ทุกวันนี้มองไปทางไหนก็เห็นแต่คอนเทนต์พัฒนาธุรกิจอยู่บ่อยครั้ง ทำให้หลายองค์กรโฟกัสไปที่การเติบโตของธุรกิจ (Business) เป็นหลักอย่างเต็มกำลัง ทว่าหลายครั้งกลับมองข้ามเรื่องบุคลากร (People) ที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จ
ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือการเกิดปัญหาที่อาจคาดไม่ถึง ทั้งอัตราการลาออกสูง ความผูกพันของพนักงานกับองค์กรที่ลดลง รวมถึงบรรยากาศการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในบทความนี้ เราจะใช้กราฟ 2×2 ที่แบ่งแกนระหว่าง Business และ People เพื่อชี้ให้เห็นว่าแต่ละสภาวะขององค์กรส่งผลต่อความสำเร็จและความยั่งยืนในระยะยาวอย่างไรบ้าง
Contents
4 Box: Business และ People
ในกราฟนี้ เราแบ่งองค์กรออกเป็น 4 กลุ่มตามแกน Business และ People:
- Business ดี People ดี (Success Zone)
- Business ดี People แย่ (Danger Zone)
- Business แย่ People ดี (Failure Zone)
- Business แย่ People แย่ (Disaster Zone)
เราจะมาเจาะลึกแต่ละกรณีและดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์กรกันดีกว่า
1. High Business + High People = Success Zone
ในกรณีนี้ องค์กรมีผลประกอบการที่ดีและพนักงานมีความสุข เป็นสภาพแวดล้อมในฝันที่ดีที่สุดและเป็นภาพของ “องค์กรที่ยั่งยืน” อย่างแท้จริง ซึ่งจะสามารถรักษาความสำเร็จได้ทั้งในแง่ธุรกิจและความพึงพอใจของพนักงาน คนทำงานมีแรงจูงใจ ช่วยให้องค์กรมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคนในทีมรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ซึ่งทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว
ตัวอย่างองค์กรในกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญทั้งเรื่องนวัตกรรมทางธุรกิจและความเป็นอยู่ของพนักงาน มีโปรแกรมพัฒนาศักยภาพ มีสวัสดิการที่ดี ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการทำงานอย่างสร้างสรรค์และเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เสมอ
สิ่งสำคัญที่องค์กรควรทำเพื่อเข้าสู่ Success Zone:
|
2. High Business + Low People = Danger Zone
สถานการณ์คลาสสิกที่หลาย ๆ องค์กรพบบ่อย คือการมุ่งเน้นแต่การเพิ่มผลกำไร โดยลืมดูแลความเป็นอยู่ของพนักงาน
สิ่งนี้เป็น “เขตอันตราย” มาก ๆ ในมุม HR เพราะธุรกิจที่อาจดูเติบโตในช่วงต้น แต่จะเจอปัญหาด้านการรักษาพนักงานในระยะยาว ไม่แปลกที่องค์กรจะเต็มไปด้วยพนักงานที่ทำงานหนัก แต่ขาดความผูกพันกับองค์กร ไร้แรงจูงใจ ไปจนถึงหมดไฟ ส่งผลให้เกิดการลาออกสูง
ผลกระทบหลักแน่ ๆ ก็คือค่าใช้จ่ายในการหาคนใหม่ที่จะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรลดลง
องค์กรในเขตแดนนี้ที่จะมีผลประกอบการสูง แต่ต้องเผชิญปัญหาการเปลี่ยนงานของพนักงานอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะมีรายได้ดี แต่ก็ไม่ยั่งยืน เพราะทีมงานขาดความมั่นคงและไม่พร้อมที่จะทำงานอย่างเต็มที่
แนวทางป้องกันการตกอยู่ใน Danger Zone:
|
3. Low Business + High People = Failure Zone
ไม่ต่างจากกลุ่มที่แล้ว ที่หลาย ๆ องค์กรก็กำลังตกอยู่ในสภาวะนี้ เมื่อพนักงานทุกคนล้วนมีความสุขกับการทำงาน บรรยากาศภายในองค์กรก็ดีแสนดี แต่ธุรกิจไม่มีความเติบโตและไม่มีรายได้มากพอ
เราอาจเรียกว่าเป็น “องค์กรการกุศล” ซึ่งคนในองค์กรมีความสุขแต่ตัวองค์กรกลับไม่มีความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจเลย
หากไม่ปรับปรุง ผลลัพธ์ที่แน่นอนคือความล้มเหลวขององค์กรที่รออยู่
ตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ดีแต่ขาดแคลนนวัตกรรมหรือแผนธุรกิจที่ชัดเจน แม้จะรักษาพนักงานไว้ได้ แต่หากไม่มีรายได้ที่เพียงพอในที่สุดก็จะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการได้นั่นเอง
วิธีหลีกเลี่ยง Failure Zone:
|
4. Low Business + Low People = Disaster Zone
ขอเรียกว่า “เขตหายนะ” เลย เพราะธุรกิจไม่เติบโต แถมบุคลากรก็ไม่มีความสุข องค์กรในกลุ่มนี้พังพินาศแน่นอน เพราะการทำงานในบรรยากาศที่ไม่น่าทำงานและไร้ซึ่งประสิทธิภาพ จะทำให้ทุกองค์ประกอบไม่มีโอกาสพัฒนาและเติบโต องค์กรเหล่านี้จะไม่เหลือพนักงาน หรือกระทั่งชื่ออีกต่อไป
สิ่งที่องค์กรควรทำหากตกอยู่ใน Disaster Zone:
|
People: กุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยง Danger Zone
แม้ว่าการเติบโตทางธุรกิจจะเป็นเป้าหมายหลักขององค์กรส่วนใหญ่ แต่การละเลยคนทำงานในองค์กรจะนำไปสู่ปัญหาที่ซับซ้อนในระยะยาว ซึ่งการลงทุนในพนักงานไม่ได้หมายถึงเพียงการให้สวัสดิการที่ดีเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสร้างโอกาสในการพัฒนา การฟังเสียงและความต้องการของพวกเขา และทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าในบทบาทของตัวเองในองค์กร
การอยู่ใน Success Zone คือการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาธุรกิจและการดูแลบุคลากรอย่างเหมาะสม การเข้าใจและให้ความสำคัญกับทั้งสองด้านนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนในองค์กร และเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เราอาจสรุปได้ว่า People เองก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เพราะหากองค์กรต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาคนควรเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักเสมอ
ท้ายที่สุด พนักงานที่มีความสุขก็จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีพลังนั่นเอง