‘ทำงานอย่างมีความสุข’ กุญแจสำคัญนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจ และการเพิ่ม Engagement ในแบบของ AnyMind คืออะไร

การเพิ่ม Engagement กับพนักงานด้วยวิธีของ AnyMind Group บริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยี AI ที่มีออฟฟิศ 13 สาขา อยู่ใน 11 ประเทศ

ซึ่งสำหรับวิธีการเพิ่ม Engagement ของ AnyMind นั้นคือ หารหาคนมาทำหน้าที่ ‘Culture Development’ คอยวางแผนหรือดูแล ‘Employee Journey‘ ของพนักงานตั้งแต่เข้ามาทำงานจนถึงวันที่เขาออกไปจากบริษัท

เราจะมาพูดคุยกับผู้ทำหน้าที่ Culture Development กันว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้ AnyMind ถึงให้ความสำคัญกับการเพิ่ม Engagement กับพนักงาน และการนำแผนหรือวิธีต่างๆมาใช้ในองค์กรมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

Chris Lu| AdAsia(Thailand)Limited, Regional Head Communications, Culture Development

ผู้รับผิดชอบด้าน Marketing Communications และ Culture Development ของ AnyMind Group คอยดูแลด้าน Communication กับออฟฟิศทั้ง 13 สาขา และภายนอกองค์กร

Pratan Thinsomchaisin | AdAsia(Thailand)Limited, Senior Executive Culture Development

Senior Executive Culture Development ของ AnyMind Group ผู้เชี่ยวชาญด้านงาน HR มาอย่างยาวนาน ซัพพอร์ทและดูแลเรื่องการวางแผนกลยุทธ์วัฒนธรรมภายในองค์กร

เหตุผลที่ AnyMindให้ความสำคัญกับ การเพิ่ม Engagement กับพนักงาน

การพัฒนา Human Nature หรือทัศนคติของพนักงานแต่ละคน สัมพันธ์กับการเติบโตขององค์กร

คุณ Pratan : พวกเราเห็นว่า ‘การพัฒนา Human Nature หรือทัศนคติของพนักงานแต่ละคน’ จะเชื่อมไปสู่การเติบโตขององค์กร ดังนั้นเราเลยให้ความสำคัญกับการเพิ่ม Engagement กับพนักงาน

Employee Engagement คือ การที่พนักงานคนนั้นมีความผูกพันต่อองค์กร มีความรู้สึกรัก และเชื่อมั่นในองค์กร สามารถทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรที่อยู่

และสำหรับ ‘การพัฒนา Human Nature หรือทัศนคติของพนักงาน’ ที่พวกเราคิดคือ การที่พนักงานกับองค์กรมีค่านิยมหรือวัฒนธรรมไปในทางเดียวกันหรือสามารถปรับให้เข้ากันได้ และการเพิ่มความเห็นของแต่ละฝ่ายให้ตรงกัน

ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ ‘พนักงานมี Engagement ที่เพิ่มขึ้น’ เพราะเหตุผลที่เขาอยู่กับองค์กรจะไม่ใช่แค่เพื่อมาทำงานอย่างเดียวอีกต่อไป

ที่สำคัญคือ การทำให้พนักงานรู้สึกว่า ชอบที่จะอยู่ในองค์กรนี้ การทำงานอยู่ที่นี่ทำให้มีความสุขและมีความเป็นอยู่ที่ดี

สิ่งนี้เองที่ทำให้เราควรโฟกัสกับค่านิยมของพนักงานและแนวโน้มในอนาคตของพวกเขา

สำหรับพนักงานที่มี Engagement กับองค์กรสูง พวกเขาจะมีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้น และทำให้องค์กรสามารถเก็บรักษาพนักงานไว้ได้
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานและทีมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้องค์กรเติบโตและพัฒนาขึ้น

สำหรับ AnyMind เราให้ความสำคัญกับการพัฒนา Human Nature หรือทัศนคติของพนักงานแต่ละคนพอๆกับการเพิ่มทักษะในการทำงาน

สิ่งสำคัญที่ทำให้เราดำเนินกิจการใน 11 ประเทศคือ ‘การซึมซาบค่านิยม’

คุณ Pratan : AnyMind Group ดำเนินกิจการอยู่ใน 11 ประเทศ องค์กรของเราเติบโตขึ้นมาภายในระยะเวลาไม่นาน

เราติดต่อกับสาขาอื่นๆในต่างประเทศด้วยวีดีโอคอล ฯลฯ ซึ่งการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์แบบนี้ยังทำให้เรารู้สึกถึงอุปสรรคในการส่งผ่านค่านิยมและวัฒนธรรมได้ไม่ครบถ้วน

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราตระหนักได้ว่าการเพิ่ม Engagement กับพนักงานมีความสำคัญเพียงใด

ทำให้เราคิดว่าทำอย่างไรพนักงานเก่งๆเขาถึงจะไม่ลาออกไปจากเรา และทำอย่างไรถึงจะทำให้ทุกคนสามารถซึมซาบวัฒนธรรมองค์กรหรือค่านิยมที่เรามีอยู่ได้

เพราะฉะนั้น เราเลยรู้สึกว่า ควรโฟกัสไปที่การวางแผนเปลี่ยนแปลง พัฒนา Human Nature หรือทัศนคติของพนักงานแต่ละคน

มีแนวทางในการเพิ่ม Engagement กับพนักงานอย่างไร ?

จัดอีเวนท์ภายในบริษัทให้พนักงานได้ร่วมสนุก

คุณ Chris : อย่างแรกเลยที่บริษัทของผมมีการจัดอีเวนท์ต่างๆหลายรูปแบบให้กับพนักงาน

อย่างเช่น เราจะมีการจัดอีเวนท์ ‘Monthly Sports’ ที่ให้พนักงานมาร่วมเล่นกีฬากัน หรือ ให้ตัวแทนผู้บริหารสมมติเริ่มจากคุณ Sogo เป็นเจ้าภาพจัด ‘CEO Lunch’ ขึ้นมา

เราได้ถามพนักงานผ่านการจัดกิจกรรมแต่ละอย่างว่าหลังจากเขาเข้ามาทำงานในบริษัทแล้วเป็นอย่างไรบ้าง รู้สึกอย่างไรบ้าง
การถามผ่านกิจกรรมตรงนี้ทำให้เราได้รู้ถึงแรงจูงใจของพวกเขาและสามารถหาทางเพิ่ม Engagement ให้กับพวกเขาได้

นอกจากนี้เราจะมีการจัดประชุมใหญ่แบบ All Hands ทุกๆครึ่งปี และมีการให้รางวัลแก่พนักงานที่ทำผลงานได้ดี และยังมีการฝึกงานแบบ Face to Face ในระดับผู้บริหารด้วย

เรียนรู้ค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรอย่างสบายๆ

คุณ Chris : ในคืนวันศุกร์ของทุกเดือน เราจะมีการจัดอีเวนท์ TGIF(Thanks God It’s Friday) เป็นอีเวนท์ที่ให้พนักงานจากแผนกต่างๆที่ไม่เคยได้ติดต่อกันเลยมาแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน

ไม่ใช่แค่ให้พนักงานทุกคนมาร่วมสังสรรค์กันอย่างเดียวแต่เราจะสร้างคอนเทนท์ขึ้นมาให้พนักงานสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือประวัติขององค์กรผ่านอีเวนท์นี้

เช่นในการแข่งขันตอบคำถาม เราก็โยนคำถามไปให้พนักงานตอบว่า ‘บริษัทของเราก่อตั้งเมื่อปีที่เท่าไหร่?’ เป็นต้น
นอกจากจะทำให้พนักงานของเราได้สังสรรค์ไปด้วยแล้วยังได้สนุกและเรียนรู้ประวัติ ค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรเราอีกด้วย

เจอปัญหากลุ้มใจของพนักงานไว ก็แก้ไขได้ไว Employee feedback channel คืออะไร

คุณ Chris : เราได้ทำ ‘Employee feedback channel’ ขึ้นมา เพื่อเพิ่ม Engagement กับพนักงาน

ตัวอย่างของ Employee feedback channel คือ เราได้รับความคิดเห็นต่างๆจากการจัดอีเวนท์ พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อ

ในการทำงาน ต้องมีเรื่องที่พูดหรือแสดงความคิดเห็นออกมาไม่ได้อยู่แล้ว อาจจะมีเรื่องที่ทำให้ขุ่นใจ เราก็ใช้ระบบนี้ในการมาช่วยสังเกตถึงความรู้สึกทางลบของพนักงานเพื่อจะได้ช่วยแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

พวกเราคือ Culture Development มีหน้าที่ให้ข้อมูลเรื่องวัฒนธรรม ค่านิยมในองค์กรแก่พนักงาน เราใช้ Chat Tool, อีเมลล์ และ Google ฟอร์ม ในการรับ Feedback

เรื่องที่พนักงานกลุ้มใจกันส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งก็คือเรื่องของการสื่อสาร บางคนเขาเข้ากับหัวหน้าคนนี้ไม่ได้ แต่เราไม่สามารถฟังความฝ่ายเดียวได้ เพราะบางทีหัวหน้าคนนั้นเขาก็เป็นฝ่ายถูก

แน่นอนว่าเราฟังความเห็นจากพนักงานที่เปิดใจบอกปัญหาต่างๆให้ฟัง แต่เราก็จำเป็นต้องฟังความเห็นของหัวหน้าคนนั้นด้วย
พวกเราต้องมีความเป็นกลาง และให้ Feedback แบบตัวต่อตัวกลับไปอย่างเหมาะสม

ถ้าเรารู้สึกไม่โอเคกับวิธีการพูดของหัวหน้า แต่ก็ไม่กล้าบอกไปตรงๆ หรือเจอปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแบบอื่นๆ ปัญหาแบบนี้เราควรรับรู้และรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด

ข้อสำคัญของมาตรการแก้ไขปัญหาคือ ‘องค์กรและพนักงานควรเข้าใจกันและกัน’

คุณ Pratan : เราไม่ได้มีการเช็คอัตราการลาออกของพนักงานอย่างเป็นระบบมากนัก แต่จากความรู้สึก เราคิดว่าพนักงานมีการลาออกน้อยลง และพวกเขามีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้น

จริงๆเราคิดว่า อัตราการลาออกของพนักงาน ไม่ได้มีความจำเป็นขนาดนั้น แต่ก็ยังมีเรื่องนี้เข้ามาทุกที
สมมติว่ามีอัตราการลาออก 10% เราควรโฟกัสว่าการลาออก10 % ตรงนี้มาจากไหน
ที่เห็นว่าสำคัญจริงๆคือ เราจะทำอย่างไรให้พนักงานที่เราอยากเก็บเขาไว้ไม่ลาออกไป

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาการลาออกคือโฟกัสไปที่การให้พนักงานได้ซึมซับวัฒนธรรมขององค์กร และสร้างความเข้าใจกันและกันระหว่างองค์กรและพนักงาน มากกว่าการโฟกัสเรื่องเงื่อนไขในการทำงาน

ผลที่ได้จากการส่งเสริมการสร้างความเข้าใจกันและกันระหว่างองค์กรและพนักงานคือ การสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน และรับรู้ถึงปัญหาที่พนักงานพบเจออยู่ได้อย่างรวดเร็วและสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ทันท่วงที

สิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคต|สร้างระบบที่ดีกว่านี้ให้พนักงาน

ทำ Employee Journey ที่เหมาะสมให้พนักงาน

คุณ Chris : อยากสร้างระบบ Employee Journey ตั้งแต่พนักงานเข้ามาทำงานจนถึงวันที่เขาลาออกจากบริษัท ให้ดีกว่านี้

สำหรับส่วนที่เป็นทางเข้าของ Employee Journey ซึ่งก็คือตั้งแต่ก่อนเข้ามาทำงานในออฟฟิศ เราคิดไว้ว่า จะส่งคลิป YouTube เนื้อหาเกี่ยวกับแต่ละแผนกให้กับพนักงาน เพื่อให้เขารู้ว่าบรรยากาศของบริษัทเป็นอย่างไร

หลังจากเข้ามาทำงาน เราจะอธิบายเรื่องเนื้อหางานรวมทั้งวัฒนธรรมภายในองค์กรของเราให้เขาฟัง รวมไปถึงเรื่ององค์กรของเราจะเดินหน้าไปในทิศทางไหน พอผ่านไป 1 อาทิตย์ เราจะไปถามความเห็นจากพนักงานคนนั้น และนำความเห็นนั้นไปปรับใช้ในครั้งต่อไป

เราให้ความสำคัญกับเรื่อง First Impression เพราะฉะนั้นเราจะทุ่มเทให้ทั้งก่อนและหลังที่เขาเข้ามาทำงาน

หลังจากที่เขาเข้ามาทำงานแล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างคือการรักษาพนักงานไว้ เหมือนที่เมื่อกี้ผมพูดเรื่องการเพิ่ม Engagement กับพนักงาน ว่าเรามีการจัดอีเวนท์หลายรูปแบบ ซึ่งเราจะดูจากอีเวนท์เหล่านี้ถ้าพนักงานเขาแฮปปี้กับที่นี่เราก็จะรู้สึกได้เอง

นอกจากนี้แล้วเรื่องอนาคตหรือความก้าวหน้าในหน้าที่ของพนักงาน เราก็ให้ความสำคัญ เราจะมาคิดว่าทำอย่างไรพนักงานคนนั้นถึงจะได้เข้าใกล้ตัวเขาในอีกสองปี
เราคิดว่าสิ่งสำคัญในการจะรักษาพนักงานไว้คือ การสร้างสิ่งแวดล้อมและโอกาสที่เหมาะสมให้แก่พวกเขา

ฟอลโล่พนักงานเมื่อเขาลาออกก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

สำหรับทางออกของ Employee Journey การลาออกจากบริษัท ก็เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญ

เหตุผลในการลาออกส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องในแง่ลบ เพราะฉะนั้นเราจะมีการพูดคุยกับพนักงานก่อนและไม่ว่าเหตุผลที่ได้รับจะเป็นเรื่องในแง่ลบขนาดไหนเราก็จะรับฟัง ในการพูดคุยเราจะพูดถึงในแต่ละด้านๆไป จะทำให้พนักงานเขาสามารถบอกเหตุผลในการลาออกได้อย่างตรงไปตรงมา

พวกเราอยากทำให้ระบบ Employee Journey ตรงนี้เป็นระบบที่ทำให้พนักงานได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการทำงาน และในอนาคตพวกเราก็อยากจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขขึ้นมา

ผู้เขียน

HREX.asia

HREX.asia

Connect People to the Best HR Solution เพื่อสนับสนุนการเติบโตขององค์กรผ่านผู้คน

บทความที่เกี่ยวข้อง