Stepping Up Your HR Career: HR ยุคใหม่ที่อยากโตไวต้องอ่าน [CareerVisa]

Stepping Up Your HR Career: HR ยุคใหม่ที่อยากโตไวต้องอ่าน [CareerVisa]

HR จบใหม่ ที่อยากเติบโตใน Career path สายทรัพยากรบุคคลต้องทำอย่างไรบ้าง? และเส้นทางเหล่านั้นเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างหรือไม่? จากผลกระทบของเทคโนโลยีพวก HR TECH หรือระบบ Automation ต่าง ๆ ที่ค่อย ๆ เข้ามา

—————————

คำถามนี้ขอตอบด้วยการให้รวบรวมตัวอย่างจาก HR รุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วในยุค HR Tech & Automation มาเล่าให้ฟัง โดย MotiveTalent ที่ปรึกษาด้านการทำ Employer Branding (ภายใต้บริษัท CareerVisa Thailand) ได้จัดงาน Human Reset Series Ep.4 ในหัวข้อ “Stepping Up Your HR Career” ที่เชิญ HR Professional รุ่นใหม่ไฟแรง มาแชร์ประสบการณ์และเคล็ดไม่ลับจากบริษัทชั้นนำระดับโลกทั้ง 4 ท่าน ได้แก่

1) คุณ Michael Sirikul – Head of Human Resources จาก JD Central

2) คุณ Pitchaya Siriyothin – Head of Resourcing จาก Tesco Lotus

3) คุณ Nidchaya Srisontisuk – Recruitment Analytics Manager จาก Agoda

4) คุณ Praew Posayanont – Training and Learning Manager จาก Nestle

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าทั้ง 4 ท่านนี้ไม่มีท่านใดที่จบตรงสายทาง HR บางท่านเองก็ไม่ได้เริ่มทำงานหรือมีประสบการณ์ในสาย HR ด้วยซ้ำ แต่มาดูกันว่าทั้ง 4 ท่านนั้นมี Inspiration มาจากอะไร และได้แชร์มุมมองสำหรับ HR รุ่นน้อง หรือคนจบใหม่ที่อยากเติบโตในสาย HR ไว้อย่างไรกันบ้าง

1. เส้นทางสู่ HR Director ภายใน 8 ปี ด้วยทักษะการ Empathize และ Communication

สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จในการเป็น HR Director ด้วยระยะเวลาเพียง 8 ปีอย่างคุณไมเคิล ได้กล่าวว่า ตนเองไม่ได้จบการศึกษาด้าน HR แต่จบ Broadcasting และเริ่มต้นชีวิตการทำงานแรกด้วยการเป็น Market Researcher หา Customer Insight ในฝั่งของ Product Development ขณะนั้นคุณไมเคิลก็ได้ตั้งคำถามกับตนเองขึ้นมาว่า จริง ๆ แล้วเราอยากทำอะไร อะไรที่เรารู้สึกว่าเราชื่นชอบและมีความชำนาญ มีความรู้สึกอยากเรียนรู้และอยากที่จะพัฒนาต่อยอดให้สำเร็จ ประกอบกับงานที่คุณไมเคิลทำขณะนั้นมีความใกล้ชิดกับคนอยู่แล้ว เลยหันมาให้ความสนใจงานด้าน HR และด้วยความที่เป็นคนที่ชอบพูดอยู่แล้วด้วย ทำให้คุณไมเคิลคิดว่า ทำงานอะไรที่เกี่ยวข้องกับคนนี่แหละเหมาะที่สุด

แต่เนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้าน HR มาก่อน คุณไมเคิลจึงเริ่มก้าวแรกด้วยการเป็น Recruiter เพราะรู้สึกว่าเป็นสิ่ง Basic ที่สุด ซึ่งขณะที่ทำงานไปด้วยก็ได้คอยสอดส่องงานทางด้าน HR อื่น ๆไปด้วย ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือน ก็ได้มองเห็นภาพรวมของงานด้าน HR คุณไมเคิลเลยตั้งเป้าหมายกับตนเองว่าจะเป็น HR Director ที่เก่งที่สุดในประเทศไทย 

พอ 7 ปีให้หลัง คุณไมเคิลก็ถึงจุดปลายทางที่ตั้งไว้ โดยวันแรกของการเป็น HR Director คือขณะเดียวกันกับที่คุณไมเคิลมีสถานภาพเป็น Expat (ผู้ที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ) คุณไมเคิลยังได้ให้แง่คิดความสำคัญของงานด้าน HR อีกว่า ขณะที่ Business กำลังจะเข้าสู่ Generation ถัดไป HR จะสามารถสร้างอะไรให้กับองค์กรในแง่ของการสร้างความพร้อมที่ว่าหากในอีก 3 ปีข้างหน้า Business อาจจะล่มสลาย HR จะเห็นอนาคตแค่ไหน และเป็นหน้าที่ที่HRจะต้องสื่อสารกับระดับ C-Level หรือ Director ทุกคนอย่างไร คุณไมเคิลยังบอกอีกว่า Key Success ของตนเองในการเป็น HR ที่ประสบความสำเร็จคือ Empathize and Communication คือการเข้าใจคนในองค์กรและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่เข้าถึงผู้ฟังทุกกลุ่ม นอกจากนี้ยังต้องมองต่ออีกว่า ขณะนี้ Business ควรจะได้อะไร และในมุมลูกค้าควรจะได้อะไร

2. เส้นทางสู่ HR Analytics ต้องเชื่อว่า HR ไม่ใช่งาน Routine

คุณนิดได้กล่าวว่า ตอนแรกตนเองไม่ได้ให้ความสนใจงานด้าน HR แต่อย่างใด และไม่มีประสบการณ์ด้าน HR ใดๆมาก่อน ซึ่งตอนนั้นงานของคุณนิดคือ การเป็น Consultant ด้าน Sustainability (ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนทางธุรกิจขององค์กร) และมีมุมมองว่างาน HR เป็นงาน Routine ไม่ได้ให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจมากมายแต่อย่างใด จากนั้นก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ และได้โอกาสพูดคุยกับ CPO (Chief People Office) ของ Agoda ที่เปิดมุมมองให้กับคุณนิดว่า HR ไม่ใช่งาน Routine แต่งานสำคัญที่จะช่วยสนับสนุน การตัดสินใจขององค์กร เรียกได้ว่าเป็น backup สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็ว่าได้

คุณนิดได้เริ่มงานด้าน HR ครั้งแรกที่ Agoda ในด้าน Analytics ที่อาศัยทักษะความเข้าใจใน Big data มาช่วยในการตัดสินใจตั้งแต่การหา Solution ไปจนถึงการคิดค้น Innovation ให้กับองค์กรได้ โดยงานในของ Analytic People ที่ Agoda หากเป็นงานในฝั่งของ Recruitment ก็จะ tracking ผู้สมัครเหล่าโดยเก็บข้อมูลทั้ง background  action ต่างๆ และ time ในทุก stage ไปจนถึงจบ Recruitment Process แล้วเอา Data มา feed in เข้าไปใน Database ขององค์กร

จากนั้นก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์และ Visualize ว่าในกระบวนการ Recruitment อะไรคือตัวแปรสำคัญ หรือหากต้องการที่จะดึงคนเข้ามาเพิ่ม มันควรจะใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ รวมไปถึงการหาและลด Bottle Neck ของงาน ประเมินคุณภาพของกระบวนการ ความคุ้มค่าของทรัพยากรที่ใช้ไป และหา Solution ต่าง ๆ มาปรับปรุงแก้ปัญหา ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจและตอบสนอง Business Need ที่อ้างอิงจากข้อมูลจริงจำนวนมหาศาลหรือ Big Data

3. เส้นทางสู่ VP ด้าน HR ในบริษัทใหญ่ ด้วย Learning by Giving และ Strategic Thinking

ทางด้านคุณนีน่า ผู้มีประสบการณ์ด้าน HR มากกว่า 20 ปีของบริษัท Tesco Lotus ที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนพนักงานกว่าหมื่นคน และมีอีกหลายสาขาในต่างประเทศ คุณนีน่าก็เป็นอีกคนหนี่งที่ไม่ได้เริ่มจากการเป็น HR แต่ทำในด้าน Micro Economics ในการพยากรณ์อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply Forecasting) ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง และได้มีโอกาสทำ Project ร่วมกับบอร์ดบริหารของบริษัท และเริ่มมีความรู้สึกว่าองค์กรมีการขับเคลื่อนที่ช้า ไม่เร็วอย่างเอกชนในทุกครั้งที่เข้าร่วมประชุม การได้ค้นพบสาเหตุคือการเชื่อมโยงของแต่ละแผนกไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ณ จุดนี้ทำให้คุณนีน่าได้ค้นพบตัวเองว่าเป็นคนที่สนใจด้าน Organization Management (การบริหารจัดการองค์กร) จึงได้ศึกษาต่อในสาขา Master of Management  หลังจากนั้นก็ได้เริ่มเดินสายงานด้าน HR โดยเริ่มจากการเป็น Recruiter ขณะนั้นคุณนีน่าก็ได้เรียน Head Hunter อีก 6 ปี ควบคู่ไปด้วย และได้มีโอกาสเข้าสู่องค์กรระดับ Corporate คือ Tesco Lotus และมีการปรับตัวอย่างมาก เพราะเป็นสภาพแวดล้อมที่มีขนาดใหญ่ คุณนีน่าได้มีโอกาสทำ Project ใหญ่ ๆ มากมายกับบริษัทจนได้ offer การเลื่อนตำแหน่งจากผู้บริหารให้มาเป็นระดับ VP (Vice President) ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณนีน่าประสบความสำเร็จในงานด้าน HR มาจนถึงทุกวันนี้คือ Learning by Giving และ Strategic Thinking

4. เส้นทางสู่ HR ด้าน L&D บริษัทระดับโลก ด้วย mission ในการพัฒนาทักษะให้กับคน และ Marketing Skill

ในส่วนของคุณแพรว ผู้มีความชำนาญในด้าน Training ก็ยังคงเป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานด้าน HR คุณแพรวได้ไปศึกษาที่ประเทศแคนาดาตั้งแต่อายุ 18 และใช้ชีวิตอยู่ที่แคนาดาเรื่อยมา ทั้งเรียนและทำงาน ซึ่งงานแรกของคุณแพรวเป็นงานของภาครัฐในวิทยาลัยของนักโทษแห่งหนึ่งเพื่อที่จะพัฒนาทักษะชีวิตของนักโทษเหล่านั้น ตำแหน่งของคุณแพรวก็คือ Life Skill Trainer สอนนักโทษตั้งแต่ในเรื่องของการเปิดบัญชีในธนาคาร การเขียน Resume การสัมภาษณ์สมัครงาน รวมไปถึงการบริหารจัดการเวลาในชีวิตประจำวัน จึงเป็นจุดที่คุณแพรวได้ตั้ง mission ของชีวิตของแพรวว่าอยากที่จะทำงานพัฒนาทักษะให้กับคน จึงเป็นที่มาของการเดินทางสาย Learning & Development ของคุณแพรว ตั้งแต่เป็น junior ช่วย support การด้าน Administration ต่าง ๆ จนตอนนี้ก็ได้ทำอยู่ที่ Nestle ที่ต้องดูแลคนในองค์กรในหลายประเทศ และยังสร้าง Internal Trainer คนใหม่ ๆ ในองค์กรอีกด้วย คุณแพรวยังกล่าวอีกด้วยว่า Training Budget ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป แต่จะทำยังไงที่จะใช้ Budget อย่างคุ้มค่าในการพัฒนาคนในองค์กร อีกยังกล่าวอีกด้วยว่าทักษะสำคัญในงานสาย L&D คือ Marketing Skill

มาถึงเคล็ด(ไม่)ลับในการ Shortcut to Success กันบ้างว่าแต่ละท่านมีคำแนะนำอย่างไร?

โดยสรุปแล้วจุดเริ่มต้นของการเข้ามาในวงการ HR ของแต่ละคนอย่างแรกคือ ต้องมี Mindset ก่อน อย่างแรกคือ People-oriented ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของคนก่อน ต่อมาคือ Business-oriented ต้องเข้าใจในตัวธุรกิจและจะsupportธุรกิจนั้นได้อย่างไร เช่นการนำเทคโนโลยีเข้ามาจะช่วยเพิ่ม Value ให้กับธุรกิจได้อย่างไร อย่างที่สามคือ Organization-oriented ต้องมีความเข้าใจและทักษะในการบริหารจัดองค์กร และอย่างสุดท้ายคือ Learning-oriented ต้องเป็นคนที่เรียนรู้และสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้กับองค์กรได้

คุณไมเคิล : ต้องรู้ก่อนว่าอยากไปไหน ก็เหมือนการขับรถ ต้องรู้ก่อนว่าจะขับไปไหน หลังจากที่รู้ว่าจะขับไปไหนแล้วก็ต้องรู้ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน ซึ่งคนส่วนมากคือคนมีความฝันว่าอยากเป็นอะไร แต่บางครั้งไม่แน่ใจว่าตอนนี้ตัวเองอยู่จุดไหน ดังนั้นจึงเป็นคำถามที่สำคัญที่ต้องค้นพบด้วยตัวเองเพราะคงไม่มีมาบอกว่าตอนตัวเองอยู่ที่ไหน ต่อมาก็ต้องรู้ว่าหากอยากจะไปที่จุดนั้น สามารถไปอย่างไรได้บ้าง เพราะเส้นทางความสำเร็จมันไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียว และไม่มีอะไรการันตีได้ว่าเส้นทางที่คุณเลือกเดินจะเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด เร็วที่สุด แต่ต้องคอยเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆไม่จำเป็นต้องเป็นก้าวที่ใหญ่แต่ต้องคงความสม่ำเสมอทีละเล็กทีละน้อยโดยไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ โดยระหว่างช่องว่างต้องคิดอีกด้วยว่าสิ่งที่ขาดกับสิ่งที่เติมควรจะเป็นใครหรือเป็นอะไร ซึ่งการวางแผนทุกstepเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำอยู่เรื่อย ๆ

คุณนิด : นอกจากจะต้อง Move fast, Fail fast แล้วยังต้องกล้าที่จะลองผิดลองถูก กล้าที่จะลอง กล้าจะที่จะล้มเหลว เพราะนั่นคือสิ่งสำคัญที่ยังทำให้เรายังก้าวต่อไปได้

คุณนีน่า : เคล็ดลับคือการมองปัญหาอย่างภาพรวม และหาแนวทางการแก้ปัญหาจากหลาย ๆ มุมมอง เพราะบางปัญหาแก้ตรง ๆ ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของคน โดยเริ่มจากความเข้าใจ หรือ Empathy คนในองค์กร

คุณแพรว : คำถามสำคัญคือ ทุกวันนี้คือเราตื่นมาเพื่ออะไร? มีความต้องการที่จะทำอะไร? อะไรคือ mission ของชีวิตเรา? หาให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราชอบและอยากจะทำมันให้ดี ถ้าพบคำตอบมันช่วยให้การหาอาชีพของคุณง่ายขึ้น ถ้าหาได้ก็จะทำให้เรามีชีวิตที่ตรงความต้องการและเราจะอยู่เดินบนเส้นทางของชีวิตได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน อีกคำถามคือ เราอยากจะเป็นคนใหญ่ในที่เล็กหรือคนเล็กในที่ใหญ่ ซึ่งอันนี้แล้วแต่คนเลือก มันไม่ได้มีอันไหนดีกว่ากัน แต่มันต้องเริ่มต้นจากการลองเพื่อให้ค้นพบว่าอันไหนที่เหมาะกับตัวเราเอง

เส้นทางเหล่านั้นเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างหรือไม่? จากผลกระทบของเทคโนโลยีพวก HR TECH หรือระบบ Automation ต่างๆ ที่ค่อยๆ เข้ามา

แน่นอนว่าการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ  ย่อมมีผลกระทบต่อเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากเจาะลึกลงมาในงาน HR คุณก็จะเห็นว่างานบางส่วนได้ถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีไปแล้ว หลาย ๆ สิ่งจึงอาจจะต้องถูกลดบทบาทลง แต่ก็นำมาซึ่งเส้นทางสายอาชีพใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

งานด้าน Recruitment – บางบริษัทเริ่มมีการนำระบบ Chatbot มาใช้ในการตอบคำถาม Candidates หรือ ระบบ AI Sourcing ที่เป็นระบบปฎิบัติการที่เข้ามาช่วยในการ Sourcing และ Screening Resume ของผู้สมัครเบื้องต้น หรือมีการใช้ศาสตร์ Analytics โดยนำข้อมูลผู้สมัครไปวิเคราะห์ต่อผ่าน Big Data ในแต่ละ Recruitment Process อย่างที่คุณนิดกล่าวในข้างต้นอีกด้วย รวมถึงทุกวันนี้ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Recruiter จะใช้ช่องทางหา Candidates/Talents  จากช่องทางหรือแพลตฟอร์มการหางานแบบเดิม ๆ และรอให้ผู้สมัครเดินเข้ามาหาเราเองคงไม่เวิร์คแล้ว เพราะเราเชื่อว่ายังมี Passive candidates เก่ง ๆ อีกหลายคนที่โลดแล่นอยู่ในโลกออนไลน์ ดังนั้นการ recruit คนในทุกวันนี้อาจจะต้องอาศัยการทำ Digital marketing เพื่อแทรกซึมเข้าไปอยู่ตาม Social media ต่าง ๆ ที่คนเหล่านี้เข้าไปอัพเดทข้อมูลข่าวสารกันในชีวิตประจำวัน

จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายบริษัทเริ่มมีการตั้ง Title ที่สะดุดตากันมากขึ้น อย่างใน Agoda หรือตำแหน่งของคุณนิดเอง ก็คือ Recruitment Analytics Manager บางที่อาจจะเรียกว่า Talent Acquisition Analyst หรือตำแหน่งอย่าง Employer Branding ที่แยกออกมาโดยเฉพาะ เป็นต้น ซึ่งหาก HR รุ่นใหม่ใครที่มีความรู้ความเข้าใจและทักษะทางด้าน tech หรือ digital literacy ย่อมมีความได้เปรียบและสามารถต่อยอด career path ของคุณได้กว้างขึ้น

CTA HR Community

—————————-

ผู้ตอบ :

กุลประภา บุญโต – ที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์นายจ้าง (Employer Branding Specialist)

.CareerVisa Thailand เป็น Community สำหรับนักศึกษาและคนทำงานรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังเป็นพาร์ทเนอร์ให้กับ HR บริษัทชั้นนำในการนำ Creative & Digital Solutions มาสร้าง Employer Branding, Candidate Experience, และ Inbound Recruiting ผ่าน Social Media อีกด้วย

.ติดตามความเคลื่อนไหวของ CareerVisa Thailand ได้ที่ https://www.careervisathailand.com/ และ MotiveTalent ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/motivetalent/

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง