ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกของการทำงาน เราต่างคุ้นเคยกันดีกับคำว่า Reskill-Upskill ซึ่งเป็นคำที่มาพร้อมกับการเริ่มต้นของปีใหม่มาแทบทุกปี แต่คำถามก็คือมี Skills อะไรบ้างที่ถือเป็นทักษะแห่งอนาคตที่ไม่มีวันล้าสมัย คำตอบก็คือ “ทักษะของการเรียนรู้”ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่คำใหม่ แต่การเรียนรู้ที่ว่านี้จะไม่ใช่มุมมองการเรียนรู้แบบเดิม มองเป็น Piece by Piece แบบในอดีตแล้ว การเรียนรู้มุมมองใหม่จะมีลักษณะเป็น Holistic และ Blended มากขึ้น ในบทความนี้จะพูดถึงการเรียนรู้ที่ Beyond ไปอีกว่าการเรียนรู้ควรจะมีลักษณะอย่างไรและเราควรเรียนรู้อะไรบ้าง โดยสรุปจากงานสัมนาโดย Conicle RE:DDay ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “A Journey to the Skillniverse: Exploring Power Skills for the Future-Ready Workforce” เปิดเทรนด์การทำงานในอนาคต และทักษะที่จำเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมพนักงานในองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดย Speaker คือ คุณปูน-นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ CEO & Co Founder Conicle
A journey defines a revolution
เพราะ “Learning” ในองค์กรมักจะมี Challenge อยู่เสมอ โดยกว่า 57% ของผู้บริหารต่างรู้ว่า Workforce ในองค์กรมี Skill gap อยู่ แต่ไม่รู้ว่าวิธีที่ดีในการเรียนรู้และการพัฒนาเพื่อปิด gap เหล่านั้นคืออะไร คำถามคือเราจะเริ่มอย่างไรดีจากการเดินทางไปยังปี 2022 ?
The Key is : To take one step Back, Two steps Forward.
To take one step Back คืออะไร ?
การถอยกลับมาดูก่อนว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่นมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้างในปี 2021 ซึ่งที่ผ่านมา Conicle วิเคราะห์ออกมาแล้วพบว่ามีปัจจัยสำคัญ 4 ตัวหรือ Significant Change ที่เรียกว่า 4Cs ประกอบด้วย
- Context of Learning : การคิดที่ Align ไปกับภาพใหญ่และ Strategy ขององค์กร
Keyword : Strategic and Holistic Learning
2. Collaborative Learning : การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) ให้พนักงานมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้
Keyword : Social Learning
3. Content Curation by Data : การสร้าง Personalize and Lifelong Learning
Keyword : Data-Driven Learning
4. Connection through Technology : การ deliver and manage = Online and Active Learning / Learn Anywhere and Anytime
Keyword : On-life Learning
Two steps Forward คืออะไร ?
2 keys for preparation Workplace Learning in 2022 ซึ่งประกอบไปด้วย 2Ds คือ
Direction (Why) = Direction with People Development Goals
คำถามที่ว่า ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า Workplace จะมีหน้าตาอย่างไร ? คุณปูนบอกว่าสิ่งที่เราเรียกว่า Industrial Revolution นั้นทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไวขึ้น โลกของการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน (Exponential Growth) อย่างเช่น
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เราเรียกว่าเป็น The Electrical Power
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เราเรียกว่าเป็น The Computing Power
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เราเรียกว่าเป็น The Intelligent Power
โดยในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 นั้นเป็นการปฏิวัติที่ช่วยในเรื่องของ Muscle Power ส่วนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 เป็นการปฏิวัติที่ช่วยในเรื่องของ Mental Power ซึ่งมีผลทำให้ Economy , Society , Business and Workforce เปลี่ยนแปลงไปมหาศาล Base to Intelligence-and-Knowledge base along with the change of the society สิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้ย่อมส่งผลต่อ Future of Workplace แน่นอน (เป็น Ongoing Process)
4 Keys Drivers of the Future Workplace 2022
ในโลกของการทำงานยุคใหม่อย่างปี 2022 นี้มีสิ่งสำคัญที่เราควรโฟกัสมากมาย แต่สิ่งที่เป็นสิ่งสำคัญจำเป็นที่สุดไม่ว่าจะขององค์กร อุตสาหกรรม ธุรกิจและแม้แต่ตัวเราเองนั้น คุณปูนได้สรุปและวิเคราะห์มาว่า มี 4 Key Drivers หลัก ที่ควรโฟกัส ประกอบไปด้วย
1. Technology Integration at Work
การใช้ Tools and Applications สำหรับการทำงาน โดยเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่งมี 3 leading factors คือ
- Digital Ecosystem : ตั้งคำถามก่อนว่า อะไรที่เหมาะกับเรา เพราะเทคโนโลยีเป็น Facility หนึ่ง แต่คำถามคือเราต้องการอะไรจากเครื่องมือนั้นๆ
- Technology That Matches the Task : งานของเราเป็นอย่างไรเส้นแบ่งระหว่าง Human/AI เพราะงานแต่ละงานจะมีการปรับเปลี่ยนมากขึ้น ส่งผลให้มี Skill Gap ที่สูงขึ้นด้วย The Key is : Technology that enhance our work
- Data Analytics and Visualization : Data is the new oil จริงๆแล้ว Data คือทุกสิ่งทุกอย่างที่ connect กัน Everything is connected , Everything produces Data. It will be the Bigger Data
2. Business Complexity
Business และ Marketing Competition ต่างๆจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึง Product และ Service ใหม่ๆด้วย การแข่งขันก็จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมี 3 leading Factors คือ
- Purpose – Driven Business ; Create Values Keyword คือ Customer, Consistently, Remarkable, Relevantly และที่สำคัญคือการ Start with Why การถามตัวเองว่า ทำไมองค์กรของเราต้องมีอยู่ ยกตัวอย่างเช่น Disney ทำอะไรหลายอย่างมาก แต่แก่นที่แท้จริงของ Disney ก็คือ Entertainment and Family
- Transformative Business Model อย่างเช่น Alibaba เป็น Retail ที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่มี Stock เป็นของตัวเอง หรือ Airbnb ที่เป็น Lodging ที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่มีเจ้าของห้องพัก ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรียกว่า Revolutionize Business Model อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Subscription Model นิยามใหม่ในการส่งมอบคุณค่าองค์กรที่ลูกค้าจะได้รับ หมายความว่า ถ้าลูกค้ารู้สึกไม่ได้ประโยชน์จากบริการนั้นๆ หรือไม่ได้รับรู้ถึงคุณค่าของสินค้าและบริการ ลูกค้าก็พร้อมจะไปจากเราได้ทันที
- Multiple and Flexible Forms of Employment เพราะรูปแบบการทำงานในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป มีรูปแบบการทำงานมากมายมหาศาล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Gig Economy
3. Demographic Shifts
ภายในปี 2050 จะมีแค่ 2 Working age people เท่านั้นแล้ว หลายๆประเทศตอนนี้ก็เริ่มเป็น Aging Society แล้ว ซึ่งมี 3 leading factors คือ
- Generation Diversity การเปลี่ยนแปลง Culture ของการทำงาน ในอนาคตจะมีแค่ Millennials และ Generation Y เท่านั้นที่เป็น Workforce หลักภายในปี 2025 ซึ่งจะมีจำนวนมากถึง 75% ขององค์กรเลยทีเดียว แต่เรื่องนี้ประเด็นสำคัญอาจไม่ใช่แค่เรื่องอายุ แต่เป็น Timeline ที่ต่างกัน ที่ก่อให้เกิดความคิด ความเชื่อที่ต่างกันด้วย และ needs ก็ต่างกันไป
- Diversity, Equity and Inclusion
Diversity : Not just in genders, but also in Life
Equity : Not about as-same-as, It’s about Fairness
Inclusion : Sense of Belonging - Collaborative Intelligence : Collaborative – Creative and Critical – Value Creation
4. Healthy Work – Life
Work-Life Balance
Work-Life Integration
Work-Life Harmony
The key is to be “Healthy”
โดยมี 3 leading Factors คือ
- Hybrid Working : Work/Learn/Develop from Anywhere
- Workplace Flexibility : ความยืดหยุ่นที่ไม่ใช่แค่เรื่องของเวลาเข้า-ออกงานเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการใช้ชีวิต ที่แต่ละคนสามารถ Optimize and Design วิธีการทำงานของตัวเองเพื่อให้เกิด Result สูงสุดได้
- Psychological Safety : Feel Safe, Feel Free ที่จะแสดงความคิดเห็น Create Output , Create Value คือสิ่งที่องค์กรต้อง Provide / The key is : to build Trust
สรุป
จาก keydrivers 4 ตัวนี้ นำไปสู่การคิดอีกขั้นก็คือ เราจะ response กับมันอย่างไร Explore Skills required to deal with the key drivers of the future workplace and to become Future-Ready Workplace ซึ่งมี 3 Skills หลักคือ
- Core Skills :
– Think like a futurist
– Discover Possibilities in business
– Work with diverse people
– Manage self in disruptive world - Leadership Skills : เพราะองค์กรทุกองค์กรต้องการผู้นำ
– Lead with purpose
– Lead people and teams
– Lead high performance : Bring Output เพราะ Output ของ leader คือ Output ของทีม - Functional Skills :
– Business Strategy
– Customer Success
– Data and Technology
– Design
– Finance and Accounting
– Operation Management
– People and Organization
– Sales and Marketing
และมี Skills 3 ประเภท ที่เรียกว่า
- Durable Skills (มีระยะเวลามากกว่า 7.5 ปี) เป็น Skill ที่มีลักษณะเป็น
– Teachable : พัฒนาได้ เรียนรู้ได้
– Transferable : ถ่ายทอดได้ โค้ชชิ่งได้
– Measurable : วัดผลได้ ผ่านการเรียนรู้และลงมือทำจริง
ตัวอย่างเช่น Mindset, Thinking, Interpersonal, Dealing with change)
2. Semi-Durable Skills (มีระยะเวลา 2.5 – 7.5 ปี)
ตัวอย่างเช่น Industry-related framework and methodologies)
3. Perishable Skills (มีระยะเวลาน้อยกว่า 2.5 ปี)
ตัวอย่างเช่น Specific technical skills and technical related skills
สุดท้ายคุณปูนได้ฝากแง่คิดเอาไว้ว่า
Learning is a process
Learning is an experience
Learning is lifelong
And Learning is a journey
No journey is smooth ; To do the next big things, it’s hard but fun