Search
Close this search box.

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด  

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด  

ไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่คนไทยรู้จักกันดีและอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน แม้จะถูกมองว่าเป็นโรคที่พบในเด็กมากกว่า แต่ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า โรคนี้กลับแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในกลุ่มวัยทำงานมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ทำให้เมื่อเกิดการติดเชื้อจะทวีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

วันนี้ HREX.asia ได้รับเกียรติจาก ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด มาพูดคุยถึงแนวทางป้องกันโรคไข้เลือดออกในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะบทบาทขององค์กรในการช่วยส่งเสริมการป้องกันโรค เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของทุกคน

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

ปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในวัยทำงานของไทยเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมเราถึงควรให้ความสำคัญกับโรคนี้ในกลุ่มผู้ใหญ่ ?

ภก. วรชาติ: จริง ๆ แล้วโรคไข้เลือดออกอยู่กับเรามานานแล้วครับ ตั้งแต่เด็ก ๆ เราจะคุ้นเคยกับคำแนะนำให้เก็บบ้าน กำจัดลูกน้ำยุงลาย หรือเททรายอะเบทเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แต่เมื่อเราโตขึ้น โรคนี้ก็ยังไม่หายไปจากไทยเลยครับ

เพราะประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศเขตร้อนชื้นครับ และถือเป็นพื้นที่ระบาดประจำถิ่นของโรคไข้เลือดออกเลยก็ว่าได้ เหมือนประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบละตินอเมริกาที่มีอากาศร้อนชื้น ซึ่งต่างจากยุโรปหรือประเทศที่มีอากาศหนาวที่เจอยุงค่อนข้างน้อย

ขณะที่สถานการณ์ไข้เลือดออกของไทยยังคงระบาดต่อเนื่อง โดยปี 2023 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค มีการระบาดสูงถึง 150,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน ซึ่งนับเป็นการระบาดที่รุนแรงที่สุดในรอบ 5 ปี  ปัจจุบันในปี 2024 ยังพบสูงถึงเกือบ 100000 ราย และเสียชีวิต 98 ราย* แล้ว

ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันผู้ใหญ่ที่เป็นไข้เลือดออกกลับมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าเด็ก กลุ่มที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือคนที่มีโรคร่วม เช่น เบาหวาน ความดัน หรือแม้แต่โรคอ้วน เพราะหากติดเชื้อไข้เลือดออกอาการอาจจะหนักกว่ากลุ่มคนที่แข็งแรง

*รายงานการเฝ้าระวังสถาณการณ์โรคทางระบาดวิทยา (506) กองระบาดวิทยา

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้การระบาดในผู้ใหญ่มีแนวโน้มรุนแรงกว่าที่เคยเป็นมา ?

ภก. วรชาติ: สาเหตุหนึ่งมาจากระบบภูมิคุ้มกันของคนเราครับ การติดเชื้อไข้เลือดออกครั้งที่ 2 มักรุนแรงกว่าครั้งแรกถึง 2-3 เท่า เพราะภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นมาแล้วจากการติดเชื้อครั้งแรกอาจจะมีการตอบสนองที่รุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อไข้เลือดออกต่างสายพันธุ์ ในครั้งถัดไป ทำให้อาการอาจจะหนักขึ้นได้

นอกจากนี้ วัยทำงานหลายคนไม่ค่อยตระหนักถึงความร้ายแรงของโรค ส่วนหนึ่งก็เพราะมองว่าเป็น ‘โรคของเด็ก’ แต่จริง ๆ แล้ว ผู้ใหญ่ก็ติดไข้เลือดออกได้ และหากเราพิจารณาเรื่องผลกระทบต่อการทำงานและประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน จะพบว่าคนที่เป็นแล้วต้องหยุดงานหลายวัน เสียรายได้ และมีภาระค่ารักษาสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับองค์กรด้วยครับ

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

เคยได้ยินคนบอกว่า “ถ้าเป็นไข้เลือดออกครบ 4 ครั้งแล้วจะไม่เป็นอีก” จริงไหมครับ ?

ภก. วรชาติ: จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้นครับ จากการทำวิจัยพบว่า ไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ คือประเภทที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งประเทศไทยในแต่ละปีก็จะระบาดต่างสายพันธุ์กัน 

อย่างปี 2024 นี้ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ 2 ถ้าเราติดครั้งแรกกับสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง เราจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น และภูมิอาจป้องกันสายพันธุ์อื่นได้บ้างในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ภูมิคุ้มกันนี้ไม่ได้คงทนระยะยาว

ดังนั้น หากคุณติดครบทุกสายพันธุ์ แสดงว่าคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก การป้องกันตัวเองจึงยังสำคัญเสมอ

 

ปัจจุบันมีกลยุทธ์หรือมาตรการใดบ้างที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกสำหรับพนักงานและสถานที่ทำงาน ?

ภก. วรชาติ: สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกัน พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน เช่น “3 ก.” คือ การเก็บขยะ เก็บบ้าน และเก็บน้ำ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมถึงมาตรการ “5 ป.” ได้แก่ ปิด ปรับปรุง ปล่อย เปลี่ยน และปฏิบัติเป็นประจำ 

นอกจากนี้การใช้ยากันยุงก็ช่วยป้องกันได้นะ และการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเป็นอีกทางเลือกในการป้องกัน ที่สามารถทำควบคู่กับการปฏิบัติตามมาตรการอื่น ๆ

 

หากองค์กรมีพนักงานติดเชื้อไข้เลือดออกขึ้นมาจริง ๆ องค์กรและ HR ควรมีการดูแลพนักงานอย่างไร ?

ภก. วรชาติ: ก่ก่อนอื่นเราต้องแยกความแตกต่างของอาการระหว่างไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ก่อนครับ ซึ่งไข้เลือดออกมีอาการเด่นชัดที่แตกต่าง เช่น อาการปวดกระดูกอย่างรุนแรงและมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ขณะที่ไข้หวัดใหญ่มักมีอาการคัดจมูก ไอ และเจ็บคอ

การสังเกตอาการเหล่านี้ช่วยให้วินิจฉัยได้แม่นยำยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง โดยเฉพาะยากลุ่ม NSAIDs (Non-steroidal Antiinflammatory Drugs หรือยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) เนื่องจากอาจทำให้เกิดเลือดออกอย่างรุนแรงได้

อีกประเด็นที่สำคัญคือ การย้ำเตือนพนักงานให้ระมัดระวังการป้องกันตนเองในที่ทำงานและพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ เนื่องจากเราไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าติดเชื้อมาจากที่ไหน การแจ้งเตือนพนักงานเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน เช่น การปฏิบัติตาม “3 ก.” และ “5 ป.” รวมถึงการรับวัคซีนป้องกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือก จะช่วยลดโอกาสการระบาดในที่ทำงานและป้องกันความเจ็บป่วยในวงกว้างได้ครับ

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

การอยู่ในเมืองใหญ่เองก็มีความเสี่ยงใช่ไหม แม้จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดก็ตาม ?

ภก. วรชาติ: ใช่ครับ ในความเป็นจริงเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ก็เสี่ยงต่อการระบาดของไข้เลือดออกด้วย เพราะปัจจัยหลายอย่าง ทั้งความหนาแน่นของประชากร อาคารสถานที่ที่มีความสูง ซึ่งมักมีแหล่งน้ำขังที่เราคาดไม่ถึง ยุงลายสามารถวางไข่ได้ในที่เล็ก ๆ อย่างน้ำขังในกระถางต้นไม้ ใต้ทางด่วน หรือแม้แต่ในระเบียงของคอนโด

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่แปรปรวนก็ส่งผลต่อการแพร่ระบาดด้วยครับ แม้แต่ในยุโรปตอนนี้ก็เริ่มมีความตระหนักถึงการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกมากขึ้นแล้ว

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

ปัจจุบัน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีบทบาทอย่างไรในการร่วมมือกับภาครัฐเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ?

ภก. วรชาติ: เรามีความร่วมมือที่ชื่อว่า “Dengue-Zero” ครับ เป็นโครงการที่เราทำร่วมกับกรมควบคุมโรคและอีก 11 องค์กร อาทิ แพทยสมาคมฯ, กรุงเทพมหานคร, สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ฯลฯ เพื่อสร้างองค์ความรู้และความตระหนักรู้เกี่ยวกับไข้เลือดออก

ตลอดปี 2566 เราได้ดำเนินการแคมเปญต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ เช่น แคมเปญ #รีวิวจากอิงมา ที่เล่าผ่านตัวแทนของเหยื่อไข้เลือดออกกว่า 1.2 ล้านคนในไทย รวมถึงการชวนคนไทยร่วม “ปักหมุด หยุดไข้เลือดออก” โดยประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อ โซเชียลมีเดีย และอื่น ๆ

นอกจากนี้เรายังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการปรับปรุงระบบ EPINET สำหรับจัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยา รวมถึงพัฒนาเว็บไซต์ www.knowdengueth.com และ Facebook KnowDengueTH เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรคนี้ และจัดสัมมนาเสริมความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ด้วยครับ โดยในปีนี้เราได้เปิดตัวแคมเปญ “ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องป้องกัน” ซึ่งมีคุณ วิน – เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร เป็น “เดงกี่ ฮีโร่” เพื่อยกระดับความตระหนักรู้และสร้างการป้องกันไข้เลือดออกในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางครับ

 

การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกในสถานที่ทำงานมีความสำคัญอย่างไร และทำไม HR หรือองค์กรควรพิจารณาเรื่องนี้ ?

ภก. วรชาติ: ผมมองว่าการฉีดวัคซีนเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการที่สามารถเสริมสร้างความเป็น
อยู่ที่ดี (Well-being) ของพนักงานได้ครับ

ข้อมูลจากการวิจัยประกันภัยในไทยพบว่า เมื่อคนวัยทำงานเป็นไข้เลือดออกกว่า 94% ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 4 วัน และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อราย นี่ยังไม่นับรวมผลกระทบจากการหยุดงานและภาระงานที่สะสมระหว่างที่พนักงานป่วย

การเพิ่มสวัสดิการการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกจึงเป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผล นอกจากจะลดโอกาสการเจ็บป่วยและการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออกได้ 80-90%* แล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานว่าองค์กรใส่ใจในสุขภาพของ
พวกเขา ซึ่งส่งผลดีต่อแรงจูงใจในการทำงานและการมีส่วนร่วมในองค์กรด้วย

ปัจจุบันในประเทศไทยมีวัคซีนไข้เลือดออก 2 ชนิดที่ใช้อยู่ ชนิดแรกใช้ไวรัสเดงกีสายพันธุ์ 2 เป็นแกนกลาง ต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน ฉีดได้ในผู้ที่มีอายุระหว่าง 4-60 ปี และสามารถฉีดได้โดยไม่ต้องตรวจภูมิก่อน ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นวัคซีนที่มีไวรัสไข้เหลืองเป็นแกนกลาง ต้องฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน (ฉีดที่ 0, 6 และ 12 เดือน) และฉีดได้ในผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน โดยฉีดได้ในช่วงอายุ 6-45 ปี* ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีนเพื่อให้เหมาะสมกับสุขภาพของแต่ละคนครับ

*หมายเหตุ – คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

วัคซีนไข้เลือดออกต่างจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างไรครับ ?

ภก. วรชาติ: วัคซีนไข้เลือดออกและวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีทั้งจุดที่คล้ายและต่างกันอยู่หลายอย่าง
เลยครับ

จุดที่คล้ายกันคือ วัคซีนทั้ง 2 ชนิดเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจใช้เพื่อช่วยป้องกันโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญในช่วงหน้าฝน แต่โรคไข้เลือดออกต่างออกไปในแง่ที่มียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งทำให้ป้องกันได้ยากกว่า เพราะถึงจะพยายามหลีกเลี่ยงยุง ทากันยุง หรือใส่หน้ากากอนามัยอย่างไรก็ยังป้องกันได้ยาก เนื่องจากไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เราไปได้ทุกที่ อีกทั้งทั้งไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออกยังมีอัตราการระบาดสูงในไทย โดยในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขคาดว่าจะมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ราว 300,000 คน ขณะที่ไข้เลือดออกมีผู้ป่วยราว 200,000 คน*

แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ไข้เลือดออกมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า เนื่องจากยังไม่มียารักษาเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการบรรเทาตามอาการเท่านั้น

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ต้องฉีดซ้ำทุกปี ขณะที่วัคซีนไข้เลือดออกยังไม่มีคำแนะนำให้มีการฉีดกระตุ้น

* https://www.ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=39881&deptcode=brc&news_views=58

 

สามารถเป็นแนวทางที่ดีในการป้องกันสุขภาพของพนักงานในสถานที่ทำงานได้อย่างไรบ้าง ?

ภก. วรชาติ: จากการสำรวจของ Gallup พบว่า องค์กรที่มีโปรแกรมด้านสุขภาพและสวัสดิการชัดเจนให้พนักงาน จะเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานได้ถึง 44% และลดอัตราการลาออก เพราะพนักงานรู้สึกว่าองค์กรใส่ใจในสวัสดิภาพของพวกเขาโดยตรง ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและแรงจูงใจอย่างมาก

การที่พนักงานรู้สึกว่าองค์กรห่วงใยและดูแลสุขภาพของพวกเขาจริง ๆ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้สูงขึ้น และทำให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น

การลงทุนด้านสุขภาพของพนักงานจึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่น ๆ เลยครับ

ไข้เลือดออกในวัยทำงาน โรคใกล้ตัวที่ HR ต้องรู้: สัมภาษณ์ ภก. วรชาติ เลิศพิภพเมธา ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์วัคซีน บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

หากมองไปถึงอนาคต อยากเห็นอะไรในแง่ของการป้องกันโรคในสถานที่ทำงานบ้างครับ ?

ภก. วรชาติ: ไม่ควรมีใครต้องเสียชีวิตหรือได้รับผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ครับ การสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันในการป้องกันโรค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ควรเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ เลย

 

มีอะไรที่อยากฝากถึง HR และองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพพนักงานให้ปลอดภัยจากโรคนี้ไหม ?

ภก. วรชาติ: ผมอยากให้ HR มองว่าเรื่องสุขภาวะและ Well-being ของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญครับ การให้สวัสดิการด้านสุขภาพและการสร้างความตระหนักรู้ด้านการป้องกันโรคไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตราการของภาครัฐและการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกของการป้องกัน จะไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระของพนักงาน แต่ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ทำให้พนักงานรู้สึกว่า องค์กรห่วงใยและดูแลพวกเขาจริง ๆ นี่จะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานและอยู่กับองค์กรได้นานขึ้นครับ

*Disclaimer: ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับประชาชนเป็นการทั่วไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลเท่านั้น ข้อมูลนี้ไม่ควรถูกนำไปใช้เพื่อวินิจฉัยหรือรักษาปัญหาสุขภาพหรือโรคใด ๆ การให้ข้อมูลดังกล่าวนี้ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการทดแทนการปรึกษากับผู้ให้บริการทางการแพทย์ โปรดปรึกษาผู้ให้บริการทางการแพทย์ของท่านสำหรับคำแนะนำเพิ่มเติม

ผู้เขียน

Picture of Sahatorn Petvirojchai

Sahatorn Petvirojchai

Manager of HREX.asia who works in media platforms for a long time. Interested in Global Culture, Marketing, and Self Development.

บทความที่เกี่ยวข้อง