“ไม่ใช่แค่ Hybrid ต้องมี Dynamic ด้วย” Pomelo Fashion ออกแบบ Dynamic Hybrid Workplace อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

HIGHLIGHT

  • บทสัมภาษณ์คุณ แอปเปิ้ล – ปิยะนุช ลิมาภรณ์วณิชย์ Chief People Officer แห่ง Pomelo Fashion กับการออกแบบ Dynamic Hybrid Workplace ในองค์กร Fashion-Tech อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
  • ถ้าพูดในแง่ HR กับองค์กร Hybrid Workplace คือการบาลานซ์กันระหว่างทิศทางของ Employer และ Employee ทั้งการเติบโตทางธุรกิจของผู้บริหาร และความต้องการความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
  • แนวคิด Employee Centric เกิดจากการมองคนคือหัวใจสำคัญของการทำงาน และเชื่อว่าคนคือกุญแจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ หากผู้บริหารใรแนวคิดนี้ก็จะทำให้องค์กรเข้าใกล้ใกล้พนักงานมากขึ้น ฉะนั้นผู้บริหารต้องเปิดใจฟังพนักงานเพื่อสร้างการเข้าใจจริง ๆ

“ไม่ใช่แค่ Hybrid ต้องมี Dynamic ด้วย” Pomelo Fashion ออกแบบ Dynamic Hybrid Workplace อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

นับตั้งแต่เกิด COVID-19 โลกการทำงานก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ จนเกิดแนวทางใหม่อย่าง Hybrid Workplace รูปแบบที่เปิดโอกาสให้ทุกคนทำงานที่บ้าน ทำงานทางไกล หรือทำงานที่ออฟฟิศได้ตามสะดวก

หนึ่งในองค์กรตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานสู่ Hybrid Workplace เต็มตัวคือ Pomelo (โพเมโล) แบรนด์ Fashion-Tech ขวัญใจสาว ๆ ที่ปัจจุบันให้บริการหน้าร้านใน 6 ประเทศ ทั้งไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และส่งสินค้าไปกว่า 50 ประเทศทั่วโลก

“สิ่งสำคัญคือ HR ต้องรู้ว่าองค์กรจะเปลี่ยนเป็น Hybrid Workplace ตอนไหน เพราะถ้าเกิดเร็วไปก็เสี่ยง เกิดช้าไปก็ตกขบวน สำหรับเรามันคือ Dynamic Hybrid Working Arrangement คือต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับชั่วโมงหรือสถานการณ์ ณ ตอนนั้นให้ได้”

HREX.asia ได้พูดคุยกับ แอปเปิ้ล – ปิยะนุช ลิมาภรณ์วณิชย์ Chief People Officer แห่ง Pomelo Fashion ผู้ที่มีประสบการณ์ในวงการ HR มานานนับ 20 ปี เพื่อเฟ้นหาว่าอะไรคือความสำเร็จของการทำงานแบบ Hybrid Workplace ในแบบฉบับของ Pomelo ซึ่งเธอบอกกับเราว่า แค่ Hybrid อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Dynamic ด้วย

ทำงานในวงการ HR มานาน ทั้งบริษัท Consulting, Luxury Fashion ก่อนจะเข้าสู่ Fashion-Tech อย่าง Pomelo คุณมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของวงการ HR ในภาพรวมอย่างไรบ้าง?

ปีนี้เราทำงาน HR เป็นปีที่ 20-21 ปีแล้ว ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการเยอะเหมือนกันนะ ตั้งแต่ที่เรายังเป็นระดับจูเนียร์ก็จะทำงานตามขั้นตอนหนึ่ง สอง สาม สี่ เป็น Process Driven ที่ทำตามสิ่งที่ถูกออกแบบมาแล้วใน Blueprint แต่ระยะหลังสัก 2-3 ปีที่ผ่านมา เราเห็นภาพการทำงานที่เปลี่ยนจาก Process Driven เป็น People Driven มากขึ้น องค์กรเริ่มถูกกำหนดด้วย “คน” (People) ไม่ได้กำหนดด้วย “ขั้นตอน” (Process)  หรือ “กระบวนการ” (Procedure) อีกต่อไป

เราปฏิบัติต่อพนักงาน (Employee) เหมือนลูกค้า ดูว่าเขาอยากได้อะไร มีความต้องการแบบไหน แล้วเราก็ปรับตัวตามลูกค้าของเราจนเกิดสิ่งที่เรียกว่า Employee Centric ขึ้นมา ซึ่งมันเปลี่ยนไปมากแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะสัก 15 ปีที่แล้วไม่มีใครพูดเรื่องนี้เลย มีแต่ให้ทำตามขั้นตอนอย่างเดียว เป็นคนละภาพกับปัจจุบัน

ทุกวันนี้การทำงานจึงสนุกขึ้น ถ้าเราปรับตัวตามนะ (หัวเราะ) เพราะแต่ก่อนเรานั่งโต๊ะทำงาน แต่วันนี้เราต้องเดินไปหาพนักงาน ไปคุยกับเขา เอาตัวไปคลุกกับเขา ไปเข้าใจเขา มันก็เลยสนุกค่ะ

“ไม่ใช่แค่ Hybrid ต้องมี Dynamic ด้วย” Pomelo Fashion ออกแบบ Dynamic Hybrid Workplace อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

อะไรคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ HR หันมาใส่ใจพนักงานจนกลายเป็น Employee Centric Organization?

สิ่งนี้เริ่มได้รับการพูดถึงในช่วงที่การตลาดเติบโตกันมาก ๆ เขาเริ่มเปลี่ยนจากทำงานตามกระบวนการเป็น User Centric หรือ Customer Centric มากขึ้น เราว่ามันเกิดขึ้นใกล้ ๆ กัน

รวมไปถึง Generation ที่เปลี่ยนไปซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวเลยนะ เพราะไม่ว่าจะทำอาชีพใด ๆ ก็ตาม แต่ละ Generation ก็มองการทำงานต่างกัน ข้อสนุกของเจนฯ ปัจจุบันคือการเปิดกว้างค่ะ ทำให้เราว่าเข้าใจเขาง่ายกว่าเดิมอีก ถ้าเราอยากเข้าใจเขาจริง ๆ นะ (หัวเราะ) เพราะเขาจะแสดงออกมาตรง ๆ กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่มีการบอกว่า “หนูไม่กล้าพูด” ยกตัวอย่างเด็ก Pomelo อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 27-28 ปี เป็น New Generation อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างมาก ทำให้น้อง ๆ กล้าแสดงความคิด ผู้บริหารเองก็เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ พอน้อง ๆ แสดงความคิด เราก็เริ่มรู้สึกว่าอยากตอบสนอง ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น Question, Concern หรือ Comment สิ่งเหล่านี้ทำให้การทำงานของเราสนุกขึ้น

เอาจริงถ้าจับหลักดี ๆ ช่วงนี้การทำงานสนุกขึ้นนะ เหมือน COVID-19 ทำให้เราทำงานท้าทายขึ้น เพราะนี่เป็นครั้งเดียวในชีวิตของคนคนหนึ่งที่มีโอกาสได้เห็น Pandemic แบบทั้งโลก เราคงไม่มีโอกาสเจอสถานการ์ณนี้กันบ่อย ๆ หรอก COVID-19 ก็คล้าย ๆ บททดสอบครั้งใหญ่ของเราเหมือนกันนะ ถ้าคุณทำได้ คุณก็สอบผ่าน

หลายองค์กรเจอ COVID-19 แล้วกลายเป็นความกังวล แต่ทำไมคุณถึงมองมันเป็นเรื่องสนุกและความท้าทาย?

กว่าที่จะมาถึงความสนุก เราก็ผ่านความรู้สึกแย่ ๆ ประมาณ 2-3 สัปดาห์เหมือนกัน เราเข้ามาทำงานที่ Pomelo ช่วงเดือนมีนาคม 2020 เข้ามาปุ๊บก็ประกาศ Work From Home เลยทันที

ไม่ใช่เฉพาะเราหรอก แต่ไม่ว่าใครก็ต้องปรับตัวเหมือนกัน เพราะ COVID-19 เป็นสิ่งใหม่ที่เราไม่รู้จักมาก่อน เป็นสภาพแวดล้อมไม่มีใครรู้จัก ก็เลยต้องปรับตัวอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จนไปอ่านบทความหนึ่งก็คิดได้ว่ามันเป็น Once in a Lifetime เราจึงต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า เราแข็งแกร่งนะ

หลังปี 2022 สถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลายลงแล้ว จากนี้ HR ควรให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรมากขึ้น?

ถ้าพูดในแง่ HR กับองค์กร คือการบาลานซ์กันระหว่างทิศทางของ Employer และ Employee ค่ะ

แน่นอนทิศทางธุรกิจเกิดขึ้นจากความต้องการของผู้บริหารที่ต้องการให้ธุรกิจเติบโต แต่เราจะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุลระหว่างสิ่งนั้นกับความต้องการของพนักงาน ทั้งความเป็นอยู่ที่ดี รวมไปถึงความรู้สึกปลอดภัยในงาน เพราะ COVID-19 มีการกลายพันธุ์ทุกปีทุกซีซั่น ซึ่งแต่ละซีซั่นก็มีโจทย์แตกต่างกัน

อย่างปีแรก เราจะทำอย่างไรให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยในงาน รู้สึกว่า Pomelo ยังมีงานให้คุณทำนะ เพราะพนักงานจะรู้สึกว่า “ฉันจะตกงานไหม?” เนื่องจาก Pomelo ไม่ได้มีแค่ออฟฟิศ แต่เรายังมีคนหน้าร้าน มีโกดัง มี Customer Service มี Call Center มีหลายอาชีพในบริษัท ปีแรกจึงเป็นการโปรโมทว่าเรายังมี Job Security ให้พนักงานนะ

พอผ่านไปสักพักธุรกิจเริ่มไม่ดี เกิดความคิดว่าเมื่อไหร่ COVID-19 จะหายไป ไม่รู้ว่าออฟฟิศจะกลับมาเปิดได้ไหม ตอนนั้นพนักงานก็จะเริ่ม Burnout และ Exhausted ซึ่งสามารถไปไกลถึง Organization Fatigue หรือความเหนื่อยล้าทั้งองค์กรได้ สิ่งนี้เป็นปัญหาก้อนใหญ่ของปี 2021

พอปลายปี 2021 กำลังจะเข้า 2022 องค์กรก็เริ่มเรียกกลับมาทำงานออฟฟิศ เราก็คุยกับผู้บริหาร คุณ เดวิด โจว (David Jou) ที่มีความคิดตรงกันว่า เราอยากไปข้างหน้า เราอยากเป็น Forward Thinking Organization ไม่อยากประกาศบังคับว่า “ทุกคนกลับออฟฟิศกันเถอะ” เราว่ามันเป็นช่วงโอกาสเดียวที่จะได้โชว์ให้พนักงานเห็นเลยว่า เราเป็น Forward Thinking Organization จริว ๆ  เรารู้ว่าคุณมีความต้องการอะไร แล้วเราพร้อมที่จะสนับสนุนคุณ ฉะนั้นปี 2022 Pomelo เลยประกาศเป็น Hybrid Workplace“ไม่ใช่แค่ Hybrid ต้องมี Dynamic ด้วย” Pomelo Fashion ออกแบบ Dynamic Hybrid Workplace อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ช่วงนี้หลายบริษัทปรับตัวเป็น Hybrid Workplace มากขึ้น คิดว่าทำไม Hybrid Workplace จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลานี้

ทุกองค์กรมีความตั้งใจที่อยากสนับสนุนพนักงานอยู่แล้วค่ะ แล้ว Hybrid Workplace เป็นส่วนผสมที่ลงตัวทั้งฝั่ง Employers และ Employees

ถ้าเราพูดในโหมด Employees เราก็อยาก Work From Anywhere อยากมี Freedom อยากมี Autonomy ส่วนฝ่าย Employers เองก็ต้องทำ Appreciation และ Retention เพราะฉะนั้นนายจ้างจะต้องหาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ให้ได้ เพื่อที่จะรักษาพนักงานเก่าให้อยู่กับเรา หรือแม้กระทั่งดึงดูดพนักงานใหม่จากภายนอกให้เข้ามาอยู่กับ Pomelo ค่ะ

แต่ Employee แต่ละคนก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน Pomelo ออกแบบ Hybrid Workplace อย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงาน เพราะไม่ใช่ทุกคนที่อยากเข้าออฟฟิศ, อยาก Work From Home หรืออยาก Work From Anywhere อย่างเดียว?

เราทำแบบสำรวจ (Survey) ค่ะ Pomelo เป็นองค์กรที่ชอบทำ Survey มาก ในเมื่อพนักงานเปิดกว้างแล้ว HR ก็ต้องเปิดใจที่จะรับฟังด้วย

Hybrid Workplace ของ Pomelo เกิดจากพนักงานที่ถามเยอะมากว่า “จะกลับออฟฟิศเมื่อไหร่?” ซึ่งตอนนั้นเราคิดในใจว่าไม่กลับแล้วได้ไหม (หัวเราะ) แต่เราจะประกาศแบบนั้นไม่ได้ไง เราก็เลยสำรวจว่า มีคนอยากกลับ/ไม่อยากกลับออฟฟิศเพราะอะไร? ผลปรากฏว่าประมาณ 78-80% อยากเป็น Hybrid Workplace มากกว่า โดย Pomelo นิยามคำว่า Hybrid คือการให้อิสระในการออกแบบว่าแต่ละสัปดาห์คุณมีงานอะไรที่ต้องรับผิดชอบและจะทำงานจากที่ไหน โดยเรามี 5 วัตถุประสงค์ (Objectives) คือ

หนึ่ง – ต้อง Elevate Productivity ให้ได้ เพราะบางคนมาออฟฟิศก็ไม่ได้ Productivity แต่ไปนั่งร้านกาแฟได้ Productivity มากกว่า

สอง – ต้องมี Purposeful Collaboration เราจะทำยังไงให้พนักงานรู้สึกอยากมาออฟฟิศแล้วเจอแผนกอื่น มาทำ Workshop มาฟัง Event หรือมาดื่มเบียร์ก็ได้ เป็นการกลับมาออฟฟิศอย่างมีความหมาย

สาม – เราอยากสร้าง Learning Culture ให้ร้อยเรียงไปกัน เช่น เราประกาศให้ทุกวันพุธเป็น Focus Day ที่ให้ทุกคนมีเวลาเรียนหนังสือออนไลน์ 1 ชั่วโมง โดยเราไปพาร์ทเนอร์กับ Udemy องค์กร Training ที่มีคอร์สเรียนมากมาย 6,000 กว่าคอร์ส

สี่ – Social Bonding เราอยากให้พนักงานมาเจอกันผ่านการสร้างพื้นที่ให้พวกเขาได้มา ข้อนี้เกิดจากการสำรวจที่เป็น Biggest Pain Point ของพนักงานคือ Lost Interaction เพราะพนักงานที่นี่เป็นคน Outgoing และ Extrovert เยอะมาก อยู่บ้านนาน ๆ มันจะเฉา

ห้า – ข้อสุดท้ายคือการสร้างความมั่นใจให้พนักงานเรื่อง Safety Wellbeing แม้ว่าเราจะเป็น Hybrid แต่เรายังต้องมี Safety Protocol เช่น เราถามพนักงานว่าฉีดวัคซีนกันกี่เข็มแล้ว ถ้ายังฉีดไม่ครบอยากให้เราช่วยอะไรไหม เราเชื่อว่า Pomelo เป็นองค์กรแรก ๆ เลยที่ประกาศว่าได้ฉีดวัคซีนเข็มแรกในปี 2020 และตอนนี้เราก็ยังสร้างความมั่นใจว่า พนักงานเรา Feel Safety Feel Secure with Good Wellbeing ซึ่ง 5 ข้อนี้มันมาจากทำ survey หมดเลยนะ

ถ้าแบ่งพนักงานออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ จะมีกลุ่มที่ทำงานภายในออฟฟิศ และกลุ่มที่ทำงานภายนอก ทาง Pomelo มีนโยบายในการรองรับการทำงานของคนทั้งสองกลุ่มนี้ต่างกันอย่างไร

ผลสำรวจมีคนที่อยากทำงานออฟฟิศราว 5% ซึ่งจะเป็นคนที่เห็นหน้าทุกวัน (หัวเราะ) เราก็สนับสนุน Facility ที่ใช้งานได้จริง ซึ่งเรากำลังอยู่ในแผนที่จะทำให้สถานที่ทำงานเป็น Self Service คือพนักงานอยากได้อะไรก็สามารถทำได้เอง

แต่พนักงานส่วนใหญ่ 80% อยากได้ Hybrid โดยอีก 15% ขอทำงานที่บ้าน 100% ซึ่งส่วนใหญ่คือคนทำงานสาย Technology เราได้คุยพนักงานก็เลยรู้ว่า 15% ที่เขาขอทำงานที่บ้านเต็มตัวเพราะเขาอยากกลับบ้านที่ต่างประเทศ เราก็เลยปล่อยนโยบายการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Work Arrangement) ออกมากมาย มี Remote Location ที่ทำงานที่ไหนก็ได้ แต่ต้องเขียนใบสมัครเข้ามานะว่าต้องการนโยบายเพราะอะไร

นอกจากนี้เรายังการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบ Full-Time เป็น Part-Time ได้ เช่น พนักงานอยากเอาเวลาไปทำธุระเกี่ยวกับครอบครัว เขาไม่ต้องลาออก แค่เปลี่ยนเป็น Part-Time แล้วพอจัดการอะไรเรียบร้อยก็ค่อยกลับมาทำงาน Full-Time เหมือนเดิม โดยเราจะให้เซ็นเอกสารใบหนึ่งว่าคุณเปลี่ยนจากทำงาน 100% เป็น 50% ทำงานกี่วันต่อสัปดาห์ ได้เงินเดือนเท่าไหร่ แต่คุณยังได้ประกันสังคม ได้ประกันสุขภาพปกติ เพราะ Pomelo เชื่อว่าคนเรามีช่วงชีวิตที่แตกต่างกัน และเชื่อว่าพนักงาน Pomelo รักองค์กร อยากอยู่กับเรา ไม่ได้อยากลาออก มีบางสื่อถามเราว่าทำแบบนี้แล้วพนักงานไม่อยากลาออกไปจากเราเหรอ? แต่เราบอกว่า “ไม่” แต่มันทำให้เขารู้สึกมีส่วนร่วม (Engage) มากขึ้น เพราะองค์กรได้สนับสนุนเขาในช่วงที่ยากลำบาก เราว่ามันเป็นตัวส่งเสริม Engagement มากกว่า “ไม่ใช่แค่ Hybrid ต้องมี Dynamic ด้วย” Pomelo Fashion ออกแบบ Dynamic Hybrid Workplace อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

เมื่อมีคนหลากหลายทั้งอายุ สัญชาติ หรือความคิดเห็น Pomelo มีวิธีการสร้างวัฒนธรรมองค์รกรอย่างไรให้ทุกคนรู้สึกว่า “เราเป็นหนึ่งเดียวกัน”

ปีนี้เราโฟกัสเรื่อง Fashion-Tech Culture ค่ะ เพราะวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งเดียวที่ยึดเราไว้ด้วยกัน ยกตัวอย่างแม้ว่าเราอยู่คนละจังหวัด แต่ถ้าเรามองตัวเองว่าเป็นคนไทย เราก็จะเป็นคนไทยเหมือนกัน เราว่าคอนเซปต์คล้ายกันนะ ถ้าเรามองว่าตัวเองคือ Pomelo ทำงานอยู่ที่ไหนก็เป็น Pomelo ฉะนั้นวัฒนธรรมเราต้องเข้มแข็งมาก เราก็เลยพยายามจัดการให้ถูกที่ถูกทางอยู่

เรื่องที่สองคือการให้ความสำคัญกับ Inclusive Community ทั้งเรื่อง Diversity, Equality และ Inclusion เพราะที่ Pomelo มีพนักงานหลากหลายเชื้อชาติมาก 30+ เชื้อชาติได้

เรื่องที่สามคือการสร้างให้เกิด Learning Culture ทำให้คนรู้สึกว่าอยู่ Pomelo แล้วมีการเรียนรู้ที่ดี ไม่ว่าจะจาก Udemy จากเพื่อนร่วมงาน หรือจากหัวหน้างาน

สุดท้ายที่สำคัญคือการเน้นย้ำว่า การทำงานของคุณที่ Pomelo นั้นมีความหมาย ไม่ใช่แค่งานที่ทำไปวัน ๆ ทำให้พนักงานเกิดไอเดียมากมาย มีสารพัดโปรเจกต์ที่กำลังนำเสนอกันอยู่ ก็เลยเป็นข้อสุดท้ายของวัฒนธรรมเราที่ว่า Work that Matters

สิ่งหนึ่งที่บริษัท Fast Fashion หลายองค์กรมักพบเจอคือ คำครหาเกี่ยวกับการสร้าง Waste กับโลกใบนี้ Pomelo มีวิธีจัดการยังไงให้คนในองค์กรอย่างไรให้รู้สึกว่า องค์กรของเราไม่ได้ทำร้ายโลกขนาดนั้น

เราต้องทำให้คนเข้าใจเรื่อง ความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งเราจะมี Pomelo Work Week ที่ทุกวันพฤหัสจะมี Ideation Day แต่ละแผนกก็จะมาเล่าให้ฟังว่าเขาทำอะไร มีไอเดียอะไร ยกตัวอย่าง ทีมผลิตเสื้อก็จะมาโชว์ให้เราดูว่าผลิตยังไง Recycle ยังไง ซึ่ง Sustainability ก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่เคียงคู่ Pomelo มาตั้งแต่แรก ๆ เลย ล่าสุดเราก็เพิ่งจ้าง Head of Sustainability เข้ามานะ ทำเรื่องความยั่งยืนโดยเฉพาะ นี่คือสิ่ง Pomelo ตั้งใจและรู้ด้วยว่ามันสำคัญมาก และพนักงานของเราก็สนใจเรื่องความยั่งยืนเป็นปกติของเขาอยู่แล้ว

อยากทราบว่าแนวคิด Employee Centric เกิดขึ้นจากอะไร แล้วมันสร้างให้เกิดขึ้นได้ไหม?

อาจจะเริ่มจากกลุ่ม Tech Companies ที่มองว่า คนคือหัวใจสำคัญของการทำงาน แม้กระทั่งตอนที่เราทำงาน Consulting ที่ไม่มีโปรดักส์อะไรเลย แต่เราก็ปฏิบัติต่อคนเป็นโปรดักส์ไม่ได้ เพราะคนมี Emotional มี Logical ฉะนั้น Tech Companies หรือ Global Companies จึงเชื่อว่า คนคือกุญแจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ

พอกลับมามองบริษัททั่วไป เขาอาจมองว่าโปรดักส์คือตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ได้มองว่าคนทำให้เกิดโปรดักส์ ก็เลยอาจโฟกัสแต่การขายของอย่างเดียว ซึ่งถ้าเราเปลี่ยนทัศนคติได้ว่าคนคือทุกอย่าง คนคือผู้สร้างสิ่งเหล่านี้ มันจะทำให้เราเข้าใกล้ความเป็นคน เข้าใกล้ประชาชน และเข้าใกล้พนักงานมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้ CEO และ Leadership ต้องคิดให้ได้ ซึ่งองค์กรอื่น ๆ ก็ทำได้นะ ไม่ได้ยากเลย คือเราปฏิบัติต่อกันแบบลำดับชั้น (Hierarchy) ให้น้อยที่สุด ไม่ใช่บอกว่าองค์กร Flat แต่ยังมี Layer ของชนชั้นอยู่ ฉะนั้นผู้บริหารต้องเปิดใจฟังพนักงานเพื่อสร้างการเข้าใจจริง ๆ

หากในอนาคต Hybrid Workplace ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป คิดว่าจะมีรูปแบบการทำงานแบบไหนเกิดขึ้นมาอีกบ้าง?

เราว่ารูปแบบการทำงานจะมีที่ทางไปแต่ไม่ใช่ทิศทางตรง ๆ เราคาดการณ์ว่าจะมีทิศทางที่แตกต่างไป ซึ่ง Employee จะเป็นออกแบบเทรนด์การทำงานของเขาเองว่าจะเปลี่ยนไปมากน้อยขนาดไหน

สมมติว่าเปิดประเทศหมดเลย เขาก็อาจ Work From Anywhere จริง ๆ ไม่ใช่แค่ Remote Working แล้ว องค์กรจะทำยังไง ใช้นโยบายอะไรมาสนับสนุนพนักงาน เราถึงใช้คำว่า Dynamic Hybrid Workplace ไว้ เพราะมันต้องปรับ ต้อง Dynamic ไปด้วย

และถ้า Dynamic ทั้งองค์กรไม่ได้ เราต้องรู้ว่ากลุ่มไหนที่ทำได้และทำไม่ได้ เราต้องออกแบบให้การทำงานให้เหมาะกับแต่ละทีม เป็น Customize หรือ Personalize เหมือนเราขายเสื้อผ้ายังมีไซซ์และสีที่แตกต่างกันเลย แล้วพนักงานของเราที่เป็นลูกค้าล่ะ ทำไมเราจะ Customize หรือ Personalize ได้?

ฉะนั้นมันเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหาร พนักงาน และก็ทรัพยากรบุคคล ทุกคนทุกฝ่ายมีส่วนทำให้เกิดขึ้น และเราต้องลด ego ลง ก็จะทำให้เราเข้าใจและฟังพนักงานได้อย่างเปิดใจ

ผู้เขียน

Sahatorn Petvirojchai

Sahatorn Petvirojchai

Manager of HREX.asia who works in media platforms for a long time. Interested in Global Culture, Marketing, and Self Development.

บทความที่เกี่ยวข้อง