Search
Close this search box.

CSR ช่วยพัฒนาผลการดำเนินธุรกิจในองค์กรของคุณได้อย่างไร ?

CSR ช่วยพัฒนาผลการดำเนินธุรกิจในองค์กรของคุณได้อย่างไร ?

โครงการทำประโยชน์เพื่อสังคมแนวความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) เป็นส่วนประกอบสำคัญขององค์กรต่างๆ มาหลายทศวรรษ องค์กรใหญ่ๆ อย่าง Facebook, Google หรือ Microsoft ล้วนแต่พัฒนาโปรแกรมที่สร้างผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ให้กับชุมชนทั่วโลก แต่ก็ยังมีองค์กรอีกมากมาย โดยเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่ ที่ยังมองข้ามประโยชน์ของ CSR และมองว่าเป็นแค่การตลาดหรือสิ่งที่เอาไว้ดึงดูดกลุ่มนักลงทุน หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากองค์กรเท่านั้น เป็นไปได้ว่าพนักงานเหล่านี้อาจไม่ได้ตระหนักว่า CSR มีข้อดีที่ส่งผลต่อธุรกิจในหลายๆ แง่มุมอย่างไร แต่ทุกวันนี้โปรแกรม CSR เลยจุดที่ต้องการทำให้โลกดีขึ้นไปแล้ว  แต่กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคได้เลือกผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์ ซ้ำยังดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่เก่งๆ มากมายให้เข้ามาทำงานในองค์กรอีกด้วย

ในบทความนี้ OmniGive จะกล่าวถึง 3 แง่มุมหลักของธุรกิจที่จะได้ผลประโยชน์จาก CSR ได้แก่ ความเชื่อมั่นและภักดีของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์องค์กร และการมีส่วนร่วมของพนักงาน

1. ความเชื่อมั่นและภักดีของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ

เป็นที่รู้กันว่าหนึ่งในข้อดีของ CSR คือการสร้างผลลัพธ์ด้านบวกให้กับชื่อเสียงของแบรนด์ในองค์กร เนื่องจาก CSR เป็นแรงขับเคลื่อนชั้นดีในการสร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจ พูดง่ายๆ คือ คนเรามักจะมองว่าองค์กรนี้ ‘ดี’ เมื่อได้เห็นว่าแบรนด์มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมและเกิดการให้คืนแก่ชุมชน ดังนั้น เมื่อองค์กรได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรม CSR ที่มีประสิทธิผล สาธารณชนก็จะเห็นอีกด้านขององค์กรที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  และได้เข้าใจว่าองค์กรใส่ใจถึงประเด็นด้านสังคมและชุมชนทั้งหมดอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงผลประกอบการ (Profits) เท่านั้น ผู้คนจะเริ่มเชื่อมั่นในองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่า แท้จริงแล้ว 89% ของผู้บริโภคมักเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากองค์กรที่มีโปรแกรม CSR มากกว่าองค์กรที่ไม่มี โดย 90% ของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะไว้วางใจในองค์กรและสูงถึง 93% จะมององค์กรในแง่ดีขึ้นไปอีก  มีคำกล่าวที่คล้ายคลึงกันอยู่ในงานวิจัยของบริษัท Cone Communications ว่า CSR เป็นหนทางหลักที่จะเป็นกระบอกเสียงและแบ่งปันให้ผู้คนรับรู้ถึง ‘จุดมุ่งหมาย’ ขององค์กร ทำให้ผู้คนรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจและตั้งใจจะภักดีต่อองค์กร และเมื่อแบรนด์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ คนเหล่านี้แหละจะเป็นผู้คอยแก้ต่างให้

2. สร้างแบรนด์ให้เป็นองค์กรอันดับหนึ่งที่อยากทำงานด้วย

CSR ไม่เพียงช่วยปรับภาพลักษณ์องค์กรในสายตาผู้บริโภคเท่านั้น แต่สามารถทำได้กับพนักงานปัจจุบันและพนักงานในอนาคตด้วย การสร้างแบรนด์องค์กรในปัจจุบันสำคัญพอๆ กับการสร้างแบรนด์ต่อลูกค้า จึงเป็นที่มาว่าทำไม ‘ค่านิยมองค์กรที่ดี’ (Great Company Culture) ถึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับพนักงาน วัฒนธรรมการให้เกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนขององค์กรผ่านการพัฒนากลยุทธ์ CSR ที่ยอดเยี่ยม ทำให้วัฒนธรรมองค์กรเป็นรูปเป็นร่างในทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้พนักงานยังมีแนวโน้มที่จะทำงานให้กับองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมไปนานๆ จากสถิติพบว่า 75% ของแรงงานจะเป็นกลุ่มคนมิลเลนเนียลภายในปี 2025 ซึ่ง 80% ของคนเหล่านี้อยากจะทำงานในองค์กรที่มีการตอบแทนสังคม และเกินครึ่งไม่อยากทำงานในองค์กรที่อ่อนด้านการมีความรับผิดชอบต่อสังคม [5] จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า CSR เป็นปัจจัยสำคัญอย่างแท้จริงที่จะดึงดูดและตรึงใจคนเก่งๆ ในตลาด และกลยุทธ์การทำ CSR เพื่อสร้างแบรนด์ให้องค์กรสามารถผลักดันให้องค์กลายเป็น ‘นายจ้างที่ใครๆ ก็อยากทำงานด้วย’ หรือ Employer of Choice นั่นเอง

3. เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

เหล่านายจ้างและฝ่ายจัดหาทรัพยากรบุคคลรู้กันดีว่าการมีส่วนร่วมของพนักงานหรือ Employee engagement เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนผลการดำเนินงานของธุรกิจ [6,7] อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะตระหนักได้ว่าคนที่เข้าร่วมกิจกรรม CSR นั้นมีส่วนร่วมกับองค์กรมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น การให้พนักงานได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ CSR เช่น โปรแกรมการให้ในที่ทำงาน (Workplace Giving) สามารถเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมของพนักงานได้ถึง 7.5% [8] ยิ่งไปกว่านั้นยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 13% อัตราการลาออกของพนักงานลดลงถึง 50% และลดอัตราการขาดงานไปได้ 37% [9] ท้ายที่สุดแล้ว CSR สามารถขับเคลื่อนผลประกอบการขององค์กรให้สูงขึ้นไปพร้อมกับอัตรา การมีส่วนร่วมของพนักงานอีกด้วย รายงานของ Gallup’s State of Workplace แสดงให้เห็นว่า 77% ของพนักงานไทยไม่มีส่วนร่วมกับองค์กรเลย [10] ถ้าองค์กรไทยมีพนักงานเงินเดือน 25,000 และ 40% ของคนเหล่านั้นไม่รู้สึกผูกพันกับองค์กร เท่ากับว่าองค์กรจะเสียเงินไปเปล่าๆ 10,000 บาท/คน  นี่จึงแสดงให้เห็นว่าการมีแรงงานที่ผูกพันกับองค์กรจะนำไปสู่ผลลัพธ์ในด้านบวกทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดีว่าการมีส่วนร่วมของพนักงานคือตัวขับเคลื่อนผลการดำเนินงานโดยรวมขององค์กร

 

มารู้จักแพลทฟอร์ม Workplace Giving เจ้าแรกในไทยและมาเลเซีย OmniGive

  • ออมนี่กีฟ (OmniGive) เป็นแพลทฟอร์ม Workplace Giving (การให้ผ่านที่ทำงาน) ในประเทศไทยและมาเลเซียเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement) และโซลูชั่นล้ำสมัยแบบเสร็จสรรพในการทำ CSR (Corporate Social Responsibility หรือความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร) สำหรับธุรกิจทุกขนาดทั่วเอเชีย
  • สะดวก เชื่อถือได้ สร้างแรงบันดาลใจ ออมนี่กีฟนำเสนอแพลทฟอร์มออนไลน์ที่ส่งเสริมให้พนักงานในบริษัทสามารถบริจาคได้ทุกที่ทุกเวลา และสร้าง CSR ให้เกิดขึ้นภายใน ช่วยจัดงานเปิดตัวพร้อมกิจกรรมที่เชิญชวนให้มีส่วนร่วม
  • ด้วยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์องค์กรการกุศลซึ่งเป็นที่เชื่อถือทั่วโลกอย่าง UNICEF UNHCR และอีกมากมาย ออมนี่กีฟให้บริการฟรีสำหรับทุกธุรกิจที่ต้องการสร้างโปรแกรม CSR เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทางธุรกิจและทำให้โลกน่าอยู่ไปด้วยกัน
  • ออมนี่กีฟมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับพนักงานในบริษัทของคุณ โดยไม่เพียงแค่กิจกรรมที่ดึงดูด แต่ยังมีสิทธิพิเศษจากแบรนด์พาร์ทเนอร์ที่ให้คุณสามารถเพลิดเพลินได้ตั้งแต่ต้น

ออมนี่กีฟเป็นโซลูชั่น working giving แบบครบวงจรที่เพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทในเอเชียทุกขนาดและพนักงานในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ผ่านการช่วยเหลือสังคมระดับโลกกับองค์กรต่างๆ ออมนี่กีฟตั้งเป้าหมายในการยกระดับทุกธุรกิจในภูมิภาคนี้เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนและธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้นไปพร้อมกัน

เริ่มต้นโปรแกรม OmniGive Workplace Giving เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรของคุณ พร้อมเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานได้แล้ววันนี้ ผ่านการสร้าง CSR แบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้แล้วที่ 👉 OmniGive หรีอ โทรเลย 064-956-9469

ข้อสรุป

บทความนี้ว่าด้วยประโยชน์หลักๆ และวิธีการที่ CSR สามารถช่วยพัฒนาผลการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างไร การกล่าวอ้างว่าองค์กรของคุณมีความรับผิดชอบต่อสังคมเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ แต่ต้องแสดงผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ด้วย คุณต้องพูดจริงทำจริง แทนที่จะโฆษณาพันธกิจขององค์กรผ่านโซเชียลมีเดีย การทำกิจกรรม CSR  ที่ประสบความสำเร็จจะทำให้คุณได้แสดงให้ผู้บริโภคและคนที่มีศักยภาพพอที่จะเข้ามาเป็นพนักงานได้เห็นว่าคุณใส่ใจที่จะทำความดีให้กับชุมชนจริงๆ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่พนักงานเก่งๆ มีอำนาจต่อรองได้ว่าพวกเขาอยากจะทำงานที่ไหน และคนเหล่านี้แทบจะไม่เลือกองค์กรที่ไม่แสดงออกถึงความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ท่ามกลางตลาดที่มีการแข่งขันสูง นายจ้างอาจไม่ได้มีทางเลือกมากนัก นอกจากสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดการกระทำที่รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อภาพลักษณ์องค์กรที่ดีในสายตาผู้บริโภคและเหล่าพนักงานในอนาคต และที่ขาดไม่ได้เลยคือการมีวัฒนธรรมในที่ทำงานที่ดีและมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมของพนักงานได้ และยังช่วยขับเคลื่อนผลการดำเนินงานของทั้งองค์กรได้อีกด้วย จากประโยชน์ทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้เข้าใจได้ไม่ยากเลยว่าในฐานะองค์กร “ทำไมคุณควรพิจารณาให้การทำ CSR เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ทางธุรกิจของคุณ”

อ้างอิง

[1] https://www.nielsen.com/us/en/press-releases/2014/global-consumers-are-willing-to-put-their-money-where-their-heart-is/

[2] https://www.conecomm.com/news-blog/2015-cone-ebiquity-csr-study-press-release

[3] https://www.conecomm.com/2018-purpose-study-pdf

[4] https://www.digitalpulse.pwc.com.au/millennials-five-generations-workplace/

[5] https://www.forbes.com/sites/jeannemeister/2012/06/07/the-future-of-work-corporate-social-responsiblity-attracts-top-talent/?sh=24c882053f95

[6] https://www.kincentric.com/-/media/kincentric/pdfs/kincentric_2019_trends_global_employee_engagement.pdf

[7] https://www.hrtechnologist.com/news/employee-engagement/28-organizations-feel-unequipped-to-deliver-a-clear-employee-experience-strategy-in-the-workplace-reports-kincentric/

[8] https://www.babson.edu/academics/centers-and-institutes/the-lewis-institute/thought-leadership/project-roi/

[9] https://www.qualtrics.com/research-center/employee-experience-trends/

[10] https://fundacionprolongar.org/wp-content/uploads/2019/07/State-of-the-Global-Workplace_Gallup-Report.pdf

ผู้เขียน

Picture of HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง