Search
Close this search box.

ผลสำรวจ Employee Engagement: องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ ก็ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ได้

HIGHLIGHT

  • ผลสำรวจพบว่า กิจกรรม Employee Engagement เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างความผูกพันและเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทใดและขนาดใดก็ตาม
  • องค์กรขนาดใหญ่มักมีงบประมาณสำหรับกิจกรรมมากกว่าองค์กรขนาดเล็ก เพราะมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงกว่า จึงจัดสรรงบประมาณสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าองค์กรเล็ก ๆ จะละเลยไม่จัดกิจกรรม Employee Engagement
  • จุดประสงค์หลักของกิจกรรม Employee Engagement คือเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง แสดงให้เห็นว่าทุกองค์กรตระหนักถึงการสร้างวัฒนธรรมที่ดี ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และเกิดความผูกพันในระยะยาว

ผลสำรวจ Employee Engagement: องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ ก็ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ได้

เมื่อองค์กรรับพนักงานเข้ามาแล้ว หากต้องการให้พนักงานมุ่งมั่นและผูกพันกับบริษัท HR ก็ควรดูแลให้พนักงานรู้สึกดีและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรด้วย เพื่อให้พวกเขาทำงานสร้างสรรค์และอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ

ด้วยเหตุนี้ Reeracoen Thailand และแพลตฟอร์มข้อมูลทรัพยากรบุคคลอย่าง HREX.asia จึงจัดทำแบบสำรวจ การศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อรวบรวมข้อมูลการจัดกิจกรรม Employee Engagement ในองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ได้และแนวทางการพัฒนาต่อไป

ผลสำรวจนี้มีประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง มาติดตามได้ในบทความนี้

Employee Engagement กิจกรรมที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าพนักงานจะเยอะหรือน้อย

ผลสำรวจ Employee Engagement: องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ ก็ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ได้

สำหรับกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามครั้งนี้ แบ่งเป็นกลุ่ม HR ที่มาจาก 2 อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ นั่นคือ HR จากองค์กรด้านอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) และ HR จากกลุ่มธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต (Non-Manufacturing)

ด้าน HR ที่มาจากอุตสาหกรรมการผลิต สัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถาม มีดังต่อไปนี้

  • 43.75% มาจากองค์กรที่มีพนักงาน 500-1,000 คน
  • 25% มาจากองค์กรที่มีพนักงานมากกว่าหรือเท่ากับ 1,001 คน
  • 12.5% จากองค์กรที่มีพนักงาน 100-300 คน

ส่วน HR ที่มาจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต สัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถาม มีดังต่อไปนี้

  • 25% มาจากองค์กรที่มีพนักงานมากกว่าหรือเท่ากับ 1,001 คน
  • 20.83% มาจากองค์กรที่มีพนักงาน 11-50 คน
  • 16.37% มาจากองค์กรที่มีพนักงาน 101-300 คน

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มาจากองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 500 คน ซึ่งองค์กรขนาดใหญ่มักให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรม Employee Engagement สูง เนื่องจากจำเป็นต้องสร้างความผูกพันในกลุ่มพนักงานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กิจกรรม Employee Engagement ไม่ได้จำกัดเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะองค์กรขนาดเล็กก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน

สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรม Employee Engagement เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันและเสริมวัฒนธรรมองค์กร ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมหรือขนาดองค์กรใดก็ตาม

งบจัดกิจกรรมน้อย ไม่ได้หมายความว่าให้ความสำคัญกับ Employee Engagement น้อย

ผลสำรวจ Employee Engagement: องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ ก็ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ได้

ผลการสำรวจในหัวข้อต่อมา เป็นเรื่องความถี่ในการจัดกิจกรรม Employee Engagement จากคำตอบของ HR ที่มาจากอุตสาหกรรมการผลิต สามารถแบ่งสัดส่วนความถี่ได้ดังต่อไปนี้

  • 37.5% จัดกิจกรรมทุกปี
  • 26.39% จัดกิจกรรมตามความจำเป็น
  • 12.5% จัดกิจกรรมทุกไตรมาส

ส่วนคำตอบของ HR จากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต มีความถี่ดังต่อไปนี้

  • 31.25% จัดกิจกรรมทุกปี
  • 20.83% จัดกิจกรรมตามความจำเป็น
  • 18.06% จัดกิจกรรมทุกครึ่งปี

จะเห็นว่า ทั้งองค์กรมักจัดกิจกรรม Employee Engagement อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อสร้างความผูกพัน แต่การจัดกิจกรรมเพียงปีละครั้งอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากผลลัพธ์ด้านความผูกพันมักเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ เราแนะนำว่า หากสามารถจัดกิจกรรมให้ถี่ขึ้นหรือเสริมด้วยการใช้เทคโนโลยี เช่น แอปพลิเคชันเกมสะสมแต้ม อาจช่วยสร้างความผูกพันที่ยั่งยืนได้

จากการสำรวจพบว่า องค์กรขนาดใหญ่ (พนักงาน 100-1,000 คนขึ้นไป) มักใช้งบจัดกิจกรรมสูงกว่า 500,000 บาท ส่วนองค์กรขนาดเล็กใช้งบประมาณน้อยกว่า 50,000 บาท โดยงบประมาณนี้สอดคล้องกับขนาดองค์กรและจำนวนพนักงาน

แม้ว่าองค์กรขนาดใหญ่จะมีงบประมาณมากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ความสำคัญกับความผูกพันมากกว่าองค์กรขนาดเล็กเสมอไป องค์กรขนาดเล็กอาจมีกลยุทธ์สร้างความผูกพัน เช่น การสื่อสารที่ใกล้ชิด การให้ความท้าทายในงาน หรือการพัฒนาตนเอง ซึ่งไม่ต้องใช้งบประมาณสูงนั่นเอง

เสริมสร้างความสัมพันธ์ของพนักงาน จุดประสงค์หลักของการทำ Employee Engagement

ผลสำรวจ Employee Engagement: องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ ก็ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ได้

สำหรับผลการสำรวจในหัวข้อต่อมา พบว่าจุดประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมในองค์กรด้านอุตสาหกรรมการผลิต มีคำตอบสูงสุด 3 อันดับแรกดังต่อไปนี้

  • 45.83% ตอบว่าเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพนักงาน
  • 18.06% ตอบว่ามีเป้าหมายมากกว่า 1 อย่างต่อการจัดกิจกรรม
  • 12.50% ตอบว่าเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง

ส่วนจุดประสงค์หลักในการจัดกิจกรรมขององค์กรธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต มีคำตอบสูงสุด 3 อันดับแรกดังนี้

  • 25% ตอบว่าเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพนักงาน เท่ากับ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน
  • 18.75% ตอบว่าเพื่อให้พนักงานมีสุขภาพกายและจิตที่ดี
  • 12.50% ตอบว่าเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง เท่ากับ เพื่อลดโอกาสในการลาออกของพนักงาน

สิ่งนี้สะท้อนว่า องค์กรด้านการผลิตให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน เพื่อให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพ ส่วนจุดประสงค์หลักของกิจกรรม Employee Engagement ในทุกอุตสาหกรรม คือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งเพื่อเสริมความผูกพันในระยะยาว

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่การผลิต มักจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตของพนักงานเพื่อลดความเครียด และยังเน้นกิจกรรมลดการลาออก เนื่องจากลักษณะงานในกลุ่มนี้อาจมีความเครียดสูง 

การจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพจึงเป็นวิธีที่ช่วยลดความเครียดและเพิ่มแรงจูงใจได้

ผลสำรวจ Employee Engagement: องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ ก็ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ได้

อย่างไรก็ตาม แม้องค์กรจะตั้งใจจัดกิจกรรม และพยายามจัดสรรงบประมาณเพื่อกิจกรรมมากเพียงใด แต่กลุ่มตัวอย่าง 43% กลับตอบว่าไม่พึงพอใจผลจากการจัดกรรมในการมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งมีผลมาจากปัจจัยหลายด้าน 

อาทิ มีการจัดกิจกรรมถี่เกินไปในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งอาจทำให้พนักงานรู้สึกหนักใจที่จะต้องเข้าร่วมทุกครั้ง, กิจกรรมที่จัดมักจัดชนเวลาทำงานของพนักงาน ทำให้พนักงานไม่สามารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้เต็มที่

ฉะนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรม Employee Engagement และสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน องค์กรอาจพิจารณาปรับปรุงในประเด็นต่อไปนี้:

  1. จัดตารางกิจกรรมให้เหมาะสม: ลดความถี่ของกิจกรรมในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยจัดให้สม่ำเสมอในระยะยาว เช่น รายไตรมาสหรือรายเดือน เพื่อไม่ให้พนักงานรู้สึกหนักใจและยังคงมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วม
  2. ปรับเวลาจัดกิจกรรมให้ยืดหยุ่น: พิจารณาจัดกิจกรรมในช่วงเวลาที่ไม่กระทบงานหลัก เช่น ช่วงพักกลางวัน หรือในช่วงบ่ายของวันศุกร์ เพื่อให้พนักงานมีเวลาเข้าร่วมได้เต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องงาน
  3. สำรวจความสนใจของพนักงาน: ใช้การสำรวจเพื่อให้พนักงานเสนอแนะประเภทกิจกรรมที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการและความสนใจของพนักงานได้มากขึ้น
  4. สร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง: ออกแบบกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างพนักงาน เช่น เวิร์กชอป การอภิปรายกลุ่ม หรือการระดมความคิด เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมจริง ๆ และกิจกรรมมีความหมายมากขึ้น

การนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างกิจกรรม Employee Engagement ที่มีประสิทธิภาพและสร้างความผูกพันระยะยาวได้มากขึ้น

บทสรุป

ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า องค์กรจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ จะมีพนักงานอยู่กี่คน จะเป็นองค์กรรูปแบบใด มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน สุดท้ายแล้วทุกองค์กรก็ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ได้ 

HR จำเป็นต้องทำ Employee Engagement ภายใต้ข้อจำกัดที่มี เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพนักงาน เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ไปจนถึงการสร้างสุขภาพกายและใจที่ดี 

แม้ผลของการจัดกิจกรรมที่ออกมาอาจจะยังไม่ตอบโจทย์องค์กรทั้งหมด แต่ Reeracoen และ HREX ก็เชื่อว่านี่คือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ที่จะทำให้ HR พอมองเห็นภาพและแนวทางว่า ภายใต้ข้อจำกัดทั้งหมดที่มี ควรต้องทำอย่างไรจึงจะพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นสืบไป

แต่หาก HR ท่านไหนไม่รู้ว่าจะจัดกิจกรรม Employees Engagement เองอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ขอแนะนำให้ลองหา HR Solution ด้านนี้เพื่อช่วยให้การจัดกิจกรรมทุกอย่างเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ หากไม่รู้ว่าจะไปหาที่ไหนละก็ สามารถมาค้นหาผ่านแพลตฟอร์ม HR Products & Services ของ HREX ได้เลย จะปัญหาเล็กหรือใหญ่ มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแก้ไขได้แน่นอน คลิกเลยทางลิงก์นี้

ผู้เขียน

Picture of Paranaphat Anui

Paranaphat Anui

Take Off Toward a Dream

บทความที่เกี่ยวข้อง