Search
Close this search box.

‘ความฝันที่จำได้ตอนอายุ 33’ ฟังกูรูเล่าเรื่อง ความใส่ใจในการทำงานของคนไทยและญี่ปุ่น KATE×JACK

เราจะนำเสนอการพูดคุยกันระหว่าง ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ (คุณ เกด) หรือที่เราจะรู้จักกันดีในชื่อ เกตุวดี Marumura ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนการตลาดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเชี่ยวชาญด้าน HR อีกท่านคือ CEO ของ บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ Asian Identity คุณ Jack Nakamura

ก่อนจะมาทำงานปัจจุบัน คุณเกตุวดีได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลา 8 ปี นอกจากเป็นอาจารณ์สอนในมหาวิทยาลัยแล้ว ยังได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่ม เช่น Japan Gossip-เม้าท์ญี่ปุ่นให้คุณยิ้ม

ส่วนคุณ Jack หลังจากที่ทำงานด้าน HR ในญี่ปุ่นมานาน เมื่อ 4 ปีที่แล้วจึงได้เริ่มธุรกิจการให้คำปรึกษาด้านการจัดการที่ไทย คอยสนับสนุนทั้งบริษัทไทยและญี่ปุ่น

สิ่งที่ทั้งสองท่านเหมือนกันก็คือ รู้และเข้าใจในประเทศไทยและญี่ปุ่นเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์ในงานด้านHRเป็นอย่างมาก

ด้วยความที่มีจุดร่วมเหมือนกันนี้ ทั้งคู่จะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับทั้งสองประเทศอย่างไร

เราจะมาฟังทั้งคู่พูดถึง ความเหมือนและแตกต่างของทั้งสองประเทศ และค่านิยมที่มีต่องาน

แนะนำบุคคล : Kritinee Pongtanalert,Ph.D(Kate)|CHULALONGKORN BUSINESS SCHOOL Marketing Lecturer

อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เคยไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยโกเบ คณะเศรษฐศาสตร์ และจบปริญญาเอกด้านบริหาร ปัจจุบันเป็นอาจารณ์อยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เขียนบทความลงบล็อกที่มีผู้ติดตามมากกว่า 7.5 หมื่นคน คอยสอน ‘ความหมายของการมีชีวิตอยู่ (อิคิไก)’ ‘จิตวิญญาณการบริการ (Omotenashi)’ ‘ปรัชญาในการบริหาร’

ความฝันที่จำได้ตอนอายุ 33  ‘อยากทำประโยชน์ให้ประเทศไทย’

 

 

 

อาจารณ์เกดไปเรียนที่ญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงสิบปี หลังจากนั้นก็กลับมาทำงานที่ไทยใชไหมครับ อยากถามว่าอะไรคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ไปเรียนที่ญี่ปุ่นครับ

 

 

 

 

คิดว่าสิ่งที่ไปเรียนรู้จากญี่ปุ่นจะนำมาใช้ประโยชน์ที่ไทยได้ ญี่ปุ่นเป็นที่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนไทย

นอกจากนั้น ส่วนตัวก็เป็นคนที่สนใจในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมากค่ะ ก่อนจะไปเรียนต่อก็คิดว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ ‘คนยังใส่กิโมโนกันอยู่’ ‘ยังมีคนไปดูคาบูกิ’ แต่อีกด้านหนึ่ง ‘ก็เป็นประเทศที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างมากเช่น บริษัท SONY SoftBank หรือTOYOTA’ ตัวเองเลยมีความสงสัยว่า ‘ทำไมญี่ปุ่นถึงสามารถทำตามขนบธรรมเนียมที่สืบต่อกันมาไปพร้อม ๆ กับสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้’

ก่อนไปญี่ปุ่นก็อ่านหนังสือเยอะนะคะ ก็เข้าใจแค่ว่า ‘คนญี่ปุ่นไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นของตัวเอง มีความอดทนสูง’

แต่พอได้ไปใช้ชีวิตอยู่ 8 ปีก็ค่อย ๆ เข้าใจทีละนิดว่า ‘มันเป็นแบบนี้เอง เริ่มเข้าใจคนญี่ปุ่นด้วยตัวเองแล้วมากขึ้นแล้ว’

อย่างเช่น เรื่องเมื่อตอนที่เกดอยู่ชมรมกีต้าร์ ตอนนั้นก็รู้มาจากหนังสือว่า ‘คนญี่ปุ่นเป็นคนที่พยายามอย่างมาก’ แต่ความเป็นจริงจะเป็นแบบนั้นรึเปล่า ก็ไม่แน่ใจ

พอได้เข้าไปที่ชมรมก็รู้ว่า คนญี่ปุ่นเป็นแบบนั้นจริงๆ ทุกคนซ้อมกีต้าร์จนถึงสามทุ่ม บางทีซ้อมจนเลือดออกจากนิ้วเลยก็มี เลยทำให้เข้าใจว่า คนญี่ปุ่นเป็นคนที่พยายามมาก ๆ เลยค่ะ

 

 

 

 

มีหลายเรื่องที่ถ้าไม่ไปเจอด้วยตัวเองจะไม่รู้สินะครับ แล้วหลังจากกลับมาไทยทำอะไรครับ?

 

 

 

 

เกดมีความคิด ‘อยากทำประโยชน์ให้ประเทศไทย’ จึงเลือกไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น แต่พอกลับไทยมา ก็วุ่นวายกับการปรับตัวในไทย

และยังขอมหาวิทยาลัยพักจากการเรียนปริญญาเอก ตอนนั้นรู้สึกเคว้งคว้างมาก มองไปข้างหน้าก็ไม่เห็นอะไร ความฝันที่มีก็หายไป ไม่รู้จะทำอะไรเลยค่ะ

แต่พอได้เริ่มเป็นอาจารณ์สอนที่มหาลัย ความคิดเริ่มเปลี่ยนไปค่ะ

เริ่มรู้สึกถึงความหมายของตัวเองหรือเรื่องที่ตัวเองจะทำได้ นั้นก็คือ ‘อยากสอนให้เด็กๆ เรียนการตลาดได้อย่างสนุกค่ะ’ สิ่งนี้กลายเป็นความหมายในการใช้ชีวิตของตัวเองไปเลย

นอกจากนั้น ตัวเองได้มีโอกาสเขียนหนังสือเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้ง เคยได้รับฟีดแบ็คจากเจ้าของธุรกิจที่อ่านหนังสือว่าธุรกิจเขาเติบโตด้วยดีเพราะสิ่งที่เขียน ทำให้รู้สึกดีใจมากที่ความรู้ที่มีทำให้คุณภาพธุรกิจของไทยเติบโตขึ้น

ตอนอายุ 33 นี้เองที่ทำให้จำได้ว่าเคยมีความฝันอะไร ฝันที่ว่าอยากทำประโยชน์ให้กับประเทศไทย และทำให้ฉันรู้สึกว่าความหมายของการมีชีวิตอยู่ของฉันค่อยๆเพิ่มมากขึ้น

ตอนนี้ มีเป้าหมายกำลังศึกษากรณีตัวอย่างการทำธุรกิจของคนญี่ปุ่น เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคนไทยเพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนค่ะ

 

 

 

 

เป็นเรื่องที่ดีมากนะครับ

ผมคิดว่าญี่ปุ่นกับไทยมีวัฒนธรรมหลายอย่างที่เหมือนกัน อย่างเช่น ในภูมิภาคนี้ ประเทศที่ไม่ได้เป็นอาณานิคมของประเทศอื่นก็มีแค่ไทยและญี่ปุ่น

นอกจากนั้นไทยและญี่ปุ่นมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและให้ควาเคารพที่เหมือนกันคือ ไทยมี ‘พระมหากษัตริย์’ ญี่ปุ่นมี ‘สมเด็จพระจักรพรรดิ’ ทำให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีมาตลอดครับ และเรายังมีตัวหนังสือที่เป็นลักษณะเฉพาะคล้ายๆ กัน ทำให้รู้สึกใกล้ชิดกันมากครับ

ในปัจจุบัน ก็มีบริษัทจากญี่ปุ่นจำนวนมากที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทำให้ธุรกิจและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศขยายตัว

พออยู่ใกล้กันก็มองหาแต่ความแตกต่างแต่ถ้าให้มองในมุมของ ‘วัฒนธรรม‘ ผมว่าไทยกับญี่ปุ่นคล้ายกันมากครับ เพราะเช่นนี้ เราถึงเข้ากันได้ง่าย และความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็ดีมาตลอดด้วยครับ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการจัดการคือ ต้องแยกระหว่าง ‘จุดประสงค์’ และ ‘สุนทรียศาสตร์’

 

 

 

งั้นดิฉันขอถามคุณแจ๊คกลับบ้างนะคะ ในบรรดาคนญี่ปุ่นที่ดิฉันเคยเจอ คุณแจ๊คเป็นคนที่ ‘ดูไม่เหมือนคนญี่ปุ่นที่สุดเลยค่ะ

ในฐานะที่คุณมาอยู่ไทยสี่ปีกว่าแล้ว มีอะไรเปลี่ยนไปบ้างไหมคะ?

 

 

 

 

ค่อนข้างเปลี่ยนไปนะครับ อย่างเช่น ที่ไทยจะมีวัฒนธรรม “สบายๆ” ใช่ไหม มันทำให้ผมกลายเป็นคนชิลล์ ๆ ไปเลย

ถ้าถามว่าชิลล์ยังไง สมมติที่ไทยเวลาจะทานอาหารกัน จะจองร้านกัน ณ เวลานั้นเลย ทำอย่างนี้ที่ญี่ปุ่นไม่ได้ครับ

ถ้าญี่ปุ่น คุณต้องเลือกร้าน ถามจำนวนคนที่ไปล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ครับ หากคุณจองภายในวันนั้นจะดูไม่ดี ยิ่งไปทานกับคนสำคัญครับ

เพราะงั้น ตอนที่ผมชวนอาจารณ์เกดไปทานข้าว ผมคือคนชวนแท้ๆ แต่พอถึงวันนัด ผมยังไม่ได้จองร้าน ต้องให้อาจารณ์เป็นคนถามขึ้นมา คนญี่ปุ่นทั่วไปคงวางแผนมากกว่านี้

ผมว่าพออยู่เมืองไทยนานขึ้น ความคิดแบบคนญี่ปุ่นจะค่อยๆ หายไปนะ

 

 

 

 

อีกในแง่หนึ่งก็คือรู้สึกอิสระมากขึ้นใช่ไหมคะ?

 

 

 

 

จะว่าไปก็ใช่ครับ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีนะ ผมมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น ผลคือ ผมอ่อนโยนขึ้น

ไม่ค่อยโกรธหรือมีบรรยากาศตึงเครียดใส่ลูกน้องแล้ว รู้สึกใจสงบมากขึ้นนะ จริงๆแล้วมีด้านดีๆเยอะเลยนะครับ

แต่ก้ต้องคอยระวังด้านลบ ๆ อย่างเรื่องที่ไม่มีการวางแผนทำอะไรแบบๆ สุ่มๆ ไปก่อนครับ

 

 

 

 

แล้วมีเรื่องไหนบ้างไหมคะ ที่คุณแจ๊คยังคงความเป็นญี่ปุ่นอยู่

 

 

 

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทำทุกอย่างให้เต็มที่ให้ดีที่สุดครับ

การทำทุกอย่างให้ดีที่สุดไม่ใช่ว่าจะต้อง ‘ทำงานโต้รุ่ง’ นะครับ ผมคนนึงล่ะที่ไม่ขอทำ (หัวเราะ)

สมมติเวลาเราทำงานเอกสารหรือผลิตอะไรสักอย่าง ถ้าเราไม่ทำให้เต็มที่ เราก็จะไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว เราทำอะไรได้ และอะไรบ้างที่ยังไม่พอ แล้วเราก็จะไม่เติบโตครับ

ขั้นตอนการทำงานของคนญี่ปุ่นมีรายอะเอียดเยอะและค่อนข้างเข้มงวด ผมเรียนรู้การจัดการเอกสาร และพื้นฐานการทำธุรกิจให้คำปรึกษาจากขั้นตอนนี้

แต่ว่าประเทศอื่นนอกจากญี่ปุ่นไม่มีใครทำงานเข้มงวดขนาดนี้ ถ้าเผลอไปจะทำให้ตามงานไม่ทันได้ ผมว่าญี่ปุ่นทำงานกันละเอียดไปครับ

กับพนักงานคนไทย ถ้าดูเนื้องานแล้วรู้สึกว่ายังมีส่วนที่ขาดอยู่ ใจผมก็อยากจะพูดกับเขานะว่า “ที่ทำอยู่ยังใช้ไม่ได้นะ” แต่ถ้าพูดออกไปอาจจะทำให้เขาโกรธแล้วทำให้แรงจูงใจในการทำงานลดลงได้ ผมเลยต้องพูด “แค่นี้ก็โอเคแล้วมั้ง” แทน

แต่ผมก็คิดว่าไม่ดีนะ เพราะถ้าเราจะคิดถึงผลลัพธ์ของงาน หากจำเป็นจริง ๆ ก็ควรจะพูดไป เราควรจะก้าวผ่าน วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ แล้วคิดถึงความเป็นมืออาชีพ

เหมือนกับนักกีฬาชั้นนำของโลกแหละครับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ซ้อมอย่างเต็มที่ เพราะงั้นถ้าไม่พูดซ้ำๆ ทั้งเราและพนักงานก็จะทำงานกันแบบลวก ๆ และนั่นจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะยอมให้เกิดขึ้น เพราะมันจะทำให้เกิดความขัดแย้งครับ

ผมเคยได้ยินเรื่องแบบเดียวกันจากที่โรงงานผลิตนะ

เขาก็มีความกังวลว่าถ้าไม่ใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็จะเกิดความผิดพลาด ท้ายที่สุดจะผลิตของไม่ดีออกมา แต่พอเราไปพูดกับทีมมาก ๆ พวกเขาก็อาจจะไม่อยากทำงานต่อ

‘พูดแค่นี้ละกันเดี๋ยวจะโดนเกลียดเอา’ ‘แต่ก็กลัวจะผลิตของไม่ได้คุณภาพออกไป’ ผมคิดว่าคนญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในไทยคงจัดการปัญหานี้กันอย่าง ‘พอเหมาะ’ เพราะทุกคนมีความกังวลในเรื่องนี้เหมือนกัน

สิ่งที่ผมเรียนรู้จากวิธีการจัดการให้พอเหมาะพอดีคือ การแยก ‘ส่วนที่จำเป็นกับเป้าหมาย‘ กับ ‘ส่วนที่เป็นสุนทรียศาสตร์สำหรับเรา‘ ออกจากกัน

ถ้าเป็นส่วนที่สุนทรียะสำหรับเรา ผมก็จะไม่บังคับอะไรลูกน้องมาก เพราะยังไงก็เป็นความชอบของเรา แต่ถ้ามันคือส่วนที่จำเป็นสำหรับเป้าหมาย ผมก็จะเรียกความมั่นใจให้ตัวเอง แล้วบอกกับลูกน้องว่า ‘อยากให้ทำแบบนี้มากกว่า’

การแยกการจัดการออกเป็นแบบนี้ คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ครับ

 

 

 

 

ถ้าความสุนทรียะของตนไม่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็จะยอมลดส่วนนั้นลงเลย คนที่คิดแยกการจัดการแบบนี้เป็นคนที่คิดไกลจริงๆ นะคะ

อะไรคือสิ่งสำคัญสำหรับการเป็นคนที่มีคุณภาพ?

 

 

 

อาจารณ์เกด พัฒนาตนเองอย่างไรในฐานะอาจารณ์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยครับ?

 

 

 

 

เกดไม่เคยคิดอยากจะพัฒนาตัวเองเท่าไหร่นะคะ

ลองมานึกย้อนกลับไปดูแล้ว เหมือนที่ทำมาไม่ใช่เพราะว่าอยากจะพัฒนาตัวเองโดยตรงนะคะ เพียงแต่ เอาเรื่องการสอนของตัวเองมาพิจารณาดูอีกครั้งก็รู้สึกว่า การสอนของวิชานี้ดีขึนกว่าปีที่แล้วนะ ประมาณนี้ค่ะ

แต่ตัวเองมีเรื่องที่อยากทำอยู่นะคะ อย่างเรื่อง ‘อยากทำประโยชน์ให้ประเทศไทย’ หรือ ‘ไปออกทีวีเพื่อได้พูดสิ่งนี้ให้ทุกคนรับรู้’

นั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าการพัฒนาก็ได้ แต่ฉันคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เชื่อมไปถึง ‘การทำอะไรสักอย่างเพื่อทุกคน’ ค่ะ

เกดไม่ใช่คนที่ ถ้ามีเป้าหมายอยู่ตรงนี้ ก็ต้องลงมือทำแบบนี้ สำหรับเกด คงมีความรู้สึกอยากทำอะไรให้กับคนรอบตัวมากกว่าค่ะ

อย่างเช่น ตอนที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้ง ได้ฟีดแบ็คจากผู้บริหารท่านหนึ่งว่า ได้ไอเดียจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ แล้วนำไปทำสินค้าของตนเอง พอได้ยินแบบนั้น ก็รู้สึกดีใจมาก ที่หนังสือของตัวเองทำให้เกิดสินค้าใหม่ขึ้นมา ทำให้รู้สึกอยากจะพยายามให้มากกว่านี้

คงพูดได้ว่า ไม่มีความรู้สึกที่อยากจะพัฒนาตัวเอง ไม่ค่อยมีเป้าหมายที่แน่ชัด แต่สิ่งที่เกดมีและพยายามทำเป็นอันดับต้นๆ เลย น่าจะเป็นความรู้สึกที่อยากทำอะไรที่ช่วยเหลือคนรอบข้างค่ะ

 

 

 

 

อาจารณ์เกดคิดว่า คนไทยท่านอื่นมีความคิดแบบเดียวกับอาจารย์หรือเปล่าครับ หรือแตกต่างออกไป

 

 

 

 

ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ)

 

 

 

 

เมื่อพูดถึงการพัฒนาบุคคลทำให้ผมคิดถึงหนังสือ ‘High Flyers’ ของ McCall ที่พูดถึงการเติบโตของนักธุรกิจว่า จำเป็นต้องมี ประสบการณ์ที่ยากลำบาก ‘ถ้าไม่เจอความยากลำบากจะไม่เติบโต‘ ครับ

พอคิดแบบนั้นแล้วก็ทำให้รู้สึกว่า คนญี่ปุ่นชอบเดินเข้าหาความยากลำบากด้วยตัวเอง เลยทำให้พัฒนาได้ง่าย แต่อีกด้านนึงก็เป็นการทำร้ายตัวเองนะครับ ผมว่าการรักษาสมดุลคือสิ่งที่ดีที่สุด

ตั้งแต่เมื่อก่อนแล้ว สตอรี่ในภาพยนตร์หรือการ์ตูนที่คนญี่ปุ่นชอบมักจะพูดถึงเรื่อง ‘ทนกับความลำบากในวันนี้ จะประสบความสำเร็จในวันข้างหน้า’ เลยทำให้กลายเป็นส่วนนึงในการใช้ชีวิตไป

อีกด้าน เมื่อเห็นการเติบโตของคนไทยแล้ว ผมรู้สึกได้ว่าคนไทยเป็นคนที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ทุกที่ และไม่มีกำแพงระหว่างประเทศ คนจากหลายๆที่เลยเริ่มเข้ามาในไทยมากขึ้น การแข่งขันเริ่มสูงขึ้น

ผมไม่อยากให้คนไทยหนีจากความลำบาก เพราะมันจะส่งผลไปถึงการแข่งขันกับนานาประเทศในอนาคตครับ

เพราะไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ผมเองยังรู้สึกว่าอยากอาศัยอยู่ที่นี่เลยถ้าทำได้ ผมไม่ค่อยเจอเรื่องลำบากเลยนะครับตั้งแต่มาอยู่ที่นี่

ลำบากมากไปก็ไม่ดี ควรจะสร้างความลำบากให้ตัวเองบ้าง ไม่งั้นจะไปแข่งขันกับใครไม่ได้ เหมือนกับความคิดที่ว่า ‘ออกจากคอมฟอร์ทโซนของตัวเอง’ ครับ

โลกธุรกิจคือการแข่งขัน สิ่งสำคัญคือ เราควรลองสู้กับความลำบากดูก่อน ผมว่านี่คือสิ่งที่คนไทยจำเป็นจะต้องมีนะ

แน่นอนว่าไม่ใช่คนไทยทุกคนนะครับ คนวัยหนุ่มสาวสมัยนี้ก็มีความกระตือรือร้นที่จะออกมาจากคอมฟอร์ทโซนของตัวเอง ขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคนนะครับ

อย่างพนักงานบริษัทของผมเองจะเป็นคนที่ออกมาจากคอมฟอร์ทโซนเสียส่วนใหญ่ครับ

 

 

 

 

สร้างความลำบากให้พอดี เป็นความคิดที่ดีในการพัฒนาตนเองนะคะ

ถ้าเศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น การแข่งขันคงเพิ่มมากขึ้้นด้วย

แต่เกดก็คิดว่าเราไม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องการแข่งขันเพียงอย่างเดียว

เรื่องที่เกดมักจะพูดในคลาสเรียนคือ ก่อนจะเข้าใจการแข่งขันกับบริษัทอื่นเราควรเข้าใจตัวเราก่อน และนำความเข้าใจนั้นไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ถ้าเราสนใจแต่การแข่งขัน ก็เหมือนกับการมองคนอื่นมากเกินไปจนตัวตนของเราค่อยๆ จางหายไป

และทำให้เรามองไม่เห็นเรื่องของลูกค้า จุดแข็งของบริษัทเรา หรือแผนการที่วางไว้ หากเราเข้าใจว่าเราทำอะไรให้ลูกค้าได้ จะทำให้เราค้นพบคำตอบดีๆ กลับมาค่ะ

อยากให้ในไทยมีการแข่งขันทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

 

 

 

อาจารณ์เกดสอนอยู่ที่จุฬาใช่ไหมครับ ที่นั้นมีแต่เด็กๆที่เป็นระดับท๊อปของไทยเลย ตอนนี้พวกเขาอยากทำอะไร?

 

 

 

 

แบ่งออกได้สามกลุ่มค่ะ

กลุ่มแรกคือคนที่ยังไม่ได้ทำอะไรมากแต่คอยไล่ตามฝันของตัวเองอยู่ กลุ่มที่สองคือคนที่อยากทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่สังคม และกลุ่มสุดท้ายคือคนที่อยากจะตั้งตัวได้ไวๆ คอยทำงานเก็บเงินเพื่อให้สบายในอนาคตค่ะ

 

 

 

 

ถ้าคิดถึงอนาคตไทยใน 10 ปีข้างหน้า เด็กรุ่นนี้จะสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมายังไงคือเรื่องที่น่าคิดนะ

หลายปีที่ผ่านมานี้ไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศหรือดึงแบนรด์ต่าง ๆ เข้ามามากมายทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตขึ้น แต่ถ้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทยผมว่ายังไงก็คือการท่องเที่ยว

แต่ตอนนี้ก็พยายามที่จะเปลี่ยนอยู่ใช่ไหม อาจารณ์เกดคิดว่าเด็กๆจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ไหมครับ?

 

 

 

 

เกดคิดว่าศักยภาพของเด็กจุฬาฯ ในตอนนี้มีเยอะค่ะ
ถ้าคิดอยากจะลงมือทำอะไรก็จะทำอย่างเต็มที่แสดงพลังออกมา ยิ่งถ้าปล่อยให้เด็กทำอย่างมีอิสระ งานที่ได้จะมีคุณภาพที่สูงมากค่ะ

อย่างเช่น ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จะจัดงานละครขึ้นทุกปี เด็ก ๆ จะจัดการเองทุกอย่าง ทั้งบท การแสดงละคร ดนตรี หรือการแสดงรำบนเวที และคุณภาพของงานที่ออกมามีความเป็นมือโปรฯ มากค่ะ

จากนั้นก็ติดต่อหาสปอนเซอร์มาช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายประมาณสองแสนบาท ค่อนข้างเป็นยอดที่สูงอยู่นะคะ
ระหว่างการแสดงดนตรีหรือการแสดงละครจะมีการโฆษณาให้กับสปอนเซอร์บ้างค่ะ จริงๆ แล้ว ลูกศิษย์ของกดเป็นเด็กคณะพาณิชยศาสตร์นะคะ ทุกวันก็จะเรียนแต่การทำบัญชี มาร์เก็ตติ้ง และสถิติ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เด็กๆ มีความสนใจพวกเขาก็จะทำกันอย่างเต็มที่เลยค่ะ

จริงๆ ก็อยากให้เด็ก ๆ เอาพลังตรงนั้นมาใช้กับการเรียนด้วย (หัวเราะ)
แต่สิ่งที่เด็ก ๆ จะได้จากการจัดกิจกรรมแบบนี้ก็มีเยอะค่ะ ทั้งเรียนรู้การวางแผน ทักษะการจัดการให้เป็นระบบ หรือความสามารถในการบริหารการตลาด

แล้วยังมีนิสิตหญิงคนนึงมาขอฉันว่าอยากลองจัดคอนเทสต์เกี่ยวกับธุรกิจ SE (Social Enterprise)ที่จุฬาฯ ดู ซึ่งกิจกรรมแบบนี้กำลังได้รับความสนอย่างมากทั่วโลก และงานนั้นก็กำลังจะได้จัดในเร็วๆ นี้ค่ะ

จากความคิดและการจัดการของนิสิตหญิงเพียงคนเดียวสามารถทำให้งานแบบนี้เกิดขึ้นมาได้ ถ้าเป็นฉันในช่วงอายุเดียวกับเธอ คงไม่มีความกล้ามากพอที่จะทำแน่ๆ เพราะฉะนั้น ถ้าลองให้เด็กสมัยนี้คิดที่จะทำอะไรอย่างอิสระแล้ว พวกเขาก็จะแสดงศักยภาพที่มีออกมาอย่างยอดเยี่ยมแน่นอนค่ะ

 

 

 

เด็กๆ มีความสามารถมากเลยนะครับ ผมคิดว่าทักษะด้านการบันเทิงของคนไทยไม่แพ้ที่ไหนในโลกเลย อย่างการจัดปาร์ตี้แต่ละครั้ง คนไทยก็ทำออกมาได้ดีมากทีเดียว ผมว่าตรงส่วนนี้คนญี่ปุ่นสู้ไม่ได้ โฆษณาของไทยเองก็ได้รับรางวัลจากทั่วโลกมากมาย และน่าสนใจตรงที่ธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์หรือการเอ็นเตอร์เทนมีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ

ถ้าพูดถึงเรื่อง ‘การแข่งขันของประเทศ’ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตด้วยอุตสาหกรรมการผลิต หลังจากนั้นก็ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมITจนกลายเป็นประเทศหลักๆในโลกที่มีความล้ำยุคทางด้านเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบันนี้ประเทศที่ก้าวหน้าด้านITที่สุดคงจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือจีน

อีกด้านก็คิดถึงไทยว่าต่อจากนี้ควรจะเน้นด้านไหนเพื่อให้ออกไปแข่งขันกับนานาประเทศได้ ผมคิดว่าไทยน่าจะสร้างธุรกิจที่มีการแข่งขันมากขึ้นกว่านี้ครับ
อย่างเช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบริการจองโรงแรมอย่าง Agoda หรือ บริการเรียกแท็กซี่อย่าง Grab ผมว่าที่ไทยบริการแบบนี้ยังไม่ค่อยบูมเท่าที่ควรครับ

 

 

 

 

ถ้าเรื่องนั้น คงเป็นเพราะว่ายังมีคนไทยจำนวนมากที่ไม่ค่อยเดินทางออกนอกประเทศเท่าไหร่  บริษัทก็ยังมุ่งสนใจแต่การทำธุรกิจภายในประเทศ

 

 

 

 

ให้พูดตามความจริงก็ใช่นะครับ ที่เคยเจอมาคนไทยไม่ค่อยอยากออกไปทำงานต่างประเทศกันเท่าไหร่

อย่างลูกค้าของผม เขาจะมีฐานการผลิตอยู่ใน ASEAN ค่อนข้างเยอะ แล้วเขาก็จะมีการช่วยเรื่องพัฒนาบุคลากรอยู่แล้ว แต่ถ้ามีโปรเจคใหญ่เมื่อไหร่ ก็จะมีการส่งคนไปทำงานตามประเทศนั้นๆ บ้างครับ เช่น ส่งคนสิงคโปร์ไปประจำที่อินโดนีเซีย ส่งคนเวียดนามไปที่ไทยบ้าง ทุกประเทศก็จะตอบ OK กันนะ แต่คนไทยจะตอบ NO กันค่อนข้างเยอะ เช่น ถ้าผมบอก ‘จะส่งไปทำงานที่อินโดสามปี’ ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มตอบปฏิเสธครับ

ถ้าปฏิเสธโอกาสดี ๆ แบบนี้ ก็จะเสียโอกาสในการทำงานร่วมกับทั่วโลกไปด้วย ในส่วนขององค์กรต่างๆเองก็ไม่สามารถกำหนดแผนพัฒนาบุคลากรในระดับหัวหน้าสำหรับคนไทยได้ ผมว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากเลยครับ
แต่ถ้าคุณอยากจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานไปอีก 10 ปี 20 ปี 30 ปี ผมว่าควรสั่งสมประสบการณ์ในส่วนนี้ไว้นะครับ

สำหรับผม คนไทยเป็นคนที่มีเสน่ห์ สามารถดึงดูดคนอื่นให้เข้ามาหาได้มากมาย ผมว่าคนไทยเป็นคนที่มีทักษะด้านการเป็นผู้นำที่ดีนะ
นอกจากนั้น ถ้าเป็นเรื่องที่น่าสนุกคนไทยจะลงมือทำโดยที่ไม่มัวมานั่งกังวลเรื่องของความเสี่ยง จะทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากลักษณะที่พูดไปคนไทยเป็นคนที่เหมาะกับการเป็นผู้บริหารนะครับ

เหมือนที่ผมได้พูดไปเมื่อสักครู่นี้ คนไทยอาจจะเป็นคนที่มีความครีเอทีฟสูงที่สุด และมีความน่าสนใจที่สุดในเอเชียเลยก็เป็นได้
หากคิดถึงความสามารถในการแข่งขันของคนไทยในอีกสิบปีข้างหน้า ผมว่าควรจะโฟกัสที่จุดแข็งตรงนี้และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อไปครับ ผมเองก็อยากคอยช่วยเหลือให้คนเอเชียดึงศักยภาพที่มีออกมาให้ได้เต็มที่

และเพื่อการนั้น ผมอยากจะบอกคนไทยว่า ควรออกมาจากคอมฟอร์ทโซนของตัวเอง และท้าทายกับสิ่งใหม่ๆ ดูครับ!


การ์ตูนเชิงธุรกิจที่เขียนโดย คุณแจ็คและคุณเกด『Su Su Pim!』

ที่กำลังวางจำหน่ายนั้นได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในร้านค้าและออนไลน์!Pim ตัวเอกของเรื่องนั้นก็ได้เติบโตขึ้น ระหว่างที่ประสบปัญหาในการทำงาน มีเรื่องราวความรักด้วยเช่นกัน มีทั้งภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น ลองไปอ่านกันดูให้ได้นะ

  • ร้าน:KINOKUNIYA ทุกสาขา (สำหรับเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นมีเฉพาะที่สาขา Emquatier)

All HR Solutions! มาค้นหา HR Products and Services กับ HREX กันเถอะ

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง