคัญในการประเมินผล

+ หลักเกณฑ์เป็นที่ยอมรับ :ก่อนการประเมิน พนักงานทุกระดับควรมีสิทธิ์ทราบในเรื่องหลักเกณฑ์ของการประเมินผล เพื่อเกิดการยอมรับร่วมกัน และเป็นมาตรฐานเดียวกัน หากหลักเกณฑ์แตกต่าง ไม่เท่าเทียม ไม่เป็นที่ยอมรับ ก็อาจส่งผลเสียต่อการประเมิน และทำให้พนักงานเกิดทัศนติลบกับองค์กรได้

+ กำหนดระยะเวลาชัดเจน :ทุกการประเมินควรมีการกำหนดระยะเวลาการประเมินที่ชัดเจน และทุกคนควรรู้ข้อกำหนดร่วมกัน ไม่ควรทำการประเมินที่ไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด นอกจากจะเป็นการประเมินที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงเรื่อยแล้ว ยังก่อให้เกิดความกดดันในระยะยาว และอาจสร้างความเบื่อหน่ายแทนที่แรงจูงใจได้ และการไม่มีกำหนดเวลาชัดเจนนั้นก็ย่อมไม่มีจุดวัดผลที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน

+ สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร :แต่ละองค์กรมักมีเป้าหมายต่างกัน หลักในการสร้างเครื่องมือการประเมินผลที่ดีนั้นคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กรเป็นหลักด้วย เพื่อสะท้อนมาสู่รายละเอียดของบรรทัดฐานการประเมิน ตลอดจนดัชชีชีวัดที่สามารถประเมินผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับทิศทางหรือเป้าหมายขององค์กรได้

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q. ทุก ๆ ปีจะมีการประเมินผลงาน ท่านใช้เกณฑ์อะไรบ้างในการประเมินผลงาน และประเมินผลอย่างเป็นธรรม

ทุก ๆ ปีจะมีการประเมินผลงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ท่านใช้เกณฑ์อะไรบ้างในการประเมินผลงาน และประเมินผลอย่างเป็นธรรม และหลังจากการประเมินผลงานเสร็จ ท่านจะมีวิธีการ Feedback ลูกน้องอย่างไร ให้ยอมรับและนำสิ่งที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ให้พนักงานท่านนั้นนำไปพัฒนา และท่านมีแนวทางอย่างไร ลองมาเล่าและแบ่งปันกันครับ

A. เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน หัวใจสำคัญคือ “ต้องประเมินในสิ่งที่เค้าทำจริง”
ปัญหาของหลายๆ บริษัท คืออาจจะประเมินตาม JD หรือประเมินตาม Pattern ที่มี แต่อย่าลืมว่า การทำงานจริงของพนักงานอาจจะไม่สอดคล้องกับหัวข้อและเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน ดังนั้นความเป็นธรรมในการประเมินคือ

1. ประเมินสิ่งที่พนักงานทำจริง

2. พนักงานมีส่วนร่วมและรับรู้การตั้งหัวข้อประเมินตั้งแต่

3. สามารถปรับเปลี่ยนได้หากมีการเปลี่ยนแปลงงานที่ได้รับมอบหมาย

ถัดมาคือในส่วนของการ Feedback มีสิ่งสำคัญ 2 สิ่ง คือ..

จุดประสงค์ของการประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal)

1.เพื่อวัดผลศักยภาพการทำงานของพนักงาน : การประเมินผลนี้จะอิงจากคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ของแต่ละตำแหน่งเป็นหลัก เพื่อทราบว่าพนักงานปฎิบัติงานได้หรือไม่ ดีกว่าหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ ทำได้เกิดหรือขาดจากลักษณะงานมาตรฐาน และอาจทำให้เห็นจุดเด่นของพนักงานแต่ละคนได้มากขึ้น รวมถึงจุดด้อยด้วยเช่นกัน

2.เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้าย : หากพบว่าพนักงานมีศักยภาพสูง ฝ่าย HR อาจเลื่อนตำแหน่งให้เหมาะสมกับความสามารถ หรือท้าทายด้วยการให้ทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ กระทั่งอาจจะโยกย้ายไปทำในแผนกอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้เช่นกัน

3.เพื่อปรับฐานเงินเดือนหรือพิจาณาโบนัส : ปฎิเสธไม่ได้ว่าเรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องที่สำคัญต่อพนักงานทุกคน และความก้าวหน้าในอาชีพอย่างหนึ่งก็คือการได้รับพิจารณาขึ้นเงินเดือนนั่นเอง ผลประเมินการทำงานจะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการขึ้นเงินได้อย่างสมเหตุสมผล รวมถึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการพิจารณาโบนัสประจำปีอีกด้วย ซึ่งมันสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิผลของงานได้เช่นกัน

4.เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน : การประเมินผลการทำงานจะทำให้ทุกคนในบริษัทรู้ถึงศักยภาพของตัวเองและรู้ถึงประสิทธิภาพของบริษัทด้วย หากไม่มีการประเมิลผลการทำงานเราอาจไม่รู้ว่าความสามารถของแต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร แต่เมื่อเห็นผลแล้วก็จะยิ่งช่วยกระตุ้นการพัฒาศักยภาพให้สูงยิ่งขึ้นต่อไปได้ด้วย

5.เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง พัฒนาจุดเด่น : ประโยชน์หนึ่งของการประเมินผลการทำงานก็คือการที่ทำให้เราได้เห็นจุดด้อยในส่วนต่างๆ ตั้งแต่เรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน ไปจนถึงเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ซึ่งเราสามารถนำปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขจุดบกพร่องให้ดีขึ้นได้ หรือหากพบจุดเด่นก็อาจช่วยส่งเสริมศักยภาพให้ดีขึ้นไปอีก อย่างเช่น การจัดอบรมพิเศษ, คอร์สเสริมทักษะ, หรือแม้แต่การส่งไปศึกษาต่อ เป็นต้น

360-degree feedback
360-degree Feedbackการประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา
ปัจจุบันกระบวนการประเมินผลการทำงานมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และได้ผลการประเมินที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด การประเมินผลในยุคนี้จะไม่ได้อยู่แค่การให้คะแนนจากหัวหน้างานหรือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าเท่านั้น แต่จะเป็น การประเมินผลแบบ 360 องศาแทน ตั้งแต่การประเมินจากหัวหน้างาน, การประเมินจากเพื่อนร่วมงาน, การประเมินจากลูกน้องใต้บังคับบัญชา, การประเมินจากแผนกอื่นที่เกี่ยวข้อง, การประเมินจากฝ่ายบุคคล, หรือแม้แต่กระทั่งการประเมินผลตัวเอง ทุกผลประเมินจากทุกมิติจะถูกนำมารวมกันเพื่อเป็นผลประเมินสุดท้ายอีกครั้ง การประเมินผลอย่างรอบด้านด้วยวิธีนี้ค่อนข้างจะสร้างความยุติธรรมในการประเมินได้เป็นอย่างดีทีเดียว และมีการถ่วงน้ำหนักจากหลายฝ่ายเพื่อไม่ให้ผลประเมินโน้มเอียงกว่าการประเมินไม่รอบด้าน

ประโยชน์สำคัญของการประเมินผลปฎิบัติงาน (Performance Appraisal)

Feedback

1.ทำให้มอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของพนักงานได้

การประเมินผลงานที่มีความถูกต้องจะนำไปสู่การจัดการที่ดีได้ เมื่อเราเห็นศักยภาพ หรือแม้กระทั่งจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละคนแล้วจะทำให้สามารถมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถรวมถึงศักยภาพของแต่ละคนได้ ซึ่งนั่นเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของบริษัทด้วย

2.สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

การประเมินผลที่สมเหตุสมผล ถูกต้อง เที่ยงตรง และยุติธรรม จะทำให้พนักงานเข้าใจศักภาพของตัวเอง เข้าใจสถานะของธุรกิจ เกิดการพัฒนาในการทำงาน วางแผนการทำงานไปให้ถูกทิศทางได้มากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนการทำงานให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น อีกด้านหนึ่งผลประเมินที่ดีย่อมส่งผลต่อการปรับเงินเดือนหรือโบนัส นั่นเป็นอีกแรงจูงใจสำคัญที่จะทำให้พนักงานพัฒนาศักยภาพของตัวเอง และมุ่งทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ท้ายที่สุดแล้วทุกคนทุกฝ่ายต่างก็สำเร็จร่วมกัน

3.สร้างความภูมิใจ และได้รับการยอมรับ

ผลประเมินที่ดีจะทำให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตน ช่วยเพิ่มความมั่นใจและมุ่งมั่นในการทำงานได้อีกด้วย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การมีผลงานที่ดียังทำให้เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น ได้รับความไว้วางใจในการทำงาน และอาจทำให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งทำให้พนักงานตั้งเป้าหมายความสำเร็จที่สูงกว่าเก่า เป็นแรงจูงใจในการทำงานที่ดี

4.ปรับโครงสร้าง ค่านิยม แนวทางขององค์กร

การประเมินผลการทำให้นอกจากจะสามารถทำให้รู้ได้ว่าการทำงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จหรือไม่ ทำให้องค์กรเดินไปตามแนวทางที่ถูกทิศหรือเปล่า ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือยัง หรือแม้แต่เป้าหมายที่วางไว้ทุกอย่างนั้นแท้จริงแล้วถูกต้องแล้วหรือยัง นอกจากจะนำมาปรับปรุงพัฒนาแล้ว บางครั้งผลการประเมินอาจทำให้เราพบว่าเดินทางมาผิด ต้องสร้างเป้าหมายใหม่ กำหนดแนวทางใหม่ หรือแม้แต่การต้องปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เช่นกัน

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q&A HR Board

Q: มีระบบการประเมินผลเพื่อจ่ายโบนัสประจำปีด้วยวิธีใดบ้าง ?

มีระบบการประเมินผลเพื่อจ่ายโบนัสประจำปีด้วยวิธีใดบ้าง และมีวิธีการการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อจ่ายโบนัสกับปรับเงินขึ้นประจำปีออกจากกัน มีตัวอย่างให้ได้ศึกษาเบื้องตันไหมคะ ขอบคุณค่ะ

 

A: การผูกระบบการตั้งเป้าและวัดผลการปฏิบัติงานเข้ากับระบบ reward and recognition

มีข้อดีและสามารถทำได้ ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทนั้น ๆ ต้องมีวิธีการวัดผลงาน (Assess or Evaluate) ที่ชัดเจน โปร่งใสมากพอ ขออธิบายแยกเป็น 3 ส่วนดังนี้ค่ะ

1. แนวคิดและเครื่องมือที่ใช้ในการตั้งเป้าหมาย (OKR, MBO, KPI หรืออื่นๆ ) ที่มีความเหมาะสมและตรงตามวัตถุประสงค์

2.การวัดผลงาน (Assess or Evaluate)

3. หลักการของการให้ผลตอบแทนหรือเงินรางวัลที่เป็นโบนัส..

Q&A HR Board

ระบบการประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal)

การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร

การประเมินส่วนข้อมูลบุคคล (Personal Data)

การประเมินผลส่วนนี้เป็นส่วนข้อมูลปฎิบัติการส่วนบุคคล เช่น การขาด ลา มาสาย หรือแม้แต่การลงโทษใดๆ ข้อมูลในส่วนนี้อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องการทำงาน หรือความสามารถ แต่เป็นส่วนสำคัญที่จะนำมาประเมินผลองค์รวม

การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Evaluation) 

การประเมินผลส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรง วัดจากผลงานเป็นหลัก ประเมินความสามารถตามหน้าที่การทำงานตามคำบรรยายงาน (Job Description) ที่กำหนดไว้ ประเมินตามทักษะงานของแต่ละคน ส่วนใหญ่เป็นการประเมินด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพ

การประเมินสมรรถนะ (Competency Evaluation)

การประเมินผลส่วนนี้จะเป็นลักษณะการประเมินศักยภาพของพนักงานที่ตรงตามความคาดหวังตามตำแหน่งนั้นๆ หรือบริษัทนั้นๆ หรือไม่ บางคนอาจมีความสามารถดี แต่ไม่มีศักยภาพในการทำงานในระดับที่สูงขึ้น ก็อาจส่งผลให้ไม่ได้รับการประเมินเลื่อนตำแหน่งได้ หรือบางคนแสดงศักยภาพในการทำงานได้โดดเด่น ก็อาจจะส่งผลต่อการเลื่อนตำแหน่งได้เช่นกัน

การประเมินผลทางเจตคติ (Attitude Evaluation)

การประเมินผลส่วนนี้จะอิงตามทรรศนะส่วนบุคคล เป็นการแสดงความคิดเห็น แสดงทัศนคติ ประเมินตามหลักจิตวิทยา ประเมินจากการปฎิบัติตน หรือประเมินตามความพึงพอใจ การประเมินแบบนี้จะเกิดจากความรู้สึกส่วนตัว ไม่มีการวัดค่าตัวเลขหรือผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน มีความอ่อนไหวสูง แต่ก็มีความสำคัญในการประเมินมากเช่นกัน

การประเมินผลที่ไร้อคติ
การประเมินที่ไม่มีตัวเลขใดๆ ชี้วัดได้ชัดเจน อย่าง ผลประกอบการ, ยอดขาย, กำไร หรือแม้แต่ การขาด, ลา, มาสาย นั้น เป็นการประเมินที่อ่อนไหวและสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหามากที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดในส่วนนี้ก็คือ “ความยุติธรรม” และ “ไม่มีอคติ” ต่อผู้ถูกประเมิน นอกจากผู้ทำการประเมินแล้ว ฝ่าย HR เองก็ควรจะเป็นตัวกลางในการตรวจเช็คข้อมูล ตรวจสอบข้อเท็จจริงควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในกระบวนการประเมินผลนี้ให้มากที่สุด หรือถ้าเป็นหน้าที่ของฝ่าย HR เอง ก็ต้องกระทำอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และเป็นกลางที่สุด เพราะเรื่องละเอียดอ่อนนี้สามารถสร้างปัญหาใหญ่กับบริษัทได้เช่นกัน

บทสรุป

การประเมินผลการทำงานนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) อย่างยิ่ง นอกจากจะใช้ประเมินความสามารถตลอดจนศักยภาพของพนักงานแล้ว การประเมินผลนี้ยังถือเป็นแรงจูงใจสำคัญของการทำงานเลยทีเดียว รวมถึงมีผลต่อการประเมินการตอบแทนจากบริษัท ตั้งแต่เงินเดือน ไปจนถึงโบนัส ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นแรงกระตุ้นชั้นดีที่จะทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดต้องประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา เที่ยงตรง ถูกต้อง ชัดเจน และไม่อคติ เพื่อเกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายด้วย

HREX ปรึกษา HR Solution

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง