เพราะความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตอนนี้เราอยู่ในยุคแห่งความ Uncertainty ไม่สามารถคาดการณ์อะไรได้ หากเปรียบเทียบกับเมื่อ 30-40 ปีก่อน เราอาจพอจะคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ ณ วันนี้ เราไม่สามารถคาดการณ์ได้อีกแล้ว แม้กระทั่งในปีนี้เองก็ยังยากที่จะคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง
แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้นั่นคือ “การเรียนรู้” เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน และอะไรคือทักษะสำคัญที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้นั้น ? เพื่อนำมาพัฒนาตัวเองทั้งด้านการทำงานและการใช้ชีวิต สิ่งนั้นก็คือทักษะในการเรียนรู้หรือ Learning Agility เพื่อนำมาปรับใช้ให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้นั้น พอจะมีแนวทาง 4 อย่าง ดังนี้
1. แยกความแตกต่างระหว่าง Studying กับ Learning ให้ได้
คำว่า Studying คือคำที่เราใช้มาตลอดตั้งแต่เป็นเด็กๆ มันคือการที่เราถูกปูมาว่าต้องเรียนรู้อะไร เป็นสิ่งที่มีคนมาเสิร์ฟให้เราโดยที่เราไม่ต้องขวนขวาย แตกต่างจากคำว่า Learning ที่เริ่มต้นจากตัวเราเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบอกเรา เช่น การค้นหาความรู้จากการ take course หรือฟัง podcast หรือไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ หรือ Set ตัวเองทุกวันว่าฉันจะต้องเรียนอะไรบ้างในวันนี้ ซึ่งจะนำไปสู่คำว่า Learning Agility ที่หมายถึง ความคล่องตัวในการเรียนรู้ หากรู้สึกว่ามีความคล่องตัวในการเรียนรู้ เราก็จะสามารถ move ตัวเองจาก Studying เป็น learning ได้
ไม่จำเป็นต้องใจร้อนคิดไปว่าเราต้องมีให้ครบทุกทักษะ สิ่งแรกที่ต้องมี คือให้ตัวเองได้มีความอยากเรียนรู้ก่อน เรียนแล้วเอามาใช้ และที่สำคัญคือ อย่าเลือกรูปแบบการเรียนรู้เพียงรูปแบบเดียว เพราะมันจะจบแค่นั้น แต่ให้ศึกษาหลายๆช่องทาง เพื่อเพิ่มความหลากหลาย แล้วนำมาปรับใช้
2. เรียนรู้จากหลายช่องทางเพื่อเพิ่ม New Skill ไม่ใช่ New Knowledge
ไม่มีอะไรเพียงอย่างเดียวที่จะทำให้เราเกิดพัฒนาในการเรียนรู้ได้ อย่างเช่น หากเราอยากเสริมทักษะตัวเองด้วยการเรียนผ่านคอร์สออนไลน์ นั่นอาจให้เพียง New Knowledge แต่ไม่ได้ให้ New Skill วิธีที่ดีที่สุดคือเราต้อง Blended ความรู้เหล่านั้น เรียนรู้จากหลายๆช่องทาง เทคคอร์สอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องไปเรียนรู้ค้นหาเพิ่มเติมด้วยว่ามี case study อะไรที่ประสบความสำเร็จแล้ว แล้วไปศึกษาจากสิ่งนั้นนำไปประยุกต์กับตัวเองและต่อยอดต่อไป เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ สามารถเรียนแบบ offline และ online ไปพร้อมๆกันได้ เพราะไม่มีแหล่งการเรียนรู้เดียวที่จะทำให้เกิดการ Learning ที่แท้จริงได้
3. รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองแล้วหา Passion ให้เจอ
เข้าใจธรรมชาติของตัวเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง คนเราแต่ละคนมีวิธีในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น บางคนเรียนรู้โดยการอ่านค้นคว้าคนเดียว บางคนชอบเรียนรู้ผ่านการพูดคุยกันเป็นกลุ่ม เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งที่เราเรียนรู้คืออะไร และจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร นอกจากจุดแข็งแล้วเรามี passion กับอะไร
4. ออกแบบชีวิตด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องรอผู้นำ
ในฐานะผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเชื้อเชิญให้ทุกคนต้องหมกมุ่นกับคำว่า Reskill – Upskill แต่เชื้อเชิญให้ทุกคนมาออกแบบชีวิตตัวเองดีกว่า ผู้นำต้องทำให้คนในองค์กรรู้สึกอยากออกแบบชีวิตของตัวเอง กลับมาเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง แล้ววิ่งไปตามเส้นทางใหม่ โดยไม่ต้องรอให้คนอื่นมาบอกว่าต้องทำอะไร ผู้บริหารคือเชียร์ลีดเดอร์ ไม่ใช่คนสั่งแต่เป็นคนเสิร์ฟ อำนวยความสะดวกและทำให้พนักงานรู้จักตัวเองให้ดีที่สุด ดึงจุดแข็งของแต่ละคนออกมา เพราะทุกคนมีสิทธิ์ออกแบบชีวิตตัวเองได้โดยไม่ต้องรอผู้นำ
ทั้งหมดนี้ก็พอจะทำให้เห็นได้ว่าในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง และ Uncertainty เราไม่สามารถคาดการณ์ความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ “การเรียนรู้” เป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่ได้สำคัญเฉพาะแค่ระดับปัจเจกบุคคล แต่ส่งผลไปถึงในระดับองค์กร และระดับประเทศ สุดท้าย คำถามว่า “คนที่เริ่มต้นเรียนรู้ตอนนี้ถือว่าสายเกินไปไหม ? “ คำตอบก็คือ ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเรียนรู้ แต่เมื่อเราเริ่มต้นที่จะเรียนรู้แล้วก็ขอให้อย่าหยุด แต่ให้ทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้จะเอาชนะความไม่แน่นอนในอนาคตได้อย่างแน่นอน!
HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้
Q: เทรนด์การเรียนรู้ของพนักงานที่เรียก learning in the flow of work คืออะไร